รักษาด่วน!!! ลูกเป็นเด็ก LD (โรคบกพร่องทางการเรียนรู้) หายได้
นพ.ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ กล่าวว่า ในวัยเด็กปัญหาสุขภาพจิตที่น่าห่วงอย่างยิ่ง นอกเหนือจาก โรคออทิสติก ที่มีผู้ป่วยรายใหม่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ปีละไม่น้อยกว่า 200 -300 คน คือ ปัญหาสมาธิสั้น และ อ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ หรือ โรคแอลดี (Learning Disabilities) ที่จะเกิดขึ้นควบคู่กัน ปัจจุบันพบประมาณ 10 คน จาก 100 คน และ อาจะมีแนวโน้มสูงขึ้น และ ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน โดยเบื้องต้นน่าจะเกิดจาก
1. การทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง โดยเฉพาะ ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และ การใช้ภาษา
2. กรรมพันธุ์ มีพ่อแม่ หรือ ญาติพี่น้องมีปัญหาเดียวกัน
3. ความผิดปกติของโครโมโซม
นอกจากนี้ เด็ก LD มักมีปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ ที่พบร่วมกันได้ถึงร้อยละ 40 – 50 เช่น โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องด้านภาษา และ การสื่อสาร ปัญหาการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและสายตา
รู้จักโรคแอลดี (โรคการเรียนรู้บกพร่อง)
LD ย่อมาจากคำว่า Learning Disorder หรือในภาษาไทยใช้ชื่อว่า โรคการเรียนรู้บกพร่อง เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่น ๆ ปกติดี
ข้อสังเกตอาการของเด็ก LD
1. ความบกพร่องด้านการอ่าน
> ความบกพร่องด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้ มากที่สุดของเด็ก LD ทั้งหมด
> เด็กมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ และ ขาดทักษะในการสะกดคำ
> เด็กมักอ่านหนังสือไม่ออก หรือ อ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้
ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านหนังสือ ต่ำกว่า เด็กในวัยเดียวกัน อย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
2.ความบกพร่องด้านการเขียนสะกดคำ
> ความบกพร่องด้านนี้ ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน
> เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง
> มักเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือและสะกดคำผิด
ทำให้ไม่สามารถแสดงออกผ่านการเขียนได้ ตามระดับชั้นเรียน เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำ ต่ำกว่า เด็กในวัยเดียวกันอย่าง น้อย 2 ระดับชั้นปี
3.ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์
> เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
> เด็กไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้
ทำให้เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ ต่ำกว่า เด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
ความรู้สึกของเด็ก LD ที่มีต่อตนเอง
ข้อมูลจากโรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวถึง ความรู้สึกของเด็ก LD ที่มีต่อตนเองไว้ว่า เด็กมักรู้สึกว่าตนเองเรียนไม่เก่ง มีปมด้อย มีอารมณ์เศร้า บางครั้งเมื่อถูกบังคับให้ทำงานซ้ำๆ หรือ เรียนพิเศษ เด็กก็จะต่อต้านการเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน เด็กมักพูดจาฉลาด โต้ตอบได้ดี แต่พอให้อ่าน เขียน คำนวณ กลับทำได้ไม่ดี ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจ ดุว่าเป็นเด็กขี้เกียจ ดื้อ เกเร เด็กบางคนก็อายที่ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แต่ไม่อยากให้ใครรู้ ก็เลยปฏิเสธการทำสิ่งต่างๆ ที่ทำไม่ได้ เด็กมักรู้สึกหงุดหงิด และ รู้สึกด้อย ที่ตนเองทำไม่ได้ทัดเทียมเพื่อนๆ และ อาจจะแสดงพฤติกรรม ดังนี้
1. หลีกเลี่ยง การอ่าน การเขียน
2. ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จทำงานสะเพร่า
3. ความจำไม่ดี เรียนได้หน้าลืมหลัง
4. รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้
5. ไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบว่า “ทำไม่ได้” “ไม่รู้”
6. อารมณ์ ขึ้น ๆ ลง ๆ หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน
7. ก้าวร้าวกับเพื่อน พี่น้อง ครู หรือพ่อแม่
8. ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง
แนวทางการช่วยเหลือทางการแพทย์
1. พาลูกไปพบคุณหมอ คุณหมอจะทำการซักประวัติอย่างละเอียดจากคุณพ่อคุณแม่ มีแบบสอบถามให้คุณครูของเด็กตอบ มีการวัดระดับเชาวน์ปัญญา วัดความสามารถทางการเรียนด้านต่างๆ
2. ตรวจร่างกายและทดสอบทางจิตวิทยา และผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
3. ให้ความรู้ความเข้าใจ ช่วยเหลือเด็กและครอบครัวทางด้านจิตใจ
4. ถ้าเด็กมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น ซึมเศร้า คงต้องให้ยาเพื่อรักษาโรคเฉพาะ
5. การบำบัดทางเลือกอื่น ๆ เช่น ศิลปะบำบัด การกระตุ้นระบบประสาทและความรู้สึก
คุณหมอฝากบอก
การช่วยเหลือ ทำได้ด้วยการตรวจหาให้เจอเร็วที่สุด หรือ ตั้งแต่ยังมีอาการน้อย โดยหากลูกมีอาการสมาธิสั้น จดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ไม่ต่อเนื่อง ซุกซนเกินกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด และ หุนหันพลันแล่น ใจร้อนคอยไม่เป็น พ่อแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา ซึ่งจะต้องใช้ยา หรือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ ทั้งสองวิธีควบคู่กัน หากไม่ทำการรักษาจะส่งผลให้มีพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์
แนวทางการช่วยเหลือทางด้านการศึกษา
1. โรงเรียนควรจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลให้สอดคล้องกับระดับความบกพร่องของเด็ก แต่ละด้านโดยทำความเข้าใจกับครูถึงปัญหาและความบกพร่องของเด็ก
2. เน้นการสอนเสริมในทักษะที่บกพร่อง เช่น การสะกดคำ อ่าน เขียนสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือตัวต่อครั้งละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน
3. การช่วยอ่านบทเรียนให้ฟัง เพื่อให้เด็กได้เนื้อหา ความรู้ ได้เร็วขึ้น
4. การให้เวลาในการทำสอบเพิ่มขึ้น เพื่อให้เด็กมีเวลาเพียงพอในการ อ่านโจทย์ และเขียนตอบ จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น
5. ส่งเสริมทักษะด้านอื่นๆ ที่เด็กสนใจ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
แนวทางการช่วยเหลือของครอบครัว
1. อธิบายให้เด็กและครอบครัว ทราบถึงปัญหาและความบกพร่องเฉพาะด้านของเด็ก รวมทั้งความรู้สึกของเด็กที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
2. เปลี่ยนพฤติกรรม จากการตำหนิ ลงโทษ เป็นความเข้าใจ และ สนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
3. ชื่นชมเมื่อเด็กทำสำเร็จ แม้ในเรื่องเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
หากเด็กได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ และ รักษาตามแนวทางที่ถูกวิธี ลูกของคุณพ่อคุณแม่จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และ สามารถหายได้ เพียงแต่ต้องอาศัยความรัก และ ความเข้าใจ รวมถึงการให้กำลังใจลูกในทุกๆ ทาง
-------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพดีๆจาก :
https://th.theasianparent.com/ld-disease
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศุนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ สารอาหารบำรุงสมอง
เพิ่มสมาธิ เสริมสร้างความจำ การเรียนรู้
และ ทำให้ผลการเรียน ดีขึ้น