ลูกอ่านเขียนไม่ได้ ใช่ แอลดี (LD) ไหม ??

ลูกกำลังประสบปัญหา อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ทั้งๆที่ก็เรียนที่เดียวกัน เรียนห้องเดียวกับลูกของผู้ปกครองท่านอื่นๆ แต่ทำไมลูกเค้า อ่านได้ เขียนคล่อง มารู้จัก "ความบกพร่องทางการเรียนรู้" หรือ LD

LD คือ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) เป็นความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกมาทางด้านปัญหาการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณ และ เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติ และ มีความสามารถด้านอื่นปกติดี 

LD มีกี่ชนิดและมีอะไรบ้าง? 

LD มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ 

1. ความบกพร่องทางด้านการอ่าน 

เด็กมีความบกพร่องในการจดจำพยัญชนะ สระ และ ขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออก หรือ อ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ 

2. ความบกพร่องทางด้านการเขียน สะกดคำ

เด็กมีความบกพร่องในด้านการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือ และ สะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออกผ่านการเขียนได้ ตามระดับชั้นเรียน 

3. ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์ 

เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ คือ ไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้

คุณพ่อคุณแม่จะทำยังไง ถ้าลูกอยู่ ป.2 หรือ ป.3 แล้วยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และ ยังสอบตกแทบทุกวิชา ?

หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ อาการอาจหนักขึ้น ถึงขั้น อ่านไม่ได้ เขียนไม่ถูก สะกดคำศัพท์ผิด อ่านและเขียนตก ๆ หล่น ๆ

นอกจากนี้ เด็กจะไม่สามารถบอกเวลา และ ความหมายของคำได้ เมื่อเด็กวัยประถมมีปัญหาเรื่องการอ่านเขียน เขาก็จะไม่สามารถเข้าใจบทเรียนในวิชาต่างๆ ได้ และ เมื่อเด็กเครียดและไม่มีใครเข้าใจ ก็มีแนวโน้มที่เขาจะกลายเป็นเด็กมีปัญหา ดังนั้น ผู้ปกครองควรจะเอาใจใส่ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะสายเกินไป

 

แล้วควรจะทำอย่างไร เมื่อลูกอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ? 

 

1. อย่าลงโทษจนกว่าจะรู้สาเหตุ

ผู้ปกครองควรสังเกตผลการเรียนของลูก  และ คุยกับคุณครูเป็นระยะๆ อย่ารอจนโรงเรียนส่งจดหมายเชิญคุณพ่อคุณแม่ไปพบ  คุยกับคุณครูเรื่องพัฒนาการของลูก และ จัดการกับสถานการณ์ เมื่อรู้ต้นตอของปัญหา อย่าดุลูกต่อหน้าคนอื่น
เพราะ การดุด่า รังแต่จะทำให้ลูกเสียความมั่นใจ และ ไม่อยากเรียนรู้

 

2. รักและให้กำลังใจลูก


ยอมรับจุดอ่อนของลูก คุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรโกรธ แสดงความผิดหวัง หรือ บั่นทอนกำลังใจลูก  อย่าคาดหวังในตัวลูกสูงเกินไป พยายามให้กำลังใจลูกเมื่อเขาทำไม่ได้ บอกเขาว่าคราวหน้าเขาจะทำได้ดีขึ้น อย่าเปรียบเทียบลูกกับลูกคนอื่น ๆ

 

3. สอนลูกอย่างอดทน

 

สอนลูกให้รู้พื้นฐานของตัวอักษรก่อน เช่น หน้าตาตัวอักษรแต่ละตัวเป็นอย่างไร และ เขียนอย่างไร  ใช้อุปกรณ์การสอนมาช่วยเพื่อให้ลูกจำ และ ทำให้ลูกรู้สึกสนุกกับการเรียน อาจใช้วิธีเรียนโดยการเล่นเกม ถ้าเจอวิธีที่ได้ผล ก็ใช้วิธีนั้นจนกว่าลูกจะอ่านและเขียนตัวอักษรได้ทั้งหมด จากนั้นจึงเริ่มผสมคำเป็นคำง่าย ๆ สั้น ๆ เมื่อเขาเริ่มอ่านคำได้บ้าง ลองหานิทานง่าย ๆ มาให้เขาลองอ่าน ให้เขาเลือกเรื่องที่เขาอยากอ่าน

