ทำไมเด็กสมัยนี้ถึงเป็น “สมาธิสั้นเทียม”กันมากขึ้น !!

เป็นเรื่องน่าเห็นใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายๆคน ที่ทุกวันนี้มีประเด็นน่ากังวลใจมากมายเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกๆ หนึ่งในความน่ากังวลใจเหล่านั้นซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบเห็นได้บ่อยขึ้นคือ ภาวะอาการที่เด็กทำตัวซุกซนไม่อยู่นิ่ง ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดๆ จนไม่สามารถทำอะไรให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันได้ หรือ ที่เรียกว่าเป็น “เด็กสมาธิสั้นเทียม” นั่นเอง

เมื่อกล่าวถึง “โรคสมาธิสั้นเทียม” (Pseudo-ADHD : Pseudo-Attention Deficit Hyperactivity Disorder) สิ่งที่นึกถึงเป็นอันดับแรกคือ พฤติกรรมที่แสดงออกถึง การซุกซนและไม่อยู่นิ่ง อันเป็นผลจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และ วิธีการเลี้ยงดูที่เด็กเติบโตขึ้นมา ซึ่งแตกต่างจาก โรคสมาธิสั้นโดยทั่วไปที่สาเหตุของการเกิดโรค คาดว่าเป็นผลมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม หรือ ความผิดปกติของสมองส่วนหน้า ที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพฤติกรรม โดยทั้งสองโรคต่างก็มีกลุ่มอาการที่สำคัญร่วมกัน ดังนี้

1. ซุกซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactive)
มีความตื่นตัวที่แสดงถึงอาการลุกลนตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่นิ่งได้ ต้องส่งเสียงพูดคุยหรือขยับตัวเคลื่อนไหว และทำเสียงดังโดยไม่ระมัดระวังอยู่เสมอ

2. ขาดความเอาใจใส่ (Inattention) 
ไม่สามารถรวบรวมสมาธิและใช้เวลาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ มีอาการเหม่อลอย หรือ ไม่สนใจรายละเอียดของสิ่งรอบตัวบ่อยครั้ง

3. หุนหันพลันแล่น (Impulsivity) 
ขาดความยับยั้งชั่งใจในการแสดงออก และไม่สามารถอดทนรอคอยที่จะทำสิ่งต่างๆให้เป็นไปตามขั้นตอน หรือ ในจังหวะเวลาที่เหมาะสมได้

ถึงแม้จะมีลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกร่วมกัน แต่โรคสมาธิสั้นที่เป็นผลมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมและความผิดปกติของสมองนั้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ตรงกันข้ามกับ โรคสมาธิสั้นเทียม ที่พบว่าเด็กสมัยนี้มีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยจากอาการของโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น แต่ก็สามารถป้องกันและแก้ไขได้ หากเข้าใจถึงที่มาที่ไป โดยพิจารณาได้จาก 3 ปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้สภาพการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป และกระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ กล่าวคือ

1. โลกยุคดิจิทัล 

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตของคนสมัยนี้ไปอย่างสิ้นเชิง ไม่เว้นแม้แต่เด็กปฐมวัย ที่สามารถเข้าถึงเครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อการสื่อสารและความบันเทิงได้อย่างง่ายดาย แต่สิ่งที่ได้มาก็ต้องแลกกับความเสี่ยงในการเป็น เด็กสมาธิสั้นเทียม หากปล่อยให้เด็กอยู่กับสิ่งเหล่านี้เกินพอดี เนื่องจากสมองถูกกระตุ้นให้เคยชินต่อสิ่งเร้า ด้วยแสงสีบนหน้าจอที่ดูน่าตื่นตาตื่นใจตลอดเวลา การเข้าถึงข้อมูลและสื่อบันเทิงต่างๆได้อย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถรอคอย หรือ มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำได้ เมื่อต้องกลับสู่ชีวิตจริงที่ต้องอาศัยเวลาหรือทำตามลำดับขั้นตอน

2. โลกแห่งการแข่งขัน

มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ถูกกระตุ้นให้ใช้ชีวิตด้วยความรีบเร่ง และต้องอยู่กับการแข่งขันตลอดเวลา เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่จำนวนหนึ่ง ตั้งความหวังกับลูกเอาไว้มาก โดยต้องการให้ลูกมีผลการเรียนที่ดี และมีอนาคตที่ดีกว่าคนอื่น จึงพยายามเร่งรัดผลักดันให้เด็กทำสิ่งต่างๆเกินกว่าช่วงวัยที่เหมาะสม จนแทบไม่มีเวลาได้หยุดคิด หรือ ได้ใช้ชีวิตในแบบที่เด็กพึงจะเป็น หากเด็กยังไม่พร้อมหรือถูกบังคับมากเกินไป ก็มีแนวโน้มที่จะแสดงออกถึงการต่อต้าน เหม่อลอย หรือ ความมุ่งมั่นตั้งใจ กลัวความผิดพลาดจนเกิดความเครียดและวิตกกังวล ซึ่งล้วนส่งผลเสียต่อ พัฒนาการของเด็กแทบทั้งสิ้น

