แก้ปัญหาสมาธิสั้น พ่อ-แม่ สำคัญที่สุด !!

  นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์   จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ ระบุว่า การเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหลายครอบครัวอาจมองข้ามไปว่า การที่เด็กดื้อ ซน อยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่าย หุนหันพลันแล่น หรือ เหม่อลอย หลงลืมบ่อย ทำการบ้านไม่เสร็จ ไม่เป็นระเบียบ มักเป็นธรรมชาติของเด็กที่กำลังโต  จนเกิดความชะล่าใจ  เมื่อปล่อยนานไป ก็ยิ่งมีอาการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแท้จริงแล้วเด็กอาจเป็น โรคสมาธิสั้น และ หากไม่ได้รับการรักษา และ ดูแลที่ถูกต้อง อาจส่งผลกระทบด้านการเรียน และ พฤติกรรมของเด็ก เช่น สอบตก เกเร หนีเรียน และ ก้าวร้าวได้


   จิตแพทย์ขยายความถึง ความสำคัญของการเลี้ยงดู ที่มีผลต่อเด็กสมาธิสั้นว่า "จริงๆ แล้ว โรคสมาธิสั้น เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องพันธุกรรมด้วย อาจจะ ไม่สามารถป้องกันได้ แต่พฤติกรรม หรือ อาการที่เป็นปัญหา อาจจะดีขึ้นได้ หรือ แตกต่างกันได้ด้วยเรื่องของการเลี้ยงดู บางทีถ้าคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงดูเอาใจใส่  แม้ว่าเด็กจะ ดื้อซน แต่เราหนักแน่น ก็จะช่วยให้อาการสมาธิสั้นรบกวนเวลาเรียน รบกวนคุณพ่อคุณแม่น้อยลงไปได้  อีกส่วนหนึ่งก็คือ การเอาใจใส่ดูแล สร้างความผูกพันกับลูก จะทำให้เขาเชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น"

   การดูแลเด็กที่เป็นสมาธิสั้น นอกเหนือจาก พ่อแม่แล้ว คุณครูก็มีส่วนสำคัญ เพราะจะเป็นคนที่ใกล้ชิดกับเด็ก และ เห็นถึงความแตกต่าง ถ้าคุณครูมีโอกาสคุยกับคุณพ่อคุณแม่ ก็จะช่วยให้เด็กเข้าสู่การรักษาที่เร็วขึ้น นอกจากนี้เพื่อนๆ ก็มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นได้ เช่น บางทีเด็กที่ต้องกินยารักษา อาจรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจอยู่บ้าง การไม่ล้อ ไม่ว่า แล้วก็เข้าใจ มันจะทำให้เด็กมีความรู้สึกดีกับสิ่งที่เขาเป็นมากขึ้น หรือ ในกรณีที่เด็กสมาธิสั้น อาจจะมีจดการบ้าน หรือ สิ่งที่ครูสอนไม่ทัน หรือ จดผิดๆ บ้าง เพื่อนก็สามารถช่วยได้

   "เรื่องของสภาพแวดล้อม สังคมปัจจุบัน ก็มีส่วนที่จะทำให้การดูแลเด็กสมาธิสั้นยากขึ้น เพราะว่าส่วนหนึ่งเด็กที่มีปัญหา มีพฤติกรรมของสมาธิสั้น พ่อแม่บางคนอาจจะให้เครื่องมือต่างๆ เช่น เกมในโทรศัพท์บ้าง ทีวีบ้าง เป็นตัวที่ทำให้เขาอยู่นิ่งกับอะไรบางอย่างได้มากขึ้น ซึ่งจริงๆ การที่เขาอยู่นิ่งกับพวกสื่อทีวี  โทรศัพท์ หรืออะไรต่างๆ  ไม่ได้แปลว่าเขาไม่ได้เป็นสมาธิสั้น และ การที่ไปอยู่ตรงนั้นนานๆ  ก็จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ขาดโอกาส ที่จะฝึกเรื่องระเบียบวินัยต่างๆ  หรือ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีๆ กับลูก  เล่นกับลูก  ซึ่งมันจะมีผลสำหรับการดูแลลูกในภายหลัง รวมถึง โรคสมาธิสั้น ด้วย"

หัวใจสำคัญก็คือ เมื่อสงสัยว่าลูกเป็น เด็กสมาธิสั้น ควรรีบพาไปปรึกษาจิตแพทย์ และ คนที่เกี่ยวข้อง ต้องหารือทำงานร่วมกันเพื่อช่วยกันปรับเปลี่ยน โดยพ่อแม่ควรตื่นตัว หมั่นสังเกต อาการของลูก และ ตระหนักก่อนว่า มันมีโรคนี้อยู่จริงๆ  เด็กไม่ได้อยากจะเป็น เพียงแต่เขาควบคุมตัวเองไม่ได้  นพ.คมสันต์ แนะนำวิธีการสังเกตอาการของเด็กสมาธิสั้นว่า ลักษณะไหนที่จะต้องพาไปพบแพทย์

