เด็กประถม สมาธิสั้นนับล้าน แพทย์แนะปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดู..ด่วน !!
สธ.เผยเด็กไทยวัยประถมป่วย“สมาธิสั้น1ล้านคน” ครึ่งหนึ่งมีปัญหาสุขภาพจิต
น.ต.นพ. บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มเด็กที่พบมากที่สุดในวัยเด็ก และ น่าเป็นห่วงที่สุดในขณะนี้คือ "โรคสมาธิสั้น ( Attention Deficit Hyperactivity Disorder :ADHD)" หรือที่เรียกว่า โรคไฮเปอร์ ซึ่งเกิดจากภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมอง ทำให้เด็กเกิดความผิดปกติที่สำคัญ 3 ด้าน คือ
> มีช่วงสมาธิสั้นกว่าปกติ ( Inattention)
> มีความสนใจต่ำ ซุกซนอยู่ไม่นิ่งหรือซนผิดปกติ ( hyperactivity)
> พฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ( Impulsivity)
อาการมักเกิดก่อนอายุ 7 ขวบ และต่อเนื่องติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน หากไม่ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ต้น จะกลายเป็นปัญหาระยะยาวส่งผลต่อพัฒนาการในด้านลบ ไปจนถึงวัยรุ่น และ วัยผู้ใหญ่ เช่น ต่อต้านสังคม เกเร ใช้ความรุนแรงต่อคนอื่น ติดยาเสพติด และ เกิดภาวะซึมเศร้า
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตล่าสุดในปี 2560 พบเด็กวัยประถมศึกษาอายุ 6-12 ปี มีอัตราป่วยโรคสมาธิสั้น ร้อยละ 8.1 หรือ มีประมาณ 1 ล้านคน
> ผู้ชาย พบร้อยละ 12 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ที่พบร้อยละ 10 และ ป่วยมากกว่าผู้หญิงในอัตรา3 ต่อ 1
> พบอัตราป่วยสูงสุดในภาคใต้ ร้อยละ 11.7
> รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 9.4
> ภาคกลาง ร้อยละ 6.7
> กรุงเทพฯ ร้อยละ 6.5
> ภาคเหนือ ร้อยละ 5
โดยเด็กสมาธิสั้น ร้อยละ 50 หรือ ราว 5 แสนคน มีปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจากการปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ไม่ดี เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง
ทั้งสาเหตุของการเกิดโรคนี้เชื่อว่า เกิดจาก พันธุกรรม ร้อยละ 80-85 และ ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้คือ การได้รับสารตะกั่ว สารฆ่าแมลง รวมถึง มารดาที่สูบบุหรี่ หรือ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ติดสารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถทำลายการเจริญเติบโตสมองของเด็กได้ หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย รักษาและปรับพฤติกรรมอย่างถูกต้องตั้งแต่มีอาการแรกเริ่ม
เด็กสมาธิสั้น มีโอกาสจะไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียน หรือ เกิดการบาดเจ็บจากเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าเด็กปกติ มีโอกาสกลายเป็นเด็กเกเร ต่อต้านสังคมหลังอายุ 16 ปี สูงกว่าเด็กปกติ 3-4 เท่าตัว และ เด็กกลุ่มนี้หากถูกทำโทษบ่อยๆ หรือ ถูกลงโทษอย่างรุนแรง จะมีอาการซึมเศร้า ทำร้ายตัวเอง เมื่อโตขึ้นมีแนวโน้มใช้พฤติกรรมก้าวร้าวคนอื่น เช่น ทุบตี ทำร้ายคู่สมรส ใช้ความรุนแรงในครอบครัว การดูแลรักษา จึงเป็นการป้องกันปัญหาสังคมนี้ด้วย
“เด็กส่วนหนึ่งที่เป็น สมาธิสั้น 40% จะหายเมื่อผ่านช่วงเวลาวัยรุ่นไปแล้ว และ สามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น เรียนทำงานได้เหมือนคนปกติทั่วไป และ ก็ส่วนที่เหลืออาจจะมีอาการแย่ลง หากได้รับการดูแลที่ผิดวิธี”
เทคนิคในการดูแลเด็กสมาธิสั้นให้ดีขึ้น
1. จัดมุมที่เงียบสงบไว้ให้เด็กได้ทำงาน หรือ ทำการบ้าน ห่างจากโทรทัศน์ ไม่ให้มีเสียงเข้ามารบกวนสมาธิ และ จัดของใช้ที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อลดสิ่งเร้าที่ดึงความสนใจของเด็ก
2. ใช้การสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน ให้เด็กทวนคำสั่งว่าอะไรบ้าง เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมักมีความอดทนในการฟังต่ำ
3. ฝึกฝนวินัยให้เด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยปะละเลยหรือตามใจจนเคยตัว
4. เบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อเด็กดื้อหรือซนมาก ให้หากิจกรรมอื่นมาแทน
5. ให้เด็กออกกำลังกาย และ ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ช่วยลดพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิ และลดความเครียด
6. นอนหลับให้เพียงพอ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้เด็กมีสมาธิและมีสุขภาพที่ดี
7. วิธีลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลง แต่ทำบ่อยขึ้น เน้นเรื่องความรับผิดชอบ และ อดทน ตั้งเป้าหมายของกิจกรรมให้ง่ายๆ สั้นๆ อย่างชัดเจน และ เสร็จเป็นชิ้นๆไป
8. ควรให้คำชมหรือรางวัล เมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่ดี เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป
ทั้งนี้การเรียนรู้ เข้าใจ และ ยอมรับ กับ โรคสมาธิสั้น ที่เกิดในเด็กของพ่อแม่ผู้ปกครอง มีส่วนช่วยลดความเครียดในครอบครัว และป้องกันโรคทางจิตเวชอื่นๆ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล ที่อาจตามมาในเด็ก ช่วยให้เด็กมีความสุขกับการเรียน การใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสมวัย และทำได้เต็มความสามารถมากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
posttoday.com
komchadluek.net
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ สารอาหารบำรุงสมอง
√ เพิ่มสมาธิ เสริมสร้างความจำ และ ความสามารถในการเรียนรู้ ดีขึ้น
√ ช่วยให้สนใจการเรียนมากขึ้น รับผิดชอบมากขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ปรับอารมณ์ และ ทำให้ผลการเรียนให้ดีขึ้น