3. โลกที่สร้างจากในบ้าน

ด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน มีคุณพ่อคุณแม่จำนวนมากต้องออกไปทำงานนอกบ้าน จนไม่มีเวลาดูแลลูกอย่างใกล้ชิด หลายครอบครัวมีความเห็นไม่ลงรอยกัน จนไม่สามารถเลี้ยงลูกไปในทิศทางเดียวกันได้ การเลี้ยงดูที่ขาดความชัดเจน ปล่อยปละละเลย ขาดการเรียนรู้และขาดการฝึกฝน ความรับผิดชอบ ตั้งแต่ที่บ้าน นับเป็นค่าเสียโอกาสในการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กไปในทิศทางที่ถูกต้อง ประกอบกับการเข้ามาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต จึงมีแนวโน้มที่คุณพ่อคุณแม่จะใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง ซึ่งยิ่งเป็นการดึงดูดให้เด็กจดจ่ออยู่กับหน้าจอมากกว่าพยายามเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตั


อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถเบาใจได้ในระดับหนึ่งที่ โรคสมาธิสั้นเทียม สามารถป้องกันและแก้ไขได้ที่ต้นตอของปัญหา นั่นคือ การจัดการกับสภาพแวดล้อม และ วิธีการเลี้ยงดูลูกให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับเด็กในแต่ละช่วงวัย ซึ่งสามารถทำได้โดยอาศัยแนวทางดังต่อไปนี้

1. หลายครอบครัวมักฝากความหวังให้กับคุณครูและโรงเรียน โดยเชื่อว่าจะสามารถดูแลเด็กได้ดีกว่า แต่แท้จริงแล้วสิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลลูกคือ ตัวคุณพ่อคุณแม่เอง พยายามปรับเปลี่ยนตัวเองและใช้โอกาสนี้ ในการสร้างเสริมความสัมพันธ์ ส่งมอบความรัก ความเข้าใจโดยใช้เวลาที่มีคุณภาพกับลูกเพิ่มมากขึ้น

2. การให้เวลาครอบครัวเพิ่มขึ้น คือ การลดเวลาในโลกออนไลน์ลง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับหลีกเลี่ยงการจดจ่ออยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟนมากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถให้คำแนะนำ รวมทั้งร่วมกันตกลงระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้งานสมาร์ทโฟนของลูกได้อีกด้วย

3. การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของลูก  มีความสำคัญเป็นลำดับแรกๆเสมอ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องลดสิ่งเร้า หรือ สภาวะที่สร้างความกดดันให้เด็ก เกิดความเครียดและวิตกกังวลกับการใช้ชีวิต โดยฝึกให้คิดและตัดสินใจ ได้ลองผิดลองถูกและยอมรับในความผิดพลาดของตัวเอง

4. เด็กที่เป็นสมาธิสั้นเทียม ไม่ได้หมายความว่า ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้เลย แต่จะจดจ่ออยู่แต่กับสิ่งที่ตัวเองชอบหรือสนใจเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกต ความสนใจของเด็ก และ สนับสนุนไปในทิศทางที่เหมาะสม พร้อมกับการหากิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆให้เด็กได้ลองทำผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปอยู่เสมอ

5. คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปมีบทบาทในการช่วยให้เด็กรู้จักวางเป้าหมายระยะสั้นในหลายๆเรื่อง ให้คำแนะนำในการวางแผนและลำดับขั้นตอนในการทำงาน เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน จนสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมอบคำชม หรือ รางวัลที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจและมีความรู้สึกภูมิใจ

แม้ โรคสมาธิสั้นเทียม ในเด็กจะพบได้มากขึ้นในปัจจุบัน แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถลดความกังวลใจนี้ลงได้ หากทำความเข้าใจถึงสาเหตุ และ เตรียมรับมือให้พร้อม โดยเริ่มจากที่บ้านของเราเอง

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :
กรมสุขภาพจิต

======================================

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  095-883-6706
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,680