อารมณ์ มีผลต่อการเรียนรู้อย่างไร..?
งานวิจัยค้นพบว่า ทัศนคติและอารมณ์ของคน มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ ทั้งความเครียด ความกลัว ความวิตกกังวล ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับเด็กหรือผู้ใหญ่วัยใดก็ตาม จะสกัดกั้นวงจรการทำงานของสมอง
เด็กเครียดมีอาการอย่างไร...
- ทักษะทางการพูดอ่อน
- บกพร่องทางการเรียนรู้
- ไม่มีสมาธิ หรือ เข้าใจยาก
- มีปัญหาเรื่องความจำ
- พฤติกรรมก้าวร้าว
- มีวาจาที่ไม่เหมาะสม
- ไม่ไว้ใจคนอื่น
- หาเพื่อนยาก หรือไม่มีเพื่อน
- มีพัฒนาการถดถอย
- เรียกร้องความสนใจเยอะเกินไป
- ร้องไห้และกรีดร้องบ่อยครั้ง
- อารมณ์เกรี้ยวกราด
- ขาดความมั่นใจในตนเอง
- มีความวิตกกังวล หรือมีความกลัว
- หงุดหงิดบ่อยครั้ง
- กลัวที่แยกจากคนหรือสิ่งของ
- นอนไม่ค่อยหลับ หรือนอนหลับไม่สนิท
- ปวดท้อง
- น้ำหนักน้อยหรือตกเกณฑ์ และไม่อยากอาหาร
- มีปัญหาในการย่อยอาหาร
- ฝันร้าย
- ฉี่รดที่นอนในวัยที่โตเกินไป
อาจพูดได้ว่า ทั้งสุขภาพกายและใจของคนเรา มีผลต่อประสิทธิภาพการคิดและการเรียนรู้ บ้านหรือโรงเรียนที่มีบรรยากาศตึงเครียด ล้วนส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กทั้งสิ้น ดังนั้นการเลี้ยงดูของพ่อแม่และบรรยากาศในบ้านที่เด็กเติบโต ต้องเป็นไปในลักษณะที่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นคง มีความสุข ส่วนโรงเรียนก็ต้องจัดบรรยากาศที่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกปลอดภัย และ สนุกสนาน มากกว่ามีแต่ความกดดัน ความเครียด
หากมีแรงกดดันมาก มีความเครียดสูง ถูกดุด่าประจำ มีความซึมเศร้าเหงาหงอย ล้วนมีผลต่อสารเคมีที่จะทำให้เราเรียนรู้ได้ไม่ดี ความสามารถเรียนรู้ในสมองลดลง แต่หากเรามีความสุขมีความปลอดภัยมั่นคง อารมณ์เราดี จะทำให้สารเคมีที่ดีหลั่งมากขึ้น ส่งผลให้เราเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว และจดจำได้ดี
การเปิดโอกาสให้เด็กได้บอกเล่าความรู้สึกของตัวเอง จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะในการฟังผู้อื่น และ ยอมรับคำวิจารณ์ของคนอื่นได้ ไม่เกิดความรู้สึดกดดันเมื่อถูกวิจารณ์ การจัดหาวิธีให้เด็กได้ระบายความรู้สึกนึกคิดอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้เด็กสามารถรับมือกับ ความโกรธ ความกลัว ความวิตกกังวล ความเจ็บปวดในใจ และ ความเครียดในชีวิตประจำวันได้ดี
เราไม่ต้องเพียงแต่คำนึงถึงพัฒนาการต่างๆของสมองที่กล่าวมา เรายังต้องคำนึงถึง พัฒนาการทางด้านอารมณ์ ควบคู่กันไปด้วย นักเรียนที่เข้ามาในห้องเรียนด้วยอารมณ์เครียด ย่อมมีความสามารถในการเรียนรู้ ที่แตกต่างจากนักเรียนที่เข้ามาด้วยอารมณ์ดี หรือ อารมณ์ปกติ
การที่เราเข้าใจพื้นฐานของสมอง จะช่วยให้เราคิดถึงประเด็นที่สำคัญๆ พ่อแม่ทุกคนจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงความจริงเกี่ยวกับ พัฒนาการและหน้าที่ของสมอง ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจถึง การเรียนรู้และความจำได้ดียิ่งขึ้น และ รู้วิธีสอน มีความสุขกับการเรียนการสอน
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :
www.okmd.or.th
พันโทแพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี
======================================