ลูกหัวช้า จะทำอย่างไร..? จะช่วยให้ลูกเป็นเลิศ


ความอดทนและความนุ่มนวล เป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณสอนเด็กหัวช้า แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะรู้สึกอาย ควรพยายามช่วยดึงศักยภาพที่แท้จริงในตัวลูกออกมาอย่างเต็มที่ "อย่าไปย้ำว่าลูกหัวช้า ช่วยลูกพัฒนาดีกว่า"

การช่วยเด็กหัวช้า หาแนวทางการเรียนรู้ที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญ  เด็กแต่ละคนก็เรียนรู้ได้ช้าเร็ว และ มีความถนัดในแต่ละด้านต่างกัน เด็กบางคนอ่านหนังสือได้ดี ในขณะที่บางคนอาจจะถนัดคิดเลข ซึ่งไม่ได้บ่งบอกว่าเด็กคนหนึ่งฉลาดกว่าเด็กอีกคน

เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการทางการเรียนรู้  ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านการเคลื่อนไหว ความเข้าใจ และ ความจำ ช้ากว่าเด็กคนอื่น ซึ่งเราเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า “เด็กหัวช้า” โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบคำนี้เลย  คิดว่าลำพังการเรียกเด็กด้วยคำต่าง ๆ ก็แย่พออยู่แล้ว ไม่ต้องพูดถึงคำว่า “ช้า” ซึ่งเป็นคำที่ลดคุณค่าในตัวเด็กลง และยังไม่นับการบอกเขาว่า เขาไม่เก่งเหมือนเด็กคนอื่น ๆ อีก

ทั้งนี้ทั้งนั้น มีเด็กจำนวนหนึ่งที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการเรียนมากกว่าเด็กอื่น ๆ เพื่อที่จะทำให้เขาเติบโตและเรียนรู้ได้ทันคนอื่น ๆ เราอาจสรุปว่า เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเหล่านี้เป็นเด็กหัวช้า แต่ควรระลึกไว้เสมอว่า ถ้าเราบอกคนๆ หนึ่งว่าเขาเป็นเช่นนั้นเรื่อยๆ สักวันเขาก็จะกลายเป็นแบบนั้นจริง ๆ


จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหัวช้า?

พ่อแม่และคุณครู อาจไม่สามารถรู้ได้ว่า  จริงๆ แล้ว เด็กหัวช้า เป็นเพราะเด็กไม่สามารถตามคนอื่นๆ หรือ เด็กไม่อยากตามคนอื่นๆ กันแน่ เด็กที่ถูกเรียกว่า “เด็กหัวช้า” จะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  √ มีพัฒนาการในช่วงแบเบาะ ช้ากว่าเด็กทั่วไป เช่น เริ่มคลานช้า เดินช้า พูดช้า ตบมือ กระโดด สบตาช้ากว่าเด็กอื่น ๆ

  √ มีปัญหาด้านสมาธิ เด็กทุกคนมีสมาธิสั้นเป็นปกติ  แต่เด็กที่ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานกว่า 2-3 นาที  จำไม่ได้ว่าก่อนหน้านั้นกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ไม่สามารถทำสิ่งนั้นซ้ำได้เองโดยไม่ต้องให้บอก  อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ และ ต้องใช้การสอนแบบพิเศษ

   √ ไม่สามารถทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ และ จำสิ่งที่เรียนมาไม่ได้  เป็นไปได้ว่า ลูกอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้

   √ ชอบปลีกวิเวก หรือ เข้าสังคมไม่เป็น เด็กหัวช้า มักจะ

      1)  รู้ตัวว่าตัวเองเรียนรู้ช้ากว่าเพื่อน  หรือ  

       2)  ถูกครู และ/หรือ เพื่อนบอกว่าตัวเอง “ช้า”  ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกแปลกแยก บั่นทอนความมั่นใจ และอาจทำให้เด็กกลายเป็นเด็กมีปัญหาได้  แต่แทนที่เราจะมานั่งเครียดเรื่องนี้ เราควรหาวิธีที่จะแก้ไขข้อบกพร่องนี้ดีกว่า


หน้าที่ของพ่อ-แม่

  • ถ้าลูกมีปัญหาด้านการเรียนรู้ อย่าพยายามอธิบายหรือหลบ ๆ ซ่อน ๆ  ไม่มีอะไรต้องอาย อย่าทำให้ลูกรู้สึกด้อย ไม่สำคัญ และ ไม่เป็นที่รัก

  • ถ้าลูกเป็นเด็กหัวช้า พยายามลดจังหวะการสอนลง อดทนและให้เวลาเขา เพื่อให้เขาได้พัฒนาอย่างเต็มที่ หาอุปกรณ์มาช่วยเสริมการเรียน และ จัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิตรต่อการเรียนรู้ที่สุด


จะช่วยอะไรลูกได้บ้าง?

  จัดที่อ่านหนังสือ/ทำงาน เงียบๆ ให้  เพราะสิ่งรบกวนเป็นอุปสรรคหลักของการเรียนรู้

  ทำให้ชั่วโมงทำการบ้านสั้นลง ให้เหมาะกับช่วงสมาธิของลูก

  ทำตัวให้เข้าถึงได้ ช่วยลูกทำการบ้าน แต่ไม่ได้หมายถึงต้องทำการบ้านให้ลูก ช่วยแนะนำ และ ให้ลูกทำแบบฝึกหัดคล้าย ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง ให้โจทย์เพิ่ม

  ถามคำถามเช่น “คำนั้นแปลว่าอะไร ?”   “เข้าใจมั้ยว่าสิ่งนั้นคืออะไร ?”   “ทำไมถึงเลือกคำตอบนั้น ?”  เพื่อกระตุ้นให้ลูกคิด

  ♥ อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

  อดทนและสม่ำเสมอ

  ♥ อย่าให้ลูกยอมแพ้ ไม่ว่าจะกับ การบ้านหรือตัวเอง ให้ลูกพักบ้างถ้าจำเป็น และ กลับมาทำงานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ

  ♥ อย่าปกป้องลูกมากเกินไป การเรียกลูกว่า “ช้า” จะยิ่งทำให้เขาช้ากว่าเดิม อย่าบอกเขาว่า เขาไม่มีความสามารถ แต่พยายามช่วยเขาให้ทำสำเร็จ

  คอยสนับสนุน พูดคุยกับคุณครู อย่าปล่อยให้ลูกตามหลังจนตามไม่ทัน


ความเข้าใจ และ การยอมรับในตัวลูก คอยให้กำลังใจลูก ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะ หากเรายังไม่เข้าใจ และ คอยให้กำลังใจลูกแล้วใครจะเข้าใจ

 

---------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจาก

th.theasianparent.com

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain

สนับสนุนโดย อเลอไทด์  สารอาหารบำรุงสมอง 

เพิ่มสมาธิ เสริมสร้างความจำ และ ความสามารถในการเรียนรู้ ให้ดีขึ้นได้

ช่วยลดความเครียด ปรับอารมณ์ และ ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น

 

ปรึกษาปัญหาเด็กสมาธิสั้น เด็กแอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์
โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 394,139