เป็นเด็กก็เครียดได้ ภาวะเครียดในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องรู้

    

รู้ไหมคะ ว่าเด็กๆ ก็สามารถเครียดได้เหมือนกับผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แต่ความสามารถในการแสดงออกระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่นั้น อาจแตกต่างกันออกไป เพราะผู้ใหญ่อย่างเราๆ สามารถแสดงอารมณ์ หรือ แสดงความรู้สึกของตัวเองได้ เพราะเข้าใจความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต่างกับเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ไม่สามารถแสดงออกทางภาษาได้อย่างครบถ้วน

ความเครียดในเด็กปัจจุบัน เกิดจากสาเหตุต่างๆมากมาย และ ทางจิตแพทย์เผยสถิติเด็กเครียดในปัจจุบัน มีมากถึง 30% และ 10% อยู่ในระดับความเครียดที่รุนแรง

ความเครียดของเด็กสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ

  • ระดับที่ 1  เป็นลักษณะของเด็กที่มีความเครียด วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ ซึ่งระดับนี้ จะเป็นความเครียด ที่ไม่มีผลกระทบต่อการเรียน และ ไม่กระทบกับความสัมพันธ์ของคนรอบๆข้าง เพียงแค่เป็นความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น
  • ระดับที่ 2  เป็นลักษณะที่เริ่มรุนแรงขึ้นมาอีกขั้น โดยระดับนี้ จะกระทบต่อการเรียน และ การทำงาน รวมไปถึงกับคนรอบข้าง
  • ระดับที่ 3  เป็นลักษณะที่มีความรุนแรงและมีผลกระทบอย่างมาก  ระดับนี้ จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิ ผลการเรียนตก ซึมเศร้า เหม่อลอย อยากตาย ร่างกายไม่มีกำลัง เนื่องจากระบบประสาททำงานผิดปกติ ฟังชั่นของเด็กผิดปกติไปด้วย เช่น เมื่อสมองไม่มีความสมดุล เมื่อเด็กเจอความเครียด ระบบสมองก็จะลดน้อยลงไป ทำให้การทำงานของเซลล์สมองติดขัด ทำให้สมองเปลี่ยนแปลง

สาเหตุของความเครียด

มีด้วยกัน 2 สาเหตุหลักๆ ซึ่งได้แก่

  • ปัจจัยภายนอก เช่น เรื่องการบ้าน การงาน ความขัดแย้งกันในครอบครัว การย้ายบ้าน เป็นต้น
  • ปัจจัยภายใน ซึ่งเด็กบางคนมีนิสัยที่คิดมาก หรือ วิตกกังวลในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือ สารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้เกิดอารมณ์เครียดและเศร้าได้อย่างง่ายดาย

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด

  • กรรมพันธุ์  ที่ทำให้ระบบประสาทเกิดความเครียดง่าย หรือเรียกง่ายๆก็คือ คุณพ่อคุณแม่มีนิสัยที่เครียดและวิตกกังวลง่าย ทำให้ลูกเรียนรู้นิสัยจากคุณพ่อคุณแม่
  • สภาพแวดล้อมที่เครียด  เช่น เกิดปัญหากันในครอบครัวบ่อย คุณพ่อคุณแม่คาดหวัง และ กดดันลูกเกินไป 
  • การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน  โดยเฉพาะช่วงรอยต่อจากเด็กไปสู่วัยรุ่น ซึ่งมีการปรับตัวในสังคม และ ในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือนของผู้หญิง อีกทั้งวัยทองของผู้ชาย ซึ่งก็ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด วิตกกังวล และ โกรธง่าย ถึงแม้จะน้อยกว่าผู้หญิงก็ตาม

เด็กมักจะเครียดเรื่องอะไรบ้าง

  • การบ้านที่ต้องทำมากเกินไป : เนื่องจากเด็กๆ เรียนมาทั้งวัน แถมยังมีการบ้านที่เยอะแยะกลับมาทำที่บ้านอีก ทำให้เด็กๆ อาจจะเครียดได้ เพราะสมองของเขาได้ทำงานหนักมาทั้งวัน
  • ทะเลาะกับพี่น้อง หรือ เพื่อนที่โรงเรียน : ซึ่งอย่างเราๆ เห็นก็คงเป็นเรื่องธรรมดาที่พี่น้องหรือเพื่อนต้องทะเลาะกัน แต่เด็กๆ นั้นยังไม่มีความเข้าใจ และ ยับยั้งอารมณ์ของตัวเอง ทำให้เกิดความเครียดกับเด็กๆ ได้
  • รู้สึกไม่มีใครรักและสนใจ : เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำให้เด็กๆ ค่อนข้างเครียดอย่างมาก เพราะด้วยความเป็นเด็ก เขาต้องการการยอมรับจากคนรอบข้างโดยปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะคนที่เขารักและผูกพันธ์ด้วย เขาก็จะแสดงออกมาด้วยความหวงและอิจฉา ไม่พอใจ แกล้งไม่พูดด้วย หรือ ทำร้าย  เช่น เวลามีเพื่อนใหม่เข้ามาในกลุ่ม เพื่อนๆคนอื่นก็ทำการต้อนรับและให้ความสนใจ จนคิดว่าเพื่อนรักเพื่อนใหม่มากกว่า ทำให้เขาต่อต้าน และ แยกตัวออกจากกลุ่ม เป็นต้น
  • เปลี่ยนโรงเรียนใหม่ : เนื่องจากเขาต้องเจอกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอ ทำให้เด็กๆ อาจเกิดการเครียดได้  บางคนจะมีอาการไม่สบาย ปวดหัว ปวดท้อง อาเจียน หรือ แกล้งป่วย เพื่อจะได้ไม่ไปโรงเรียน  วิธีแก้คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาเด็กๆ ไปเข้าค่าย เตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน ได้เจอกับเพื่อนใหม่ๆก่อน เพื่อให้เขาปรับตัว
  • คิดว่าตัวเองไม่เก่งเอาซะเลย : ซึ่งเกิดจากความกดดันที่ไม่มี หรือ ไม่เก่งเหมือนคนอื่น เช่น พี่เรียนเก่งกว่า หรือ เล่นกีฬาไม่เก่งเหมือนเพื่อน ทำให้เขารู้สึกท้อแท้ และ เกิดความเครียดขึ้นมาได้  ซึ่งเหล่านี้ต้องปรับที่สิ่งรอบๆตัว และ ความคิด หรือ ความรู้สึกของตัวเด็ก

