ลูกเครียดเพราะเรียนออนไลน์ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร?

ครียดเพราะเรียนออนไลน์ –  การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส กลายเป็นบรรทัดฐานในการต้องปรับตัวต่อการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ส่งผลกระทบตั้งแต่ตัวเด็กไปจนถึงพ่อแม่ ครู อาจารย์ เนื่องจากโรงเรียนทั่วประเทศจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้การเรียนการสอนแบบทางไกล มีการขอให้เด็กๆ ปฏิบัติตามหลักสูตรการเรียน ผ่านรูปแบบออนไลน์ที่บ้าน

การเปลี่ยนผ่านจากการเรียนในห้องเรียนเป็นการเรียนรู้ออนไลน์ อาจทำให้เด็กเกิดความเครียดได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบการเรียนปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคย เด็กต้องปรับตัวกับวิธีการเรียนรู้แบบใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ปกครองและครู ที่จะต้องรับทราบถึงความวิตกกังวลต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็ก

เครียดเพราะเรียนออนไลน์

มีงานวิจัยที่มีการสำรวจนักเรียนในมณฑลหูเป่ยที่อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่ต้นปี 2563  จากการเก็บข้อมูลนักเรียนเกรด 2 ถึง 6 (ป.2-ป.6) จำนวน 2,330 คน ระหว่าง 28 กุมภาพันธ์-5 มีนาคม2563 พบว่านักเรียน 40% มีความเครียดและวิตกกังวล ซึ่งสอดคล้องกับในประเทศไทย ที่ล่าสุด พบข้อมูลนักเรียน และนักศึกษาจำนวนมาก เครียดจากการเรียนออนไลน์ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้เกิดความทุกข์ และในรายที่อาการหนักสามารถนำไปสู่โศกนาฏกรรม

ผลกระทบของการเรียนออนไลน์ต่อสุขภาพจิต

แม้ว่าความปลอดภัยของนักเรียน และครูจะมีความสำคัญสูงสุด แต่การเรียนออนไลน์อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของเด็กได้  สำหรับนักเรียนหลายคน  ชั้นเรียนเสมือนจริง อาจทำให้ปัญหาสุขภาพจิตที่มีอยู่แย่ลงได้ สำหรับคนอื่นๆ ผลกระทบของการระบาดใหญ่ และการเรียนรู้ออนไลน์ สามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ด้านสุขภาพจิตและอารมณ์ ซึ่งต่อไปนี้นี้คือ ผลกระทบของการที่ต้องเรียนออนไลน์

1. การแยกตัวออกจากสังคม

นอกจากโรงเรียนจะเป็นสถานศึกษา ยังเป็นเหมือนศูนย์กลางของชีวิตทางสังคมของเด็กๆ โรงเรียนเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ติดต่อกับเพื่อนๆ เปิดโอกาสสำหรับพวกเขาในการเข้าสังคม และการแสดงออก อย่างไรก็ตาม เมื่อโรงเรียนมีการเปลี่ยนการเรียนการสอนไปใช้รูปแบบเสมือนจริง เด็กๆ อาจรู้สึกเหงา ไม่มีแรงจูงใจ หรือ ท้อแท้จากการที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นประจำเหมือนเช่นเคย

มีการศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า การแยกตัวทางสังคมอาจทำให้อัตราผลลัพธ์ด้านลบต่อสุขภาพจิตและร่างกายของบุคคลสูงขึ้น การศึกษาอื่นๆ พบว่า การมีปฏิสัมพันธ์แบบเห็นหน้ากัน สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลได้ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมน้อยลง อาจเพิ่มความรู้สึกวิตกกังวลและความรู้สึกกดดันทางสังคม ตัวอย่างเช่น เด็กอาจกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในมิตรภาพ อันเป็นผลมาจากการแยกตัวเป็นเวลานาน

เครียดเพราะเรียนออนไลน์

2. ความเครียดและความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น

นอกเหนือจากการขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแล้ว ลักษณะของการเรียนออนไลน์สามารถส่งผลกระทบต่อเด็กได้หลายวิธี :

  • รู้สึกวิตกกังวลมากขึ้น เกี่ยวกับการติดตามการทำงานที่โรงเรียนอยู่เสมอ
  • ประสบปัญหาในการจดจ่อ หรือ จดจ่อขณะอยู่ที่บ้าน
  • การแสดงวิดีโอต่อหน้าผู้อื่น อาจนำไปสู่ความวิตกกังวลได้
  • อาจพบว่าเป็นเรื่องยาก ที่จะได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาเพิ่มเติม ที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จ

3. ความเหนื่อยล้าในการเรียนรู้เสมือนจริง

การใช้เวลาออนไลน์เป็นเวลานาน อาจทำให้ทั้งนักเรียนและครูเหนื่อยล้าได้มากกว่าการเรียนปกติ เหตุผลส่วนหนึ่งคือ การที่ในแต่ละวันต้องคอยจดจ่อกับการโต้ตอบทางวิดีโอ และ ต้องใช้สมาธิค่อนข้างมาก ซึ่งสมองทำงานยากขึ้นในการประมวลผลข้อมูลในแบบที่ไม่คุ้นเคย การใช้น้ำเสียง ระดับเสียง การแสดงออกทางสีหน้า และการสบตา ตลอดจนภาษากาย ถูกเปลี่ยนไปจากการเรียนปกติในห้องเรียน

"ลูกเครียด"เพราะเรียนออนไลน์ พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร?

แรงกดดันที่เกิดขึ้นกับเด็ก อาจทำให้ความวิตกกังวลและความเครียดที่มีตามปกติรุนแรงขึ้นได้ ความเครียดของเด็กที่ผู้ปกครองอาจเริ่มสังเกตเห็นในการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของลูก เช่น อาจมีการการโต้เถียง การปฏิเสธ การต่อต้าน การท้าทายที่บ่อยมากขึ้น เด็กบางคนอาจจะดูไม่มีชีวิตชีวา จากที่เคยร่าเริงกลายเป็นเงียบขรึม การสนับสนุนและคำแนะนำจากผู้ปกครองมีความสำคัญมาก ซึ่งคำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการช่วยให้เด็กรับมือกับความเครียดมีดังนี้

1. พยายามเข้าใจความรู้สึกลูก

ผู้ปกครองควรมีความอ่อนโยน และพยายามเข้าใจเด็ก ในการที่ต้องปรับตัวเข้ากับตารางการเรียนรู้ใหม่ ซึ่งบางครั้งอาจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ กับการต้องใช้สมาธิจดจ่ออยู่กับหน้ าจอนานๆ  เพราะบางครั้งเด็กๆ ก็ต้องการการพักผ่อน พ่อแม่และครอบครัวรู้ดีที่สุดว่าลูกต้องการอะไร ดังนั้นควรเปิดใจรับฟังพวกเขาอย่างจริงจัง

2. ให้เวลาลูกได้หยุดพักบ้าง

กิจวัตรและตารางเวลามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กๆ ไม่เพียงแต่ขณะอยู่ที่โรงเรียน แต่ที่บ้านก็เช่นเดียวกัน เด็ก ๆ จะทำงาน หรือใช้สมาธิกับสิ่งใดได้ดีที่สุดหากพวกเขารักษากิจวัตรประจำวันเหมือนตอนที่อยู่ในโรงเรียน ในช่วงเวลาอาหารกลางวันควรกระตุ้นให้พวกเขาลุกขึ้นและเดินเล่นเคลื่อนไหวตัวเองไปรอบ ๆ บ้านเพื่อไม่ให้อยู่ประจำที่ตลอดทั้งวันจนเกิดความรู้สึกเครียดหรือเบื่อหน่าย

เครียดเพราะเรียนออนไลน์

3. เปิดบทสนทนาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ 

กระตุ้นให้ลูกแสดงออกถึงความรู้สึกกับคุณอย่างอดทนและเข้าใจ เด็กแต่ละคนอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดต่างกัน กระตุ้นให้พวกเขาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหา และพยายามอย่ามองข้ามความกังวลต่างๆ ของลูก อย่าลืมให้คำแนะนำ และแสดงออกถึงความเข้าใจอย่างแท้จริงด้วยการช่วยหาทางออกกับปัญหาที่เกิดขึ้น

