ไขปัญหาที่หลายคนอยากรู้ สมาธิสั้น หายได้หรือไม่..??
เด็กสมาธิสั้นจะหายได้หรือไม่..??
หากลูกมีสมาธิสั้นแล้วไม่ได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง จะเกิดปัญหาลูกโซ่ เช่น ในระยะแรกเกิดปัญหาในการเรียน หากทิ้งไว้นานจะเกิดปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม ตามมาเป็นระลอก ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เด็กเกิดปัญหาสุขภาพจิต แต่ถ้าหากเด็กมีปัญหาความรุนแรงอยู่บ้างตามธรรมชาติของเด็กสมาธิสั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงขึ้น
ผลลัพธ์คือ เด็กจะมีอารมณ์ซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน ประเดี๋ยวดีประเดี๋ยวร้าย มีภาพลักษณ์ของตนเองในเชิงลบต่อต้าน เกเร ก้าวร้าว รุนแรง โกหก ลักขโมย หนีออกจากบ้าน ผูกพันอยู่กับการใช้ยาเสพย์ติด และการทำผิดกฎหมาย
ในความเป็นจริงแล้ว การช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป บุคคลรอบตัวเด็กโดยเฉพาะพ่อแม่และครูจะต้องเข้าใจว่าเด็กมิได้แกล้งทำ แต่เป็นเพราะกลไกทางสมองที่ทำให้การควบคุมตัวเองของเด็ก ไม่เหมือนเด็กอื่น
พ่อแม่และครูจะต้องไม่โกรธเด็ก และ จะต้องพยายามนำเรื่องของ ทาน ศีล และ ภาวนามาใช้ทุกวัน จึงจะไม่เครียด และจะเกิดความเมตตาต่อเด็ก สามารถช่วยเหลือเด็กได้ถูกทาง จนประสบความสำเร็จในทางการเรียน และ พฤติกรรม คุณหมอจะงดยา และเด็กจะสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลรอบตัวได้อย่างเป็นสุข และอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมได้เช่นเดียวกัน นั่นคือลูกหายจากการมีอาการสมาธิสั้นนั่นเอง
ทางการแพทย์ระบุวิธีช่วยเหลือดังนี้
1. รับประทานยา ถ้าเด็กควบคุมตนเองไม่ได้ รบกวนผู้อื่นและไม่สามารถรับผิดชอบในกิจวัตรประจำวันและการเรียนได้ ถือว่าอาการเป็นค่อนข้างมาก จะต้องรับประทานยาช่วย ยามีความปลอดภัยสำหรับเด็กคามสมควร ยกเว้นในกรณีที่ภายในครอบครัวมีปัญหาทางด้าน "โรคหัวใจ" และ เมื่อเด็กรับประทานแล้วมีการหายใจผิดปกติ ต้องรีบกลับไปพบแพทย์ทันทีแต่กรณีเช่นนี้มีน้อยมากๆ
> ผลข้างเคียงคือ การเบื่ออาหาร, คลื่นไส้, รับประทานได้น้อยลง หากเมื่อรับประทานไปได้ระยะหนึ่ง ยังไม่หายควรพบแพทย์ หรือ หากเด็กมีอาการเลวลงกว่าเดิม ต้องรีบพบแพทย์ทันทีเช่นกัน แต่กรณีเช่นนี้มีน้อยเช่นกัน
> ในกรณีที่เด็กรับประทานยาแล้วได้ผลดี ทำให้รับผิดชอบการเรียนและการทำกิจวัตรประจำวัน ผลการเรียนดีขึ้น จะต้องรับประทานยาทุกวัน
> จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นที่เก่งและชำนาญที่สุดในประเทศไทยบอกว่า อาการสมาธิสั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา มิใช่เกิดขึ้นเฉพาะวันไปโรงเรียน ไม่เกิดขึ้นในวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดอื่นๆ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เด็กจะต้องรับประทานยาทุกวัน เพื่อจะได้ควบคุมตนเองได้
