ลูกสมาธิสั้น จะช่วยเหลือลูกได้อย่างไร..?


โรคสมาธิสั้น
 เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า โดยปกติ โรคสมาธิสั้น จะมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ซนมาก สมาธิสั้น และ หุนหันพลันแล่น แต่ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่างนี้ อาจจะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ อาจมีครบทุกอย่างเลยก็ได้  

อาการของเด็กสมาธิสั้น

การวินิจฉัยโรคนี้ไม่ง่ายเหมือนกระดูกหัก หรือ ปอดบวม เพราะโรคพวกนี้สามารถเห็นด้วยตา หรือ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น จะอาศัยพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. การขาดสมาธิ (Inattention) โดยสังเกตพบว่า

       √ เด็กจะสนใจงานหรือของเล่นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นหลังจากนั้นก็จะเบื่อ

       √ ไม่มีความพยายามที่จะทำงานที่ต้องใช้ทักษะ

        มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

        ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ

        ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเวลาเล่น 

        ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดไม่ได้

       √ ขี้ลืมบ่อย

        วอกแวกง่าย

  1. ซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) 

        เด็กจะไม่อยู่นิ่งและควบคุมตัวเองไม่ได้

        เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

        เล่นไปรอบห้อง

        พูดคุยตลอด พูดไม่หยุด

        เมื่อนั่งอยู่ที่เก้าอี้ก็ไม่สามารถนั่งนิ่งโยกไปโยกมา

        แตะสิ่งโน้นสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา

        เคาะโต๊ะส่งเสียงดัง

        รอคอยไม่เป็น

        ชอบขัดจังหวะเวลาที่ผู้อื่นพูดคุยกัน

        บางคนอาจจะทำหลายๆอย่างพร้อมกัน

  1. หุนหันพลันแล่น (Impulsivity)  เด็กจะหุนหัน เด็กจะทำหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ไม่ได้คิด เด็กอาจจะพูดโต้ตอบโดยที่ไม่คิด ข้ามถนนโดยที่ไม่ดูรถ เด็กจะไม่สามารถรอยคอยสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ เด็กอาจจะแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เมื่อไม่พอใจเด็กอาจจะทำลายของเล่นนั้น  
     
    หาก คุณพ่อ คุณแม่ สงสัยว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ควรปรึกษาแพทย์ เพราะโรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องทำการรักษา หากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การอยู่ร่วมกับเพื่อนที่โรงเรียน และ การเรียนของเด็กเอง รวมถึงเมื่อเด็กโตขึ้น ความซับซ้อนทางอารมณ์ ก็จะมีมากขึ้น เด็กอาจรู้สึกมีปมด้อยถ้าไม่มีเพื่อนเล่นด้วย 

นอกจากนี้ เด็กสมาธิสั้น ยังมีแนวโน้มที่จะโตไปเป็นคน ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย อ่อนไหวต่อคำพูดของคนอื่น การรักษาจะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ โดยทั่วไปการรักษาจะเริ่มจาก การปรับพฤติกรรม มีการสร้างกรอบที่เหมาะสมให้กับเด็ก การย่อยงานโดยใช้คำสั่งที่สั้น และ ให้เด็กมีการทวนคำสั่งซ้ำ การจัดห้องเรียน และ สิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก เช่น ให้เด็กนั่งเรียนแถวหน้าสุด ใกล้โต๊ะครู เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะมีการสื่อสารและประสานกับคุณพ่อคุณแม่และคุณครูที่โรงเรียนอย่างใกล้ชิด ในบางกรณีที่เป็นมาก หรือ มีโรคร่วม อาจต้องให้ยาในการรักษาร่วมด้วย

พ่อแม่ ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลเด็ก

ดังที่กล่าวข้างต้น เด็กเหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนในสังคม เด็กจะทรมานกับการทำการบ้าน แต่แล้วก็ลืมเอาไปส่งครู เด็กจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น พี่น้อง ส่วนพ่อแม่ที่ไม่เข้าใจเด็กก็จะไม่สนใจ เนื่องจากเด็กจะไม่เชื่อฟัง พ่อแม่จะไม่สามารถควบคุมเด็ก เด็กจะไม่มีระเบียบวินัย ต่อมาพ่อแม่ก็จะใช้วิธีดุ ตี  แม้ว่าจะทราบว่าเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร  พฤติกรรมการดุ ด่า และ การลงโทษ จะทำให้อาการของเด็กแย่ลง เด็กจะดื้อมากขึ้น ต่อต้าน ก้าวร้าว วิธีการที่ดีกว่า คือ การให้คำชม หรือ รางวัล เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง และ ควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือ ตัดสิทธิอื่นๆ

ปัญหาสมาธิสั้น หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี และ อย่างทันท่วงที อาจจะส่งผลกระทบระยาวกับอนาคตของลูกได้ เพราะ จากงานวิจัยพบว่า "เด็กสมาธิสั้นนั้น จะไม่สามารถใช้ความสามารถได้เท่ากับ ความสามารถที่แท้จริงของเด็ก" และ อาจจะส่งผลให้เด็กกลายเป็นคนไม่กล้าแสดงออก เพราะกลัวว่าจะถูกตำหนิ
 
7 วิธีช่วยแก้ปัญหา เด็กไฮเปอร์สมาธิสั้นให้ดีขี้นได้
 
1. จัดบ้านให้สงบ   ได้แก่ ไม่ตะโกนใส่ลูก เวลาลูกไม่เชื่อฟัง หรือ เวลาที่ลูกไม่ยอมนั่งทำการบ้านดีๆ แต่แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมมีโอกาสหมดความอดกลั้นเป็นบางครั้ง พ่อแม่ทุกคนเคยตะโกนใส่ลูกมาแล้วทั้งสิ้น หากเกิดขึ้น ให้คุณขอโทษลูกและแสดงให้ลูกรู้ว่า คุณยังรักเขาเหมือนเดิม โดยที่อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า แม่ไม่ได้ไม่พอใจลูก แต่เป็นที่การกระทำของลูกต่างหาก
 
2. จำกัดสื่อทุกชนิดในบ้าน   เด็กหลายคนไม่สามารถตัดเสียงรบกวนขณะที่กำลังใช้ความคิดได้เหมือนผู้ใหญ่ เช่น การเปิดทีวีขณะลูกทำการบ้านอยู่ จะทำให้ลูกไม่มีสมาธิ ควรจำกัดเวลาในการดูทีวี เกมส์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมบันเทิงต่างๆ ไม่เกินวันละ 1 ชม. สมาคมกุมารแพทย์ของอเมริกาเตือนว่า การดูทีวีในเด็กเล็กสัมพันธ์กับการทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น และ แนะนำว่า ไม่ให้พ่อแม่มีทีวีในห้องนอนของลูก และ อย่าเปิดทีวีทิ้งไว้หากไม่มีคนดู
 
3. พาลูกไปตรวจการได้ยินและตรวจสายตา   โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลูกเริ่มมีปัญหาการเรียน เพราะหากเด็กมีปัญหามองไม่ชัด หรือ ไม่ได้ยิน ส่วนใหญ่จะมาบอกผู้ใหญ่ไม่เป็น หลายครั้งพบว่า เด็กที่คุณครูคิดว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น ที่จริงแล้วเป็นเพียงเด็กที่มีปัญหาสายตาไม่ดี
 
4. อย่าทะเลาะกันหรือโต้เถียงกันเรื่องลูกให้ลูกเห็น   เพราะจะทำให้ลูกเครียด กลัวว่าจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้พ่อแม่มีเรื่องกัน หรือ หย่าร้างกัน
 
5. ใช้เวลาคุณภาพกับลูกทุกๆวัน   แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือด้วยกัน เล่นเกมส์กระดานหมากฮอส ระบายสี หรือ ทำศิลปะหัตถการ หรือ อาจเป็นกิจกรรมนอกบ้าน เช่น เล่นกีฬา บาสเกตบอล เทนนิส ทำสวน หรือ ออกไปเที่ยว
 
6. กำหนดกฎระเบียบที่แน่นอน    คงเส้นคงวา โดยพ่อแม่ต้องตกลงไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน เพื่อไม่ให้ลูกสับสน
 
7. ลองให้ลูกเล่นกีฬา   เพื่อใช้พลังงานที่มีไม่จำกัดของเด็กไฮเปอร์ ยกตัวอย่าง เช่น นักกระโดดน้ำเหรียญทองโอลิมปิค Michael Phelps เป็นโรคสมาธิสั้น หลังจากกินยาต่อเนื่องมา 4 ปี พบว่ายาไม่ช่วยอะไร จึงปรึกษาแพทย์ ค่อยๆหยุดยา แล้วใช้วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้พลังงานอันมีเหลือเฟือไปกับการฝึกว่ายน้ำ จนประสบความสำเร็จในที่สุด
 
สุดท้ายนี้เราอยากจะฝากไว้ว่า การดูแล ความรัก ความเข้าใจ การเอาใจใส่ของ พ่อ-แม่ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะ ยาที่ดีที่สุดที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาสมาธิสั้นให้ลูก คือ "ความรัก ความเข้าใจ ของ พ่อ-แม่"


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
เว็บไซต์ thainannyclub
และ นพ. มาโนช อาภรณ์สุวรรณ
เว็บไซต์ Halsat

==================================
♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้ ให้ลูกน้อย
ให้มีสมาธิ สนใจการเรียนได้มากขึ้น ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 412,451