4. อย่าพยายามสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่

ผู้ปกครองควรตั้งเป้าหมายในการเรียนและทำการบ้านของลูกทุกๆ สองถึงสี่ชั่วโมงในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับอายุของลูก อย่าพยายามสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่ด้วยเนื้อหาหลักสูตรหกถึงเจ็ดชั่วโมง ให้เน้นไปที่การมีส่วนร่วมกับลูกๆ ของคุณที่สั้นลง และมีคุณภาพสูงขึ้น และหาเวลาทำกิจกรรมสนุก ๆ ร่วมกัน

5. อนุญาตให้ลูกโต้ตอบกับเพื่อน ๆ ผ่านวิดีโอแชท

เด็กๆ อาจคุ้นเคยกับการได้ติดต่อพบปะกับเพื่อนๆ ที่โรงเรียน ดังนั้นพวกเขาจะรู้สึกถึงผลกระทบของการอยู่ห่างจากเพื่อนๆ อย่างแน่นอน พ่อแม่ควรอนุญาตให้ลูกๆ มีเวลาได้โต้ตอบพูดคุยกับเพื่อนๆ ทางออนไลน์ นอกเหนือจากโซเชียลมีเดียหรือการส่งข้อความ วิดีโอแชทมักจะเป็นสิ่งที่เหมาะที่สุดในการเห็นหน้ากัน และเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเข้าสังคมโดยไม่เสี่ยงอันตรายต่อตัวคุณเองและผู้อื่น

6. สร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว

แม้ว่าการสร้างบรรยากาศที่ดีในสถานการณ์ทุกวันนี้อาจเป็นเรื่องท้าทาย  แต่สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือการรักษาทัศนคติที่ดีและส่งเสริมการสนทนาที่ดีต่อสุขภาพภายในครอบครัว จำไว้ว่าเด็กๆ ยังต้องการความช่วยเหลือและคำแนะนำจากพ่อแม่ รวมทั้งการให้กำลังใจและความหวัง การปลูกฝังทัศนคติเชิงบวกในบ้านของคุณสามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากในสุขภาพจิตของทุกคนในครอบครัว

7. ส่งเสริมนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ

การเรียนออนไลน์อาจส่งผลกระทบกิจวัตรประจำวันของเด็กๆ  ดังนั้นการส่งเสริมนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ จึงมีความสำคัญมากกว่าที่เคย
√ 
การนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ
√ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
√ การออกกำลังกายเป็นประจำ
สามารถช่วยเพิ่มอารมณ์ที่ดีของเด็ก และ ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตโดยรวมของพวกเขา

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกของคุณนอนตามตารางเวลาปกติและมีเวลาตื่นนอนเป็นกิจวัตร ส่งเสริมให้ลูกของคุณนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และมีเวลาได้ออกกำลังกาย สำหรับการออกกำลังกาย มีตัวเลือกมากมายทั้งในร่มและกลางแจ้งเพื่อให้ลูกๆ ของคุณรู้สึกกระฉับกระเฉง การเดิน และขี่จักรยาน เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการคงความกระฉับกระเฉงในขณะที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคมที่เหมาะสมจากผู้อื่น

การรับฟังลูก ช่วยแนะนำ แก้ปัญหา เมื่อลูกเกิดความเครียดจากการเรียนออนไลน์ จะช่วยให้ลูกสามารถปรับตัวได้กับวิถีชีวิตที่ไม่คุ้นเคย ที่สำคัญคือ ป้องกันไม่ให้ลูกเกิดความเครียดจนเกินไป ซึ่งย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว และนอกจากจะช่วยป้องกันปัญหาด้านสุขภาพกายและใจของลูกแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะปรับตัวในการใช้ชีวิตในสถาการณ์ที่ไม่ปกติ ควบคู่กับการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลโรค 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : 
highfocuscenters.pyramidhealthcarepa.com , indianexpress.com

==================================

 เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้ ให้ลูกน้อย
เรียนออนไลน์แบบมีสมาธิ ไม่เครียด ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น

 **เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

 
Visitors: 412,450