 

เคล็ดลับในการสอน คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทน อย่าโมโหหรือเร่งลูกให้อ่านเร็วๆ  คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้ลูกรักการอ่านได้  โดยการอ่านหนังสือให้เขาฟังทุกคืนก่อนนอน และ เมื่อลูกเริ่มอ่านได้ ก็ให้เขาอ่านให้ฟัง

 

4. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ถ้าผู้ปกครองสอนเองไม่ได้สำเร็จ

 

ถ้าคุณพ่อคุณแม่สอนแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือ ไม่มีเวลา ลองขอให้คุณครูหรือคนที่เชี่ยวชาญในการสอนเด็กอ่านช่วย นี่ไม่ได้หมายความว่า เด็กที่มีปัญหาเรื่องการอ่านเขียน จะต้องเข้าโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ เขายังคงเรียนในโรงเรียนปกติได้ แต่พยายามเลือกโรงเรียนที่คุณครูสามารถเอาใจใส่นักเรียนแต่ละคนได้เต็มที่

 

5. ใช้ศิลปะ หรือ กิจกรรมยามว่างอื่นๆ

 

เด็กหลายคนแม้จะไม่ได้โดดเด่นในด้านการเรียนทางวิชาการเหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ แต่ก็มีความสามารถพิเศษของตนเอง โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องหาให้เจอด้วย

 

6. ที่สำคัญที่สุด คือพ่อแม่ต้องเข้าใจลูก

อย่าคิดว่าลูกผิดปกติ อย่าคิดแค่ว่าลูกอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เพราะในหลายบริบท ลูกคือเด็กทั่วๆไป เขาสามารถเป็นหัวหน้าชั้น ปฎิบัติธรรมได้ ทำงานศิลปะที่สวยงามได้

  

คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 

รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ นักวิชาการผู้รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ “คุณพุ่ม”  ได้ให้คำแนะนำและการเยียวยาสำหรับครอบครัวที่มีลูกเป็น LD ดังนี้ 

ให้หาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก LD โดยเฉพาะมาให้ลูก เช่น นิทานหนังสือต่าง ๆ สำหรับเด็ก LD   เด็ก LD สามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กคนอื่น ๆ เพียงแต่มีวิธีเรียนรู้ที่ต่างออกไปเท่านั้น

> สำหรับการจัดการเรียนการสอน ให้เด็กเรียนร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติ แต่ต้องเลือกโรงเรียนที่เข้าใจเด็กด้วย

> เด็ก LD จะมีจินตนาการกว้างไกล และ มีความคิดสร้างสรรค์มาก ๆ  พยายามหากิจกรรมนอกเวลาที่ให้ลูกได้ใช้ ความคิดสร้างสรรค์ และ ได้ส่งเสริมจินตนาการของลูกอย่างเต็มที่

> ที่สำคัญที่สุด คือ อย่ามัวแต่ไปกังวลว่า ลูกจะอ่านออกไหม อย่าวิตกกังวลจนเกินไป ถ้าพ่อแม่ไม่เข้าใจลูก  จนเครียดและวิตกกังวล จะทำให้เด็กก้าวร้าวไปด้วย พ่อแม่ต้องใจเย็นและอย่ามองว่าลูกบกพร่อง อย่าเอาค่านิยมของสังคมมาตัดสินเด็ก คนเราไม่จำเป็นต้องอ่านเก่ง เขียนเก่ง หรือ เรียนดี แค่มีวิธีชดเชยข้อบกพร่อง หาความโดดเด่นและความสามารถด้านอื่นในตัวลูก ให้ลูกรู้สึกว่าตนเองมีค่า ได้รับการยอมรับ และ เป็นที่รักของพ่อแม่ก็เพียงพอแล้ว

 

ปัญหายังไม่สายเกินแก้ แค่คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามแก้มันไปพร้อมๆ กับลูก จำไว้ว่า เด็กทุกคนล้วนมีความสามารถอยู่ในตัว

  

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :

thaihealth.or.th
th.theasianparent.com
ข่าวช่อง 7

======================================

♥ เปิดเทอมนี้ เตรียมความพร้อมต่อ
การเรียนรู้ให้ลูกน้อย
ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,553