อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ พ่อแม่ควรทำอย่างไร ให้ลูกดีขึ้น

ปัญหาความบกพร่องด้านการเรียนรู้ (Learning Disabilities) ใช้อธิบายลักษณะพิเศษของเด็กที่มีปัญหาในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางวิชาการ ภาษา และ การเขียน เป็นผลมาจากระบบการทำงานที่ผิดปกติของสมองในขั้นตอนการรับรู้และสื่อสารข้อมูล ทำให้มีปัญหาเรียนยาก หรือ เรียนช้ากว่าเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน

เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ในลักษณะนี้ จัดเป็น 1 ใน 9 กลุ่มเด็กที่ต้องรับการดูแลพิเศษ แต่ไม่ได้หมายความว่า เด็กไม่ฉลาดหรือขี้เกียจ เพียงแต่มีระบบความคิด การจัดเก็บ และ สื่อสารข้อมูล แตกต่างจากคนอื่น และ ที่จริงแล้วเด็กกลุ่มนี้ จะมีระดับไอคิวเท่ากับเด็กทั่วไป หรือ อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ เราสามารถแบ่งลักษณะอาการเป็น 2 ประเภท คือ ปัญหาทางภาษา และ ปัญหาทางภาพสัญลักษณ์

  • ปัญหาทางภาษา  เด็กที่มีปัญหาทางภาษา จะพบอุปสรรคในการทำความเข้าใจคำพูดหรือกลุ่มคำ ทั้งการเขียน และ การอ่าน เพราะนอกจากจะมีปัญหาในการจดจำตัวอักษรแล้ว ยังมีปัญหาในการเชื่อมโยงคำกับการอ่านออกเสียง

    สำหรับเด็กบางคน ถึงแม้จะอ่านเขียนได้เป็นปกติ แต่ก็อาจจะมีปัญหาทางภาษาด้านอื่นๆ เช่น บางคนอาจจะอ่านและออกเสียงได้ถูกต้อง แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองอ่าน และ บางคนอาจจะมีปัญหาทางการเขียน เพราะไม่สามารถสั่งให้มือเขียนตามหลักไวยากรณ์ได้ เช่น วรรคตอนผิดปกติ หรือ เรียงลำดับความสำคัญของแต่ละย่อหน้าไม่ได้ ลายมือแย่มาก เป็นต้น

  • ปัญหาทางภาพสัญลักษณ์  เด็กที่มีปัญหาทางภาพสัญลักษณ์ มักจะมีปัญหาในการเชื่อมโยงสิ่งที่ตัวเองมองเห็น เด็กมักจะมีปัญหากับรายละเอียดในภาพ เช่น สับสนตัวเลขบนกระดาน หรือ สับสนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เศษส่วน หรือ จำสลับระหว่างตัวบวกกับตัวหาร เป็นต้น

ปัญหาการเรียนรู้นี้เป็นไปได้ตลอดชีวิต และ ยังไม่มีวิธีรักษา แต่หากเรามีวิธีดูแลที่ถูกต้อง จะสามารถช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ใช้ชีวิตแบบปกติและเรียนตามคนอื่นได้ อาการของเด็กที่เป็นปัญหานี้ แตกต่างและมีหลายลักษณะ เช่น เด็กบางคนอาจจะมีปัญหาทางการอ่านและเขียน  แต่ไม่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์ หรือ เด็กบางคนมีปัญหาการเขียนเพียงอย่างเดียว เป็นต้น อีกทั้งความรุนแรงของอาการแต่ละคนยังแตกต่างกันไปอีกด้วย

เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร?

เราไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กคนไหนมีปัญหาการเรียนรู้เพียงแค่มองจากภายนอก ทำให้สังเกตอาการได้ยาก แต่พ่อแม่จะเริ่มสังเกตเห็นจากความผิดปกติของเด็กทางการพูด อ่านเขียน การแก้โจทย์คณิตศาสตร์ การสื่อสาร หรือ การขาดสมาธิในห้องเรียน ประมาณช่วงประถมศึกษา ครูและพ่อแม่จะเริ่มเห็นว่า เด็กไม่สามารถเรียนรู้กติกาของเกมบางเกม หรือ ไม่สามารถทำการบ้านบางอย่างได้  ทั้งๆที่เป็นงานที่ง่ายมาก 

แต่เด็กบางคนก็พยายามหาวิธีแก้ไขจนเรียนตามเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันได้ แม้แต่พ่อแม่เองก็ไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว ลูกมีอาการผิดปกติทางการเรียนรู้ และกว่าจะสังเกตได้ก็เมื่ออยู่ในช่วงวัยรุ่นที่ต้องใช้ชีวิตด้วยตัวเองแล้ว เด็กจะเริ่มรู้สึกว่าความพยายามที่ใช้ไปในการเรียนไม่ส่งผลต่อผลการศึกษาเท่าที่ควร เมื่อมารู้ตัวในวัยรุ่นเช่นนี้ ยิ่งทำให้ยากต่อการดูแลรักษา ซึ่งลักษณะที่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้

ก่อนวัยเรียน

  • มีปัญหาในการพูดคำบางคำ
  • ใช้คำพูดแบบผิดๆ
  • จำทำนองเพลงหรือเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  • มีปัญหาในการเรียนตัวอักษร ตัวเลข สี รูปร่าง วันในสัปดาห์
  • ไม่เข้าใจการทำตามกฎหรือกติกา
  • จับดินสอ ปากกา หรือ กรรไกร ให้ไปในทางที่ต้องการไม่ได้
  • มีปัญหากับการติดกระดุมหรือซิป หรือผูกเชือกรองเท้า

5-9 ขวบ

  • ไม่สามารถเชื่อมโยงคำกับการเสียงอ่านของคำนั้นได้
  • ไม่สามารถผสมเสียงพยัญชนะกับสระให้เป็นคำพูดได้
  • สับสนคำง่ายๆ เวลาอ่าน
  • เขียนคำผิดซ้ำๆ
  • มีปัญหากับโจทย์เลขทั่วไป
  • บอกเวลาไม่ได้
  • เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้ช้า

10-13 ขวบ

  • มีปัญหากับการอ่านทำความเข้าใจ
  • ปัญหาการเรียนเลข
  • ไม่ถนัดการตอบคำถามปลายเปิด และ มีปัญหาการใช้คำ
  • ไม่ชอบการอ่านและเขียน หลีกเลี่ยงการอ่านออกเสียง
  • ไม่มีทักษะการจัดการ (ห้องนอน การบ้าน โต๊ะเรียน)
  • ลายมืออ่านยาก

เด็กกลุ่มนี้จะขี้อาย และ ปฏิเสธที่จะฝึกฝนซ้ำๆ เพราะพวกเขาทำไม่ได้ หรือ พบว่ามันยากสำหรับพวกเขา ในขณะที่เพื่อนคนอื่นๆ ทำได้ ทำให้รู้สึกอายและไม่พอใจ

อย่างไรก็ตาม แค่เพียงมีปัญหาในห้องเรียนไม่ได้หมายความว่า เด็กจะต้องมีปัญหาทางการเรียนรู้เสมอไป เด็กแต่ละคนมีวิธีที่จะเรียนรู้แตกต่างกันไป เช่น บางคนชอบที่จะฝึกฝนไปเรื่อยๆ บางคนชอบที่จะฟังเพื่อทำความเข้าใจ  หรือ เด็กบางคนอาจแค่อ่านช้าหรือเรียนช้ากว่าเพื่อนอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มีพัฒนาการที่ด้อยกว่าเกณฑ์ หากรู้สึกว่าลูกมีอาการดังกล่าว จะให้แน่ใจที่สุดพ่อแม่ควรพาลูกไปหานักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบจากแบบทดสอบอย่างละเอียด 

เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ มีสาเหตุมาจากอะไร?

ไม่มีใครสามารถบอกสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงได้ แต่นักวิจัยก็ได้ให้ทฤษฎีบางอย่างที่สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

  • พันธุกรรม  นักวิจัยกลุ่มหนึ่งสังเกตเห็นว่า ปัญหาทางการเรียนรู้ถ่ายทอดต่อกันมาในครอบครัว และพวกเขาคิดว่า พันธุกรรมน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า อาจจะไม่ใช่พันธุกรรมที่เป็นตัวถ่ายทอดลักษณะมาในเด็ก แต่อาจเป็นที่ลักษณะการเลี้ยงดูที่เหมือนๆ กันจากรุ่นสู่รุ่นก็เป็นได้

  • พัฒนาการทางสมอง  นักวิจัยบางคนเชื่อว่า ปัญหานี้เกิดจาก ขั้นตอนการพัฒนาของสมอง ทั้งก่อนและหลังการคลอด ตัวอย่างเช่น น้ำหนักตัวของเด็กที่น้อยเกินไป ขาดออกซิเจนระหว่างคลอด หรือ สภาพแวดล้อมระหว่างตั้งครรภ์ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อปัญหาการเรียนรู้ให้กับเด็ก เด็กเล็กๆบางคนที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ หรือ ส่วนที่ส่งผลกระทบสู่สมอง อาจจะมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางการเรียนรู้ได้

  • ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม  ทารกหรือเด็กเล็ก เป็นวัยที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อม และ ไวต่อสารพิษ หรือ มลพิษเป็นอย่างมาก เช่น เรามักจะได้ยินมาว่า ตะกั่ว (มักพบได้ในบ้านหลังเก่าๆ หรือในสีบางชนิด) อาจส่งผลกระทบต่อสมองได้ สภาพโภชนาการในการเลี้ยงดูเด็กจึงมีผลสำคัญในการเจริญเติบโต 

ปัญหาการเรียนรู้ มีความสำคัญอย่างไร?

≥ พ่อแม่บางคนจะเริ่มตั้งคำถามว่า แล้วลูกจะสามารถอ่านหนังสือออกไหม หรือ เขาจะเขียนได้เหมