เคล็ดลับสำหรับการเรียนออนไลน์ ทำอย่างไร เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์

เคล็ดลับสำหรับการเรียนออนไลน์ ทำอย่างไรเมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์

อยู่ในช่วงปรับตัวกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่เลย สำหรับ New Normal ชีวิตวิถีใหม่ ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 (COVID-19) ระบาดไปทั่วโลกเช่นนี้ รวมทั้ง "การเรียนออนไลน์อีกหนึ่งการปรับตัวของหลายบ้าน ที่ค่อนข้างมีปัญหา 

"คุณหมอชาญวิทย์" จากเพจ "สมาธิสั้น แล้วไง" เพจเพื่อเด็กสมาธิสั้นและผู้ปกครอง ได้บอกเคล็ดลับทำอย่างไร เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์ ให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปปรับใช้ในชีวิต 

ช่วงนี้เด็กๆ หลายคนเริ่มต้องเรียนออนไลน์ ซึ่งรูปแบบของแต่ละโรงเรียนก็มีความแตกต่างกัน หลายบ้านเริ่มเจอกับปัญหาที่ลูกดูเหมือนจะไม่พร้อม สำหรับการเรียนออนไลน์ แค่เรียนในห้องเรียนปกติ ลูกก็ยังไม่ค่อยจะมีสมาธิเลย พ่อแม่หลายคนเครียดมากที่ต้องลงมานั่งคุมลูกให้จดจ่อกับสิ่งที่ครูสอนออนไลน์ ในขณะที่ตัวเองก็มีภาระ มีงานที่ต้อง Work From Home แล้วพ่อแม่จะช่วยลูกยังไงได้บ้าง เพื่อให้การเรียนออนไลน์เป็นประโยชน์กับลูกมากที่สุด

เปิดใจ  ยอมรับว่าการเรียนออนไลน์ของลูก เป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส มองด้านดีว่า การเรียนออนไลน์อาจช่วยพัฒนาทักษะไอทีของลูก และช่วยให้ลูกไม่เสียโอกาสการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันควรเตรียมใจว่าพ่อแม่ต้องเหนื่อยมากขึ้น เพราะต้องช่วยกำกับดูแล ช่วยครูสอน ช่วยลูกเรียน นั่นคือพ่อแม่ต้องเรียนไปพร้อมกันกับลูก

รีบแจ้งทางโรงเรียนและคุณครูประจำชั้นให้ทราบโดยเร็ว เมื่อมีข้อจำกัด  ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ที่ทำให้ไม่สามารถจัดเตรียมการเรียนออนไลน์ให้ลูกได้ เพื่อทางโรงเรียนจะได้ช่วยหาแนวทางอื่นในการช่วยให้เด็กได้เรียน

ติดต่อกับผู้ปกครองของเพื่อนลูก และจัดให้มีกิจกรรมร่วมกัน  ตั้งกลุ่มผู้ปกครองเพื่อช่วยเหลือกันในการจัดการเรียน การทำงาน เพราะหลายๆ ครอบครัวอาจประสบปัญหาเช่นเดียวกัน

เมื่อพร้อมให้ลูกเรียนออนไลน์ พ่อแม่ควรเรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีหรือแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ลูกจำเป็นต้องใช้ ในการเรียนออนไลน์

จัดห้องหรือสถานที่ ที่จะให้ลูกนั่งเรียนให้เหมาะสม ไม่มีเสียงรบกวน ไม่พลุกพล่าน ไม่มีสิ่งเร้าที่จะทำให้ลูกวอกแว่ก  หากเป็นไปได้แยกไม่ให้น้องมารบกวนพี่ หรือพี่ไปรบกวนน้อง ขอความร่วมมือผู้ใหญ่ในบ้านไม่ให้มาชวนคุย หรือคอยส่งน้ำ ส่งขนมระหว่างที่ลูกกำลังเรียน

จัดตารางเวลาสำหรับทำกิจวัตรประจำวัน  เช่น ตื่นนอน รับประทานอาหาร พักผ่อน เล่น ออกกำลังกาย เข้านอน ฯลฯ ให้ใกล้เคียงกับตารางเวลาในช่วงปกติที่ลูกไปโรงเรียนเท่าที่เป็นไปได้

 

 

อย่าละเลยการทำกิจกรรม “ออฟไลน์” ร่วมกันกับลูก  เช่น อ่านนิทาน ร้องเพลง เต้นรำ วาดรูป ทำงานศิลปะ ประดิษฐ์สิ่งของ ทำอาหาร ทำงานบ้าน ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ผู้ปกครองควรตระหนักว่า การเรียนรู้ของลูกๆ ยังสามารถเกิดขึ้นได้มาก จากประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตที่ลูกได้สัมผัสในแต่ละวัน

ศึกษาวิธีการตั้งค่าการควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต (parental control)  เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกแอบเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เล่นเกม หรือดูยูทูบ ระหว่างการเรียนออนไลน์

พูดคุยกับลูกถึงสิ่งที่ได้เรียนในแต่ละวัน  ช่วยทบทวน ตรวจทานงานที่ได้รับมอบหมาย หรือการบ้าน

• ผู้ใหญ่ในครอบครัวควรช่วยเหลือกัน  อย่าผลักภาระในการช่วยลูกเรียนออนไลน์ให้เป็นความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะงานนี้เป็นงานที่หนัก ท้าทาย และกระตุ้นให้เกิดความเครียดได้ง่าย

บอกกับตัวเองให้ได้ว่า ลูกไม่จำเป็นต้องได้ความรู้เต็มที่ หรือได้ทุกสิ่งทุกอย่างจากการเรียนออนไลน์  ทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของเด็กหลายอย่างไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการเรียนออนไลน์แต่เพียงอย่างเดียว พ่อแม่จึงไม่ควรจริงจัง เครียด หรือวิตกกังวลมากเกินไป การเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เป็นเพียงมาตรการเสริมชั่วคราว เมื่อโรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติเท่านั้น

หมั่นสำรวจอารมณ์ และระดับความเค รียดของตัวเอง  พึงระลึกว่าหากพ่อแม่หงุดหงิด เครียด หรือใส่อารมณ์กับลูก ขณะกำกับลูกระหว่างที่เขากำลังเรียนออนไลน์ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการเรียนรู้ของเขา หากรู้ตัวว่าตัวเองอารมณ์ยังไม่พร้อม พ่อแม่ไม่ควรกดดันตัวเองให้ช่วยลูกเรียนออนไลน์ ความรู้ที่ลูกมีเพิ่มขึ้นอาจไม่คุ้มกับ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อ แม่ ลูกที่จะเสียไป

 

เรียบเรียงบทความโดย : 

1. รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ผศ.นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล
4. อ.นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล
5. รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

==================================

 เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้ ให้ลูกน้อย
เรียนออนไลน์แบบมีสมาธิ ไม่เครียด ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น

 **เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 412,447