โดยกลุ่มอาการที่มักพบบ่อยๆ มี กลุ่มคือ

    1. กลุ่มอาการสมาธิสั้น (Inattention) สามารถสังเกตได้โดย

          > เด็กจะมีความวอกแวกง่าย เหม่อลอย ขี้หลงขี้ลืม อาจจะจัดเรื่องของระบบระเบียบงานไม่ได้  ว่าควรทำอะไรก่อนหรือหลัง สั่ง อย่างได้ อย่าง สั่ง อย่างได้อย่างเดียวบ้าง 

          > อาจเป็นในลักษณะของงาน หรือ การบ้าน ที่ทำออกมาแล้วไม่เรียบร้อย ไม่รอบคอบ

อันนี้เป็นอาการในกลุ่มของ ขาดสมาธิ หรือ แม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถทำให้เด็ก เสียสมาธิได้แล้ว เช่น นั่งเรียนอยู่ในห้องเรียน พอมีคนเดินผ่านก็จะหันไปดูโดยทันที  เป็นลักษณะเป็นความไวต่อสิ่งเร้าภายนอกโดยผ่านทางตาและหู

   2. กลุ่มอาการซนมากกว่าปกติ และ หุนหันพลันแล่น (Hyperactivity/impulsivity) คือ

         > ลักษณะความซนจะมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป  ซนแบบไม่อยู่นิ่ง มักอยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี้ลุกลนตลอดเวลา และ ชอบปีนป่ายขึ้นไปบนโต๊ะเก้าอี้บ่อยๆ เล่นเลอะเทอะ หรือเล่นอะไรแล้วรุนแรง

    "ถ้าหากพ่อแม่รู้ช้าว่าลูกเป็น เด็กสมาธิสั้น  ก็อาจทำให้เด็กมีผลกระทบด้านพฤติกรรมตามมา เช่น เด็กที่มารักษาช่วงวัยรุ่นแล้ว จะไม่ได้มาในเรื่องของ สมาธิสั้น แต่มีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรม เช่น ชอบออกจากบ้านดึกๆ ดื่นๆ  ออกไปเที่ยวกับเพื่อนข้างนอก ไม่ยอมกลับบ้าน หรือ บางทีก็มีปัญหาเรื่องของ ยาเสพติด เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร  เด็กกลุ่มนี้บางทีถ้าซักประวัติย้อนกลับไปในช่วงแรกๆ  เราพบว่าเขามีเรื่องของสมาธิสั้นมาก่อน แต่ไม่ได้รับการรักษา เขาจึงเบี่ยงเบนออกจากวิถีการเรียนไป เพราะคุณครูดุว่าบ่อยๆ แล้วก็ไปคบกับเพื่อนที่เกเรเหมือนกัน ชวนกันไปมีปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ก็เป็นที่น่าเสียดาย แต่ถ้าเราสามารถทราบได้เร็ว รักษาเร็วมันก็จะดีขึ้น"

    การรักษา โรคสมาธิสั้น นั้น ปัจจุบันจะใช้ยา ซึ่งเป็นแค่การประคับประคอง ควบคุมอาการ ไม่หายขาด เด็กที่เป็นสมาธิสั้นประมาณสัก 30-40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อโตขึ้นในวัยผู้ใหญ่ อาการพวกนี้ก็จะดีขึ้น หายไป แล้วก็หยุดยาได้  ในส่วนของวัยรุ่น  เรื่องของซนอยู่ไม่นิ่ง ส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น อาจจะคงเหลือเป็นเรื่องของสมาธิสั้นอย่างเดียว แต่หากไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกวิธี อาจจะส่งผลเกิดเป็นปมด้อยในใจเด็ก และ เกิดเป็นผลกระทบระยาวทั้งในเรื่องการเรียน และ หน้าที่การงานได้ในอนาคต

 

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ ชาญวิทย์ พลนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้คำแนะนำในการเลี้ยงดูลูกสมาธิสั้น ไว้ดังนี้

1. ปรับทัศนคติต่อเด็กสมาธิสั้นให้เป็นบวก  คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า โรคสมาธิสั้น เป็นความผิดปกติของการทำงานของสมอง พฤติกรรมที่ก่อปัญหาของลูก ไม่ได้เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะก่อกวนให้เกิดปัญหา แต่เกิดขึ้นเนื่องจากเขาไม่สามารถควบคุมตนเองได้

2. เทคนิคปรับพฤติกรรมที่ใช้ ต้องไม่ทำลายความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองของลูกให้ลดลง

3. จัดทำตารางเวลาให้ชัดเจน กิจกรรมในแต่ละวันที่ลูกต้องทำมีอะไรบ้าง ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน

 

4. จัดหาสถานที่ที่ลูกสามารถใช้ทำงาน ทำการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีใครรบกวน  และไม่มีสิ่งที่จะมาทำให้เขาเสียสมาธิ เช่น ทีวี เกม โทรศัพท์มือถือ หรือของเล่นอยู่ใกล้ๆ

5. ถ้าลูกวอกแวกง่ายมากหรือหมดสมาธิง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็นที่ต้องนั่งประกบอยู่ด้วย ระหว่างทำงาน หรือทำการบ้าน เพื่อให้งานเสร็จเรียบร้อย


