สัญญาณเตือน !! ลูกมีปัญหาทักษะด้านการอ่าน
“ฟัง พูด อ่าน เขียน” เป็นทักษะที่เด็กทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้และหมั่นฝึกฝนให้ชำนาญ เพื่อให้ลูกหัดโต้ตอบ รวมทั้งเข้าใจการสื่อสารกับผู้อื่น
ดังนั้น หากลูกมีปัญหาในทักษะด้านใดด้านหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบแก้ปัญหาในจุดนั้นๆ ให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับลูกรักในระยะเวลาที่นานเกินไป จนยากที่จะแก้ไข
จุดสังเกต! สัญญาณอาการ ลูกมีปัญหาทักษะด้านการอ่าน
เด็กวัย 3 – 4 ขวบ
- ลูกจำตัวอักษรได้น้อยกว่า 10 ตัว : ลูกไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของตัวอักษรได้
- ลูกไม่กล้าอ่านออกเสียง : ลูกเกิดความกลัวในการอ่านหนังสือแบบออกเสียง และกลัวการอ่านผิดมากๆ ทำให้เด็กไม่กล้า และไม่อยากอ่านหนังสือออกเสียง
- ลูกพูดน้อย หรือไม่อยากพูด : ลูกไม่อยากออกเสียง หรือพูดกับใคร ไม่แสดงความสนใจที่จะอยากเรียนรู้ด้านภาษา
เด็กวัย 4 – 5 ขวบ
- ลูกไม่สามารถแยกเสียงของแต่ละคนได้ : ไม่สามารถจดจำ หรือแยกแยะเสียงสูง – ต่ำ ของคนที่คุยด้วยได้
- ลูกจำชื่อตัวอักษรเป็นเวลานาน : ต้องใช้เวลานานกว่าลูกจะเรียนรู้ในการจดจำตัวอักษรได้ทั้งหมด
- ลูกแบ่งคำพยางค์ไม่เป็น : ลูกไม่สามารถสร้างคำ และประโยคที่สมบูรณ์ได้
- คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นคุยกับลูกบ่อยๆ : เพื่อสังเกตพัฒนาการ รวมทั้งปัญหาด้านการเรียนรู้ของลูกอย่างใกล้ชิด
เด็กวัย 5 – 5.5 ขวบ
- ลูกไม่สามารถพูด หรือสร้างคำที่เรียบง่ายได้ : บางครั้งลูกเลือกใช้คำพูดยากๆ ในการสร้างประโยค อาจทำให้สื่อความหมายในทางที่ผิดได้ และมักจะเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ
- ลูกไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก : สับสนในตัวอักษรภาษาอังกฤษ จนบางครั้งลูกอาจใช้สลับกัน
เด็กวัย 5.5 – 6 ขวบ
- ลูกไม่สามารถบอกถึงเสียงแรกของคำที่พูดออกมาได้ : ลูกมีปัญหาในการแยกแยะเสียงที่ถูกเปล่งออกมา แยกความแตกต่างของเสียงไม่ได้ ยิ่งทำให้ไม่เข้าใจความหมาย
- ลูกออกเสียงคำไม่ตรงกับตัวอักษร : ส่วนใหญ่มีปัญหาในการออกเสียงตัวอักษรที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป หรือคำที่พูดออกมานั้นอาจไม่มีความหมาย
- ลูกต้องใช้ความพยายามมาก เพื่อสะกดชื่อสมาชิกในครอบครัว และสัตว์เลี้ยง : ใช้เวลานานในการจำและสะกดชื่อ บางครั้งลูกก็สะกดชื่อผิด
เด็กวัย 6 – 7 ขวบ
- ลูกพยายามอ่านออกเสียงให้ตรงกับตัวอักษร : เด็กวัยนี้มักชอบการอ่านออกเสียง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีในพัฒนาการด้านการอ่าน ลูกจะค่อยๆสะกดคำ ทีละคำ เพื่อให้ออกเสียงตรงกับตัวอักษร
- ลูกไม่สามารถบอกว่าตัวเองอ่านคำไหนผิด : เมื่อลูกอ่านหนังสือ 1 ประโยค แล้วอ่านคำใดคำหนึ่งผิด พวกเขาจะไม่รู้ว่าจุดที่อ่านผิดคือจุดไหน
- ลูกไม่เข้าใจความหมายของคำที่อ่านออกเสียงไป : การที่ลูกอ่านหนังสือออกเป็นเรื่องดี แต่ถ้าลูกไม่เข้าใจความหมายของตัวอักษรนั้นว่าต้องการสื่ออะไรก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน
เด็กวัย 7 – 8 ขวบ
- ลูกพยายามอ่านออกเสียงให้ได้อย่างราบรื่น : เด็กจะมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการอ่านมาก โดยจะพยายามอ่านทุกคำให้ถูกต้องและไม่ตะกุกตะกัก
- ลูกไม่สามารถออกเสียงคำให้ถูกต้องทีละพยางค์ได้ : ลูกไม่สามารถออกเสียงคำในประโยคให้ถูกต้องทั้งประโยค
- เป็นวัยที่หลีกเลี่ยงการอ่านออกเสียงออกมาดัง ๆ : เด็กวัยนี้มักชอบการอ่านในใจ และไม่ชอบอ่านออกเสียงดังๆในที่สาธารณะ เพราะพวกเขาจะรู้สึกอายเมื่ออ่านผิด
เด็กวัย 8 – 9 ขวบ
- ลูกพยายามแสดงความคิดหลักของตนเอง : เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่จะมีความคิดเป็นของตัวเอง และพยายามแสดงมันออกมาในกลุ่มเพื่อน
- ลูกมักสะกดคำที่เคยเรียนไปแล้วผิด : ลูกได้เรียนรู้คำต่างๆเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งคำที่สะกดยากๆ จึงอาจสับสนกับคำที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ลูกมักชอบสะกดคำผิดบ่อยๆ
- ลูกมักจะหลีกเลี่ยงการอ่านข้อความที่ยาวขึ้น : ลูกไม่ชอบอ่านประโยคที่มีความยาวมากๆ เช่น ความเรียง , นิยาย เป็นต้น
ปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมด หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมของลูก 2 อย่าง หรือ มากกว่านั้น แสดงว่า มันคือการเริ่มต้นของสัญญาณที่บอกว่าลูกเข้าข่ายมีปัญหาด้านการอ่านหนังสือ
4 วิธีแก้ปัญหา เมื่อลูกเข้าข่ายมีปัญหาด้านการอ่านหนังสือ
1. พาลูกไปพบแพทย์เฉพาะทาง
ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การปรึกษาแพทย์กุมารเวชศาสตร์ ด้านพัฒนาการของเด็ก คุณหมอจะวิเคราะห์ และประเมินศักยภาพในการอ่านของเด็กๆ เพื่อหาจุดที่บกพร่อง จากนั้นจึงทำการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับรู้เฉพาะทางด้านการอ่านหนังสือ , นักจิตวิทยาและนักบำบัดทุกคน ได้ร่วมมือกันเพื่อหาสาเหตุของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับพัฒนาการในการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ลูกเป็นโรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) หรือ โรคความบกพร่องทางทักษะการเรียนรู้
ดังนั้น การระบุสาเหตุหลักของปัญหาในการอ่านของเด็กๆ จะช่วยให้คุณหมอสามารถหาวิธีการรักษาที่ตรงจุด และ มีความเหมาะสมกับเด็กวัยต่างๆ นั่นเอง
2. ทำทุกที่ให้เหมาะแก่การเรียนรู้ของเด็ก
ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านได้ให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ในการสร้างสภาพแวดล้อมให้เเหมาะแก่การเรียนรู้สำหรับเด็กอยู่เสมอ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับสถานที่ ทำให้กล้าแสดงออกได้เต็มที่มากขึ้น
3. อ่านออกเสียงให้ลูกฟังอยู่เสมอ
คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านหนังสือออกเสียงให้เด็ก ๆ ฟังอย่างสม่ำเสมอ และ ต้องทำให้การอ่านสนุก และ ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทำร่วมกันนั้น เช่น การเล่านิทาาน และ สวมบทบาทสมมุติเป็นตัวละคร การเล่นกับลูกบ่อยๆ จะช่วยให้ลูกมีจินตนาการและพัฒนาศักยภาพของลูกได้ด้วย
4. ทำให้ลูกรู้สึกสนุก เมื่อได้อ่านหนังสือ
คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นซื้อหนังสือที่มีเนื้อหาดี อ่านสนุก ภาพสวยเสริมจินตนาการ ซื้อเก็บไว้ให้ลูกได้อ่าน รวมทั้งการทำให้ลูกรู้สึกว่าได้มีส่วนร่วม และ สามารถโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ได้ รวมทั้งไม่ควรไปรบกวนการอ่านของลูกมากเกินไป ควรให้ลูกได้มีพื้นที่ (space) ได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเองบ้างในบางคราว
===============================
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆและรูปภาพ จาก :
เว็บไซต์ parentsone.com
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศุนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ สารอาหารบำรุงสมอง
ช่วยเพิ่มสมาธิ เพิ่มความจำ เสริมสร้างการเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ มีทักษะด้านการอ่าน เขียน คำนวณ ดีขึ้น
√ ลดความเครียด ปรับอารมณ์ และ ทำให้ผลการเรียน ดีขึ้นได้