ทำอย่างไร เมื่อเด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ ?

ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ นักเรียน ป.1-ป.6 สังกัด กทม. มีปัญหากว่า 2 หมื่นคน

พบเด็กนักเรียน ป.1-ป.6 สังกัด กทม. มีปัญหาเด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ กว่า 2 หมื่นคน

 

ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

จากข้อมูลสำนักการศึกษารายงาน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ของโรงเรียนสังกัด กทม.ในปี 2561 จำนวน 173,837 คน มีเด็กนักเรียนที่มีปัญหาการอ่าน จำนวน 23,015 คน คิดเป็นร้อยละ 13.24

นายเกรียงยศ สุดลาภา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึง ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ ว่า ในปี 2562 กรุงเทพมหานคร จะเน้นพัฒนาเรื่องการจัดการเรียนการสอนเฉพาะด้านการอ่านภาษาไทย เพราะโรงเรียนสังกัด กทม.ยังมีเด็กนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ อยู่จำนวนหนึ่ง

สำหรับ ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ เบื้องต้นพบอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนด้านการอ่าน การเขียน ของโรงเรียน กทม.

  1. เรื่องการจัดจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30-40 คน ซึ่งมากเกินไป ที่ครูจะดูแลเด็กได้ทั่วถึง
  2. ขาดครูเอกภาษาไทย  บางโรงเรียนครูไม่ได้จบเอกภาษาไทย ไม่มีความชำนาญมากพอที่จะสอนให้เด็กอ่านเขียนได้
  3. นักเรียนมีความผิดปกติทางการเรียน  มีปัญหาการจำ และ เขียนตัวอักษร

นอกจากนี้ยังมี นักเรียนที่ขาดเรียนบ่อย เนื่องจากปัญหาครอบครัว ผู้ปกครองก็มีส่วน ด้วยสภาพสังคมและปัญหาครอบครัวไม่ได้ดูแลเอาใจใส่เด็กทำการบ้าน หรือ ส่งเสริมการอ่าน การเขียน ผลักภาระให้ครูและโรงเรียนดูแล

 ทำอย่างไรเมื่อเด็กอ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้?

คุณจะทำยังไง ถ้าลูกอยู่ ป.2 หรือ ป.3 แล้วยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และ ยังสอบตกแทบทุกวิชา ?

ก่อนจะอ่านต่อ เรามาทำความรู้จักกับ โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) หรือ โรคความบกพร่องทางทักษะการเรียนรู้ กันสักนิด ปัญหาเกิดจากเด็กมี พัฒนาการด้านการพูดช้า เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ ได้ช้า มีปัญหาในการจดจำและเขียนตัวอักษร

หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ อาการอาจหนักขึ้น ถึงขั้น อ่านไม่ได้ เขียนไม่ถูก สะกดคำศัพท์ผิด อ่านและเขียนตก ๆ หล่น ๆ

นอกจากนี้ เด็กจะไม่สามารถบอกเวลา และ ความหมายของคำได้ เมื่อเด็กวัยประถมมีปัญหาเรื่องการอ่านเขียน เขาก็จะไม่สามารถเข้าใจบทเรียนในวิชาต่างๆ ได้ และ เมื่อเด็กเครียดและไม่มีใครเข้าใจ ก็มีแนวโน้มที่เขาจะกลายเป็นเด็กมีปัญหา ดังนั้น ผู้ปกครองควรจะเอาใจใส่ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะสายเกินไป

 

แล้วเราควรจะทำอย่างไร เมื่อลูกอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ?  เรามีข้อแนะนำมาฝากค่ะ

 

√ อย่าลงโทษจนกว่าจะรู้สาเหตุ

 

การลงโทษเด็กเพราะเขาอ่านเขียนไม่ได้ โดยไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด ไม่ช่วยแก้ปัญหา ผู้ปกครองควรสังเกตผลการเรียนของลูก  และ คุยกับคุณครูเป็นระยะๆ อย่ารอจนโรงเรียนส่งจดหมายเชิญคุณพ่อคุณแม่ไปพบ  คุยกับคุณครูเรื่องพัฒนาการของลูก และจัดการกับสถานการณ์เมื่อรู้ต้นตอของปัญหา อย่าดุลูกต่อหน้าคนอื่น เพราะการดุด่า รังแต่จะทำให้ลูกเสียความมั่นใจ และ ไม่อยากเรียนรู้

 

√ รักและให้กำลังใจลูก

 

ยอมรับจุดอ่อนของลูก คุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรโกรธ แสดงความผิดหวัง หรือ บั่นทอนกำลังใจลูก  อย่าคาดหวังในตัวลูกสูงเกินไป พยายามให้กำลังใจลูกเมื่อเขาทำไม่ได้ บอกเขาว่าคราวหน้าเขาจะทำได้ดีขึ้น อย่าเปรียบเทียบลูกกับลูกคนอื่น ๆ

 

√ สอนลูกอย่างอดทน

 

สอนลูกให้รู้พื้นฐานของตัวอักษรก่อน เช่น หน้าตาตัวอักษรแต่ละตัวเป็นอย่างไร และ เขียนอย่างไร  ใช้อุปกรณ์การสอนมาช่วยเพื่อให้ลูกจำ และ ทำให้ลูกรู้สึกสนุกกับการเรียน อาจใช้วิธีเรียนโดยการเล่นเกม ถ้าเจอวิธีที่ได้ผล ก็ใช้วิธีนั้นจนกว่าลูกจะอ่านและเขียนตัวอักษรได้ทั้งหมด จากนั้นจึงเริ่มผสมคำเป็นคำง่าย ๆ สั้น ๆ เมื่อเขาเริ่มอ่านคำได้บ้าง ลองหานิทานง่าย ๆ มาให้เขาลองอ่าน ให้เขาเลือกเรื่องที่เขาอยากอ่าน

 

เคล็ดลับในการสอน คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทน อย่าโมโหหรือเร่งลูกให้อ่านเร็วๆ  คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้ลูกรักการอ่านได้  โดยการอ่านหนังสือให้เขาฟังทุกคืนก่อนนอน และ เมื่อลูกเริ่มอ่านได้ ก็ให้เขาอ่านให้ฟัง

 

√ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ถ้าผู้ปกครองสอนเองไม่ได้สำเร็จ

 

ถ้าคุณพ่อคุณแม่สอนแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือ ไม่มีเวลา ลองขอให้คุณครูหรือคนที่เชี่ยวชาญในการสอนเด็กอ่านช่วย นี่ไม่ได้หมายความว่า เด็กที่มีปัญหาเรื่องการอ่านเขียน จะต้องเข้าโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ เขายังคงเรียนในโรงเรียนปกติได้ แต่พยายามเลือกโรงเรียนที่คุณครูสามารถเอาใจใส่นักเรียนแต่ละคนได้เต็มที่

 

ปัญหายังไม่สายเกินแก้ แค่คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามแก้มันไปพร้อมๆ กับลูก จำไว้ว่า เด็กทุกคนล้วนมีความสามารถอยู่ในตัว

 

 

------------------------------------------------------------ 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจาก :

thaihealth.or.th

th.theasianparent.com

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain

สนับสนุนโดย อเลอไทด์  สารอาหารบำรุงสมอง 
ช่วยเพิ่มสมาธิ เพิ่มความจำ ความสามารถในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น

อ่านออก เขียนได้ดีขึ้น ลดความเครียด

และ ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น

ปรึกษาปัญหาเด็กแอลดี/สมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์
โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 412,453