เด็กสมาธิไม่ดี....จะเรียนดีได้อย่างไร..?
ทําไมเด็กจึงเกิดสมาธิสั้น ?
โรคสมาธิสั้น ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่า สาเหตุคืออะไร แต่ก็มีงานวิจัยจํานวนมากในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมาชี้ว่า สาเหตุมาจาก
> ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) ฯลฯ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างสมาธิ
> ความผิดปกติในการทํางานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และ การตื่นตัว ซึ่งอยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
> ปัจจัยด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยพบว่า เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นสมาธิสั้น จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ ได้มากกว่าเด็กอื่น ๆ ถึง 4 เท่า แต่ก็ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าลูกคนไหนจะเป็นหรือไม่เป็น ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะศึกษาค้นคว้าว่า การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคนี้ว่า อยู่ที่ความผิดปกติของยีนตัวใด และ ถ่ายทอดแบบไหน ถ้าได้คําตอบนี้ จะทําให้เราเข้าใจโรคนี้มากขึ้น
> นอกจากนี้ การที่สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เช่น พ่อ - แม่ เสพสารเสพติด ติดเหล้า บุหรี่ ก็มีรายงานว่าเป็นสาเหตุได้เช่นกัน
สิ่งสําคัญที่จะต้องทําความเข้าใจคือ สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือ ปล่อยปละละเลยจนเกินไป และ ไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทํางานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก มีปัญหาบางอย่างจนทําให้สมาธิไม่ดี อยู่ไม่นิ่ง ถึงแม้ว่าเด็กจะพยายามแล้ว ก็ทําได้ไม่ดีตามที่คุณพ่อคุณแม่คาดหวังไว้
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะช่วยอะไรไม่ได้เลย เพราะเราสามารถปรับวิธีการดูแล และ เพิ่มการฝึกฝนเด็กให้มีสมาธิดีขึ้นได้ สามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น และ ปัจจุบันยังมียาที่ช่วยเพิ่มสมาธิอีกด้วย
ช่วยลูกเพิ่มสมาธิได้อย่างไร ?
ถ้าเด็กสมาธิสั้น ทําอะไรก็มักไม่สําเร็จ และ ส่งผลเสียมากมาย ทั้งต่อตัวเด็กเอง และ คนรอบข้าง
ดังนั้นการช่วยเหลือเด็กให้มีสมาธิ จึงสําคัญมาก แนวทางเพิ่มสมาธิจะทําควบคู่กัน 3 แนวทาง คือ
1) การใช้ยาเพิ่มสมาธิ
2) การฝึกฝนการควบคุมตัวเอง
3) การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
การใช้ยาเพิ่มสมาธิ ในปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานการรักษา ยาที่ใช้มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ การเรียนดีขึ้น ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้น
ในการฝึกฝนการควบคุมตนเองของเด็ก พ่อแม่ควรจัดกิจวัตรประจําวันของเด็ก ให้เป็นไปอย่างสมํ่าเสมอตามเวลาที่กําหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาตื่นนอน เวลารับประทานอาหาร อาบนํ้า ไปโรงเรียน ทําการบ้าน หรือ เข้านอน
นอกจากนี้ ควรฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานที่กําลังทําได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที โดยเน้นให้เด็กนั่งอยู่กับที่ ทํางานจนเสร็จ โดยไม่ลุกเดินไปไหน ซึ่งในช่วงแรกพ่อแม่ควรควบคุมอย่างใกล้ชิด และคอยช่วยเหลือ เพื่อให้เด็กทําได้สําเร็จ
การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ถือว่ามีความสําคัญมาก โดยสิ่งแวดล้อมต้องไม่กระตุ้นเด็กมากจนเกินไป ควรจัดเก็บของเล่นต่างๆ เข้าที่ ให้พ้นจากสายตาเด็ก โดยใส่ตู้ ลิ้นชัก หรือ ตะกร้า เพื่อไม่ให้เด็กวอกแวก หรือ เปลี่ยนความสนใจง่าย เวลาทําการบ้าน ควรจัดมุมที่สงบ ห้องต้องไม่กว้างเกินไป ไม่มีคนเดินไปมาตลอด และ ไม่ควรเปิดทีวีไปด้วย ทําการบ้านไปด้วยพร้อมกัน
การเสริมสร้างความภูมิใจแก่เด็กสมาธิสั้น มีความสําคัญอย่างไร ?