> ในขณะเดียวกันพ่อแม่จะสามารถปรับพฤติกรรมตนเองได้และสามารถฝึกฝนให้ลูกรู้จักวิธีอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นรับผิดชอบต่อตนเองได้ ในที่สุด ทั้งการเรียนและความประพฤติของเด็ก จะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ก่อนเป็นวัยรุ่น แพทย์จะงดยานั่นคือหายนั่นเอง
แต่ในการรับประทานยา มีอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่มาขวางกั้น อุปสรรคเหล่านี้คือ
เมื่อคุณแม่พาลูกไปพบแพทย์และแพทย์ไม่สามารถให้ความมั่นใจในเรื่องยา รวมทั้งพูดน้อย ไม่พูดให้กำลังใจคุณแม่เนื่องจากแพทย์มีน้อยแต่คนไข้มีจำนวน "มหาศาล" ต้องคอยคิวเป็นเวลาถึง 7-8 เดือน แพทย์จึงไม่มีเวลาและมักเหลือบมองนาฬิกาข้อมือ คุณแม่จึง "เกรงใจ ไม่กล้าพูด หมดกำลังใจและไม่มั่นใจในการให้ลูกรับประทานยา"
คุณแม่เป็นจำนวนมาก เมื่อกลับไปถึงบ้านพร้อมยา จึงเชื่อ "คำต่อต้าน ยา" ของสามี คุณปู่คุณย่าและคุณตาคุณยาย ซึ่งไม่ต้องการให้ลูกหลานรับประทานยา เพราะเกรงว่า "ยาจะกดประสาท" เนื่องจากคิดว่ายาจะมีพิษทำลายเด็กในรูปแบบต่างๆ จึงมักไม่ให้ลูกหลานรับประทานยา โดยที่แพทย์ไม่ทราบ และคุณแม่จะไม่ยอมไปพบแพทย์ตามนัด เด็กจึงหมดโอกาสหาย เพราะคุณแม่ไม่สามารถปรับพฤติกรรมตนเอง และปรับพฤติกรรมลูกได้ เพราะเด็กไม่ยอม เด็กจึงยังคงถูกทำร้ายจิตใจอยู่เสมอ ซึ่งมีผลให้อาการพัฒนามากขึ้น มีอาการทางจิตเวช ในที่สุดเด็กจะแย่และต้องรับประทานยาทางจิตเวชไปนานแสนนาน วิธีการช่วยเหลือจะยุ่งยากและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
การที่แพทย์ให้ยาที่ออกฤทธิ์ในช่วงสั้น ทำให้เด็กต้องนำยาไปรับประทานหลังอาหารกลางวันอีกครั้งหนึ่งที่โรงเรียน เด็กไม่สามารถรับประทานได้ด้วยตนเองเพราะมักจะลืม คุณแม่จึงต้องขอร้องคุณครูประจำชั้น ให้ช่วยให้ยามื้อกลางวัน แต่คุณครูมักลืม เพราะมีภาระที่ต้องดูแลเด็กทั้งห้องซึ่งมีจำนวน 40-50 คน ซึ่งน่าเห็นใจมาก เมื่อนึกขึ้นได้ จึงมักใช้เพื่อนร่วมห้องของเด็ก ให้ไปหยิบยา เท่าที่ทราบจากผู้ปกครองและตัวเด็กเอง ครูจำนวนตามสมควรที่อยู่ในอารมณ์เครียด มักเผลอใช้คำพูดว่า
"นี่เธอ.....ช่วยไปหยิบยาแก้บ้าในลิ้นชักครู มาให้เพื่อนเธอกินหน่อย จะได้หายบ้าเสียที"
เด็กสมาธิสั้นที่รับประทานยาขนานแรกที่โรงเรียน จึงมักเป็นที่ดูถูกดูแคลนของเด็กคนอื่นในโรงเรียน บางครั้งมีเรื่องกันจนถึงขั้นชกต่อย แต่ในทุกกรณีเด็กสมาธิสั้นจะมี "ความทุกข์จากการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระยะสั้น" เพราะอายเพื่อน และ มักต่อต้านการรับประทานยา ทิ้งได้เป็นทิ้ง และ ลุยเพื่อนที่ล้อเยาะเย้ยเรื่องการรับประทานยา
แต่มีพ่อแม่จำนวนมากที่ไม่ทราบว่า มียาตัวนี้เพราะแพทย์มักไม่ยอมจ่ายให้ เนื่องจากกลัวการครหาว่า รู้เห็นเป็นใจกับบริษัทยา เด็กสมาธิสั้นไม่ว่าจะจนหรือรวยจำนวนมากจึงหมดโอกาส พ่อแม่เหล่านี้มีมาก โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ยากจนและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ความรุนแรงในสังคมจึงเกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะเด็กที่ขาดโอกาสเหล่านี้ ดังจะเห็นได้จากข่าวประจำวันในหน้าหนังสือพิมพ์ คนที่ทำผิดกฎหมายมักเป็นคนจนและมักขาดการศึกษา ขาดโอกาสในเรื่องปัจจัย 4 มาตั้งแต่แรกเกิด ผลที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เป็นที่ประจักษ์และรับรู้ของหน่วยงานภาครัฐว่า ความต้องการของพ่อแม่และเด็ก ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นความสำคัญ "หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนัก" ควรที่จะต้องพิจารณาและ "จัดทำแผนงานช่วยเหลือ ให้เด็กเหล่านี้ได้รับโอกาสบ้าง ปัญหาความรุนแรงและอาชญากรรมตามข่าว มักเกิดจากเด็กสมาธิสั้นที่ยากจนเป็นส่วนใหญ่" เรื่องเด็กสมาธิสั้น ควรเป็นปัญหาระดับชาติ มิใช่เป็นเรื่องเล่นๆ
เด็กสมาธิสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พ่อแม่มีฐานะยากจน เมื่อเติบโตขึ้น จะกลายเป็นเด็กซิ่ง เด็กแว้น เด็กเสพยา และประพฤติผิดกฎหมายทุกรูปแบบ สร้างความรุนแรงให้สังคมอย่างต่อเนื่อง สมควรที่จะได้รับยาที่ดีและฟรี "ใส่ปาก" ทุกวัน เพราะประหยัดกว่าและดีกว่าที่หน่วยงานจะเที่ยวไล่จับ ไล่ตรวจทุกวันให้เสียงบประมาณและกำลังคน แถมยังเสียค่าโฆษณาทางทีวีอีกว่า "เด็กดีในวันนี้ คือผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า" เด็กตามข้างต้นเหล่านี้จะหัวเราะจนงอหายเพราะ "ผมไม่มีโอกาสเป็นเด็กดีครับ"
เป็นเรื่องน่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในสถานพินิจแห่งหนึ่งเป็น เด็กสมาธิสั้น และต้องเข้ารับการบำบัดเพื่อรักษาการติดยาเสพติด การประพฤติผิดกฎหมาย และการที่มีอารมณ์ซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน เด็กที่รับประทานยาออกฤทธิ์ช่วงสั้น หมดโอกาสได้รับยาตามข้างต้น จึงกลายเป็น "เด็กอมทุกข์และขาดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง" ซึ่งเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้ อาการเด็กพัฒนาไปสู่ความก้าวร้าวรุนแรง และ มีอาการซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน เมื่อเติบโตขึ้นจะกลายเป็นเด็กแว้น เด็กซิ่ง และ เด็กเสพยา
ในที่สุด เด็ก ครอบครัวและสังคม ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเช่นนี้ เด็กจึงต่อต้านการรับประทานยาที่โรงเรียน น่าสงสารที่สุด เมื่อเด็กเหล่านี้มักพูดกับคนที่เขาคิดว่าจะช่วยเขาได้ว่า "ผมต้องการกินยาที่ทำให้ผมดีขึ้นและหาย โดยที่เพื่อนและครูไม่รู้ครับ"
2. พ่อแม่ต้องปรับพฤติกรรมตนเอง นั่นคือ ต้องให้ความรัก ความเข้าใจและความอบอุ่น รวมทั้งปรับเปลี่ยนทัศนะคติของตนเองที่มีต่อลูก ช่วยเหลือประคับประคองลูก ให้เกิดความรักและความภาคภูมิใจในตนเองให้ได้ นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก
3. ปรับพฤติกรรมเด็ก ให้มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น โดยไม่ต้องตี ดุ ด่า ว่ากล่าว หรือ พูดจาเปรียบเทียบ ประชดประชัน จนลูกเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง และกลายเป็นเด็กก้าวร้าว หรือ เกิดอาการซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน ต้องใช้ยาอีกประเภทตลอดไป นี่คือ ยาพิษของเด็ก
เมื่อพ่อแม่ทำตามข้อ 1 และโชคดีลูกไม่มีอุปสรรคตามข้างต้น ปฏิบัติตามข้อ 2 และ ข้อ 3 อย่างสม่ำเสมอ เด็กจะมีอาการดีขึ้น และเมื่อเป็นวัยรุ่นอาการต่าง ๆ จะหายไปได้ในที่สุด
เด็กที่หายมีจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดรอบตัวเด็ก น่าจะทำให้จำนวนเด็กที่หายมีเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ได้ไม่ยาก แต่จากประสบการณ์ของพ่อแม่ที่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือลูกกลับพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้อ 2 และ ข้อ 3 ข้างต้นทำได้ยาก เพราะตนเองก็เครียด ลูกก็เครียด ฝึกกันไป ทำกันไปทั้งๆ ที่เครียด ทำได้เต็มที่ประมาณสองสัปดาห์ หลังจากนั้นก็สติแตกเหมือนเช่นเดิมทุกครั้ง
พวกเราคือผู้มีประสบการณ์ตรง จึงเห็นว่า ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมจากที่ทางการแพทย์ระบุดังต่อไปนี้อย่างไม่มีทางเลือก ทุกคนจึงจะประสบความสำเร็จได้
1. ปรับเปลี่ยน "จิตใต้สำนึก" ให้รู้ว่าต้องแก้ไขตนเองเสมอ ไม่แก้ไขคนอื่นหรือเห็นว่าคนอื่นไม่ดี แต่ตนเองเป็นคนดี ทุกคนเป็นไปตามธรรมชาติทั้งสิ้น ทุกคนเป็นมนุษย์ที่ดีทั้งสิ้น โดยเฉพาะลูก
2. ปลูกฝังจิตใต้สำนึกตนเองให้หันเข้าหาวัด นำธรรมะของพระพุทธเจ้า(หรือของพระศาสดา) มาใช้ แค่ธรรมะขั้นพื้นฐานเท่านั้นเอง นั่นคือการ ทำบุญ ซึ่งประกอบด้วย
-การนำศีล 5 มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
4. พาลูกทำ "กิจกรรมบำบัด" เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองทางด้านการรับรู้หรือเอสไอ (อ่าน "การทำกิจกรรมบำบัดหรือเอสไอ" ) หรือให้ลูก "เล่นแบบไทย"ทุกวัน (อ่าน "การเล่นแบบไทยกระคุ้นสมองเด็ก" ) เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง
5. ให้ลูกรับประทานอาหารที่บำรุงสมองเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขยะ
6. ชวนลูกอยู่ในธรรมชาติที่มีต้นไม้ สอนลูกให้หายใจเข้ายาวๆ และ ปล่อยออกยาวๆ จะทำให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์ มีผลทให้เลือดดี เมื่อไหลเวียนไปตามอวัยวะต่างๆ และ สมอง การทำงานของอวัยวะและสมองจะพัฒนามากขึ้น เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน ทั้งพ่อแม่จะไม่เครียดเพราะรู้ตัวว่ากำลังทำบุญอันยิ่งใหญ่ โดยการช่วยเหลือลูกนั่นเอง
ความรักความเมตตาต่อลูก และเพื่อนมนุษย์และสัตว์โลก จะเกิดขึ้น
ปรึกษาปัญหาเด็กแอลดี/สมาธิสั้น
ปรึกษาปัญหาเด็กแอลดี/สมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์
Visitors: 412,448