10 พฤติกรรม เสี่ยงสมาธิสั้น ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนของลูก จะแก้ไขอย่างไร ?

การเกิดโรคสมาธิสั้น ปัจจุบันพบว่า ความผิดปกติทางพันธุกรรม การเลี้ยงดู  สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก มีผลทำให้อาการของโรคสมาธิสั้น แสดงออกรุนแรงขึ้นกว่าเดิม เด็กมักประสบปัญหาในการเรียน มีปัญหาบ่อย และ ไม่สามารถเข้ากับเพื่อนได้ เด็กอาจเครียด และ เกิดความกังวลใจ จนนำไปสู่ความไม่มั่นใจในตนเอง และ อาจนำไปสู่ความตึงเครียดภายในครอบครัวได้

 

10 พฤติกรรมเสี่ยงสมาธิสั้น ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนของลูกเป็นอย่างมาก

1. ชอบเหม่อ ใจลอย ไม่สนใจเรียน วอกแวกง่าย
2. อู้ ยืดยาด เฉื่อย ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ
3. หลงลืมง่าย
4. ขาดการวางแผนล่วงหน้า
5. ทำงานไม่เรียบร้อย สะเพร่า
6. แบ่งเวลาไม่เป็น
7. ขาดระเบียบ
8. ไม่มีความอดทน ล้มเลิกง่าย
9. หลีกเลี่ยงการทำการบ้าน
10. หลีกเลี่ยงการทบทวน อ่านหนังสือ

อาการเหล่านี้ นอกจากจะทำให้ การเรียนรู้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพของลูกแล้ว ในหลายๆ คน ยังมีผลทำให้ผลการเรียนไม่ดี และ ตามเพื่อนๆ ในห้องไม่ทัน สุดท้าย ก็อาจโดนคุณครูดุด่า และ เกลียดการไปโรงเรียนในที่สุด

และ นอกจากผลกระทบด้านศึกษาแล้ว ยังส่งผลกระทบด้านต่างๆ อีกมากมาย เช่น ด้านความมั่นใจในตัวเอง การเข้าสังคม การทำงานในอนาคต

คุณหมอได้กล่าวถึงสถิติของคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นเพิ่มเติมอีกด้วยว่า
  √ 1 ใน 3 ของเด็กที่เป็น โรคซนอยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น เมื่อโตขึ้น มีวุฒิภาวะดีขึ้น เด็กก็จะค่อยๆ หายได้เอง

  √ 1 ใน 3 ดีขึ้น เมื่อมีการปรับพฤติกรรมที่ถูกต้อง และ ได้รับการรักษาด้วยยา ในการดูแลของแพทย์

  √ 1 ใน 3 อาจมีปัญหาการเรียน สอบตก เรียนไม่จบ ซึมเศร้า ติดยา ต่อต้านสังคม หรือ กลายเป็นอาชญากร

สำหรับ คุณพ่อ-คุณแม่ ที่มีลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ควรทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรค และ ใช้ข้อดีของโรคให้เป็นประโยชน์ เช่น เด็กไม่ชอบอยู่นิ่ง จะกระตือรือร้นอยากทำกิจกรรมต่างๆ อยู่แล้ว ก็พาไปเล่นกีฬานอกบ้าน อยู่โรงเรียนก็ให้ช่วยคุณครูลบกระดาน เดินไปหยิบของให้คุณครู ช่วยคุณครูถือของ เป็นต้น

"เด็กสมาธิสั้น ก็มีหัวใจเหมือนกัน"  

สมาธิสั้นในเด็ก สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ด้วยการดูแล เอาใจใส่ เข้าใจในพฤติกรรม และให้กำลังใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้เด็กเหล่านี้ กลับเข้ามาอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติ

เรื่องดี ๆ ที่พ่อแม่และลูกควรปฏิบัติต่อกัน - Thanachart Bank

พ่อ-แม่ จะช่วยแก้ไขปัญหาลูกสมาธิสั้นได้อย่างไร..?

การรักษา สมาธิสั้นในเด็ก สามารถเริ่มต้นได้ที่บ้าน  พ่อ-แม่ ผู้ปกครองต้องเข้าใจว่า เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ต้องการความเป็นระบบระเบียบ ความสม่ำเสมอ การสื่อสารที่ชัดเจน รางวัลและการลงโทษต่อการกระทำของเขา พ่อ-แม่ควรให้ความรัก กำลังใจ และ ความช่วยเหลือกับลูกมากๆ

โดยวิธีการเลี้ยงลูกที่เป็น สมาธิสั้น สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. สร้างทัศนคติที่ดี   พ่อแม่ควรมีทัศนคติที่ดีและใจเย็นกับพฤติกรรมของลูก สามารถมองข้ามความผิดเล็กๆ น้อยๆ และ เชื่อมั่นว่าลูกสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้ ทั้งนี้พ่อแม่ต้องรู้จักผ่อนคลาย และ ดูแลตนเองด้วย

  2. จัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นระบบ   เด็กโรคสมาธิสั้นจะสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้  หากมีการจัดตารางกิจกรรม และ สถานที่ที่ชัดเจน พ่อ-แม่ควรจัดทุกอย่างให้เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการวางสิ่งของ การจัดตารางเวลา เป็นต้น ทั้งนี้ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก

  3. ตั้งกฎระเบียบที่ชัดเจน   พ่อ-แม่ควรตั้งกฎระเบียบที่ชัดเจนให้เด็กเข้าใจและปฏิบัติตาม โดยมีการให้รางวัลเมื่อทำดี และ ลงโทษเมื่อทำผิด ทั้งนี้พ่อ-แม่ต้องตระหนักว่า การให้คำชมและรางวัล ถือเป็นการให้กำลังใจที่ดีสำหรับเด็ก

  4. ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ   พ่อ-แม่ควรให้ลูกออกกำลังกาย และ ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี  อีกทั้งเป็นการฝึกสมาธิและลดความเครียดอีกด้วย  การนอนหลับให้เพียงพอ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้เด็กมีสมาธิและมีสุขภาพที่ดี

  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์   พ่อ-แม่ควรเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกรับประทาน โดยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ จะเสริมสร้างสุขภาพกาย และ สุขภาพจิตที่ดี  สารอาหารที่ดี มีประโยชน์ สามารถลดอาการของ สมาธิสั้น ได้อีกด้วย

  6. เรียนรู้การเข้าสังคม   แม้จะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กสมาธิสั้น ที่จะเรียนรู้การเข้าสังคม  แต่พ่อ-แม่สามารถฝึกให้ลูกเป็นผู้ฟังที่ดี  รู้จักอ่านสีหน้าและท่าทางของผู้อื่น  รู้จักโต้ตอบและพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อปูทางในการปรับตัวเข้าสังคมในลำดับต่อไป


นอกจากนี้ พ่อ-แม่ ยังควรร่วมมือกับแพทย์ นักบำบัด และครู  เพื่อวางแผนการรักษาสำหรับเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อให้การรักษาได้ผลที่น่าพึ่งพอใจสูงสุด  ทั้งนี้การรักษาที่ดี ควรประกอบด้วย การบำบัดทางพฤติกรรม  การดูแลและเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่บ้าน  การให้กำลังใจ และ การช่วยเหลือที่โรงเรียน  เพราะ ยารักษา สมาธิสั้น ที่ดีที่สุดคือ "ความรัก ความเข้าใจ ของพ่อ-แม่ ที่มีต่อลูก"

 

======================================= 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 
เว็บไซต์ AsianParentThailand

เว็บไซต์ Taamkru

เว็บไซต์ Adhdthai

นายแพทย์มาโนช อาภรณ์สุวรรณ์

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain

สนับสนุนโดย อเลอไทด์  สารอาหารบำรุงสมอง

ช่วยเพิ่มสมาธิ เสริมสร้างความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น

ช่วยลดความเครียด ปรับอารมณ์ ให้ดีขึ้น

ช่วยให้ผู้ปกครองปรับพฤติกรรมน้องได้ง่ายขึ้น

ช่วยให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น

ส่งผลให้มีผลการเรียนดีขึ้น

ปรึกษาปัญหาเด็กสมาธิสั้น เด็กแอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์
โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 410,582