อาการ

เมื่อเด็กๆ รู้สึกเครียดจากอะไรก็ตามมาก ก็จะมีอาการที่บ่งบอกว่าเขาเครียดแล้ว เช่น

√ ปวดหัว หรือ ปวดเมื่อยตามร่างกาย
√ ท้องเสีย มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
√ ใจสั่น เหงื่อออก
√ เบื่อ เศร้า ไม่อยากทำอะไร
√ โกรธ หงุดหงิด หรือ ร้องไห้ง่าย
√ ไม่มีสมาธิ วิตกกังวล

น.พ. จอม ได้แนะนำวิธีป้องกัน และแก้ไข เพื่อไม่ให้เด็กเครียด ด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้

  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของลูกอยู่เสมอ
    คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปพูดคุย รับฟังความคิดเห็นจากลูก เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น เมื่อเห็นลูกเงียบๆ หรือ เหนื่อยๆ ควรเข้าไปถามเขาว่ามีอะไรหรือเปล่า พยายามแสดงความห่วงใย และ เข้าใจเขา แล้วลูกจะรับรู้เองว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจเขามากขึ้น
  • ไม่ควรกดดันลูกจนเกินไป
    เพราะการกดดันลูกโดยเฉพาะเรื่องการเรียน  คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังลูกจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกเครียดได้ แต่ถ้ากรณีที่เด็กมีความอ่อนไหวต่อความรู้สึก แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้กดดันเขา หรือ ไม่ได้คาดหวังอะไร  เด็กก็อาจจะเครียดเองได้ เพราะเขาจะสร้างความกดดันให้กับตัวเอง โดยที่ตั้งเป้าหมายไว้ต้องทำให้ได้หรือไม่ ก็เกิดการเปรียบเทียบและแข่งขันกับเพื่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยของตัวเด็ก
  • ไม่ควรดุ ตำหนิ หรือ ตีลูก
    การดุด่า หรือ การตีลูก จะทำให้เขารู้สึกไม่ดีกับตัวเอง และจะทำให้เขารู้สึกว่า คุณพ่อคุณแม่ไม่รัก อีกทั้งยังทำให้เขาเกิดการต่อต้าน และ นำเอาวิธีที่ปฏิบัตินั้นไปใช้กับเพื่อนที่โรงเรียน ทางที่ดีก็คือ คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติและใช้เหตุผลกับลูกให้มากที่สุด นอกจากนี้ต้องเลิกเพิกเฉยต่อเด็กอย่างสมเหตุสมผล เพราะบางอย่างเด็กอาจจะต้องการให้คุณพ่อคุณแม่สนใจเขา และ เข้าใจเขาด้วย
  • ใช้เวลาอยู่กับลูกบ่อยๆ และเข้าใจลูกให้มาก
    ควรมีเวลาให้กับลูกบ่อยๆ อย่างเช่น การพาไปทำกิจกรรมร่วมกันเป็นครอบครัว เล่นกับลูกบ่อยๆ จะทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายแนบแน่น ถ้าหากลูกอยู่ในวัยประถม คุณพ่อคุณแม่อาจจะเล่นสนุกกับเขา ชมเชยเขาได้  ส่วนถ้าลูกโตขึ้นมาหน่อยกำลังเป็นวัยรุ่นละก็ อาจจะเป็นที่ปรึกษาพูดคุยกับเขา เป็นการช่วยให้เขาเปิดใจระบายความในใจออกมาให้เราฟัง ทำให้ลูกไม่เครียด

*** แต่หากรู้สึกว่า เครียดและวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ และ ควบคุมความรู้สึกไม่ได้ เป็นระยะเวลาที่นาน จนทำให้เด็กๆ ไม่มีความสุข และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาเด็กๆ ไปพบคุณหมอเพื่อปรึกษา และ ช่วยปรับความคิดและพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพดีๆจาก :
เว็บ parentsone.com

================================== 

เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
เสริมสร้างพัฒนาการ 
ให้ลูกน้อย
และ นอนหลับสนิท ได้
ด้วย "อเลอไทด์"
 

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
 ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี **
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น 

**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

 

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,784