เด็กสมาธิสั้นมักจะทํางานไม่ค่อยสําเร็จ ทําให้ถูกดุถูกว่าเป็นประจํา จนหมดความมั่นใจ และมีภาพลักษณ์ของตนเองที่ไม่ค่อยดีนัก มองว่าตนเองเป็นเด็กไม่ดี ทําอะไรก็ไม่สําเร็จ ทําให้เริ่มขาดแรงจูงใจในการเรียน ไม่อยากเรียน ไม่ทําการบ้าน และ เริ่มเสาะแสวงหาช่องทางอื่นๆ ที่จะเสริมความมั่นใจอย่างไม่เหมาะสม เช่น แกล้งเพื่อน เถียงพ่อแม่และคุณครู ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ และในที่สุดก็กลายเป็น เด็กเกเร ก้าวร้าว รุนแรง
การสร้างเสริมความภูมิใจให้เด็ก จึงมีความสําคัญมาก ที่จะดึงเขากลับสู่เส้นทางที่เหมาะสม สามารถทําได้โดยเริ่มจาก การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเด็กเอง ให้มีภาพการทํางานที่สําเร็จเสร็จตามมอบหมาย โดยต้องคอยประกบ ให้คําแนะนํา และ ช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดในช่วงแรก แบ่งงานออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ และติดตามเป็นระยะ ให้กําลังใจ ให้คําชม และ ให้รางวัลตามความเหมาะสม
เมื่อเด็กควบคุมตัวเองไม่ได้ ก่อความเสียหาย ไม่ควรตําหนิ ว่าเด็กนิสัยไม่ดี แต่ควรจะเตือน และ สอนอย่างสมํ่าเสมอ ว่าอะไรไม่เหมาะสม และสิ่งที่ควรทําคืออะไร เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แก้ไขด้วยตนเอง ถ้าเห็นว่าควรทําโทษ ก็ทําโทษอย่างเหมาะสม ไม่ใช้อารมณ์และความรุนแรง
นอกจากนี้ ควรมองหาจุดเด่น และ ความสามารถของเด็กในด้านอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความภาคภูมิใจ เช่น ดนตรี กีฬา หรือ ศิลปะ หรือ ส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกในสิ่งที่ดีๆ เช่น มีนํ้าใจ ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยคุณครูแจกสมุด ลบกระดาน หรือ งานมอบหมายพิเศษอื่นๆ
โดยสรุปคือ พยายามเพ่งเล็งหาสิ่งที่ดีในตัวเด็ก และ แสดงให้เขารู้ว่า เราเห็นและชื่นชมในสิ่งที่เขามี ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่คอยจับผิด หรือตําหนิในสิ่งที่เขาทําไม่ดี แต่ควรแนะนําว่าเขาควรแก้ไขใหม่อย่างไร ควรช่วยเหลือสร้างภาพลักษณ์แห่งความสําเร็จให้มีในตัวเด็ก สิ่งเหล่านี้ จะสร้างความภูมิใจในตัวเด็ก และเป็นจุดเริ่มต้นที่เด็กจะพยายามแก้ไข และควบคุมตนเองในหนทางที่เหมาะสม
สมาธิสั้น ไม่ใช่ปัญหาสําคัญ แต่สําคัญที่ว่า จัดการกับ สมาธิสั้น ได้เหมาะสมหรือไม่มากกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :
ศุนย์วิชาการแฮปปี้โฮม
Happy Home Academy
==================================
♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้ ให้ลูกน้อย
เรียนออนไลน์แบบมีสมาธิ ไม่เครียด ด้วย "อเลอไทด์"
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
√ เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
√ ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น
√ ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"