6. คุณพ่อคุณแม่ และ ทุกคนในบ้าน ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ อย่าตวาด ตำหนิเด็ก หรือ ลงโทษทางกายที่รุนแรงเมื่อลูกทำผิด โดยควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อลูกทำผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง หากยิ่งใช้ความรุนแรงกับเด็กสมาธิสั้น ยิ่งทำให้เขามีโอกาสเติบโตมาเป็นเด็กก้าวร้าวและใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

7. การลงโทษควรใช้วิธีจำกัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดูทีวี งดเที่ยวนอกบ้าน งดขี่จักรยาน หักค่าขนม เป็นต้น

8. คุณพ่อคุณแม่ควรให้คำชม รางวัลเล็กๆ น้อยๆ เวลาที่ลูกทำพฤติกรรมที่ดี เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เขาทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป

9. ทำให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับลูก เช่น ในเรื่องความมีระเบียบ รู้จักรอคอย ความสุภาพ รู้จักกาละเทศะ หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงต่างๆ

10. เวลาสั่งให้ลูกทำงานอะไร ควรให้ลูกพูดทวนคำสั่งที่คุณพ่อคุณแม่เพิ่งสั่งไปทันที เพื่อให้มั่นใจว่าลูกฟังคำสั่งและเข้าใจว่า พ่อแม่ต้องการให้เขาทำอะไร

 

11. พยายามมองหาข้อดี จุดเด่นของลูก และ พูดย้ำให้ลูกเห็นข้อดีของตัวเอง  เพื่อให้เด็กเกิดกำลังใจทีจะประพฤติตัวดี และเกิดความรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง

12. พยายามสั่งทีละคำสั่ง ทีละขั้นตอน  ใช้คำสั่งที่สั้น กระชับ และ ตรงไปตรงมา

13. ไม่ควรบ่นจู้จี้จุกจิก ถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีในอดีตของลูก

14. หากลูกทำผิด พ่อแม่ควรเด็ดขาด เอาจริง คำไหนคำนั้น  ลงโทษลูกตามที่ได้ตกลงกันไว้โดยไม่ใจอ่อน มีความคงเส้นคงวาในการปรับพฤติกรรม

15. พยายามสอนให้ลูกคิดก่อนทำ เช่น ให้ลูก “นับ 1 ถึง 5” ก่อนที่จะทำอะไรลงไป “หยุด..คิดก่อนทำนะจ๊ะ” พูดให้ลูกรู้ตัว รู้จักคิดถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำของเขา สอนให้เขารู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก่อนที่จะทำอะไรลงไป

16. หากลูกมีพฤติกรรมดื้อ ไม่เชื่อฟัง หลีกเลี่ยงการบังคับหรือออกคำสั่งตรงๆ กับเด็ก  แต่ใช้วิธีบอกกับเด็กว่า เขามีทางเลือกอะไรบ้าง โดยทางเลือกทั้งสองทางนั้น เป็นทางเลือกที่คุณพ่อคุณแม่กำหนดขึ้น เช่น หากต้องการให้ลูกเริ่มต้นทำการบ้าน แทนที่จะสั่งให้ลูกทำการบ้านตรงๆ อาจพูดว่า “เอาละได้เวลาทำการบ้านแล้ว หนูจะทำภาษาไทยก่อน หรือว่าจะทำเลขก่อนดีจ๊ะ”

17. กำหนดช่วงเวลาในแต่ละวัน ที่จะให้ลูกฝึกทำอะไรเงียบๆ ที่ตัวเองชอบอย่าง “จดจ่อและมีสมาธิ”  โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องหาห้อง หรือมุมใดมุมหนึ่งในบ้านที่สงบ ไม่มีสิ่งเร้ามากนัก ให้ลูกได้เข้าไปทำงาน หรือ กิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิคนเดียวเงียบๆ โดยในวันแรกๆ อาจเริ่มที่ 15 นาทีก่อน แล้วค่อยเพิ่มเวลาให้นานขึ้นเรื่อยๆ พร้อมให้คำชม และรางวัลเมื่อลูกทำได้สำเร็จ

 

    ดังนั้นการเลี้ยงดูของ พ่อแม่ และความเข้าใจของคุณครู และ กำลังใจของคนรอบข้างนั้น มีความสำคัญต่อเด็กสมาธิสั้น และสามารถช่วยให้เด็กเหล่านั้นดีขึ้น  ซึ่งมีหลายกรณีพิสูจน์ว่า * เด็กสมาธิสั้นไม่เพียง ไม่เป็นปัญหาของสังคม แต่ยังสามารถเติบโต เป็นคนดีคนเก่งของสังคม เป็นที่พึ่งของตนเองและครอบครัวได้*  ซึ่งการทำความเข้าใจและหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กำลังใจในการรับมือ ช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นอย่างถูกทางนั้น นับเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

                                                                 ..................................................

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 
TheAsianParent Thailand
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
 

==================================

 เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้ ให้ลูกน้อย
เรียนออนไลน์แบบมีสมาธิ ไม่เครียด ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น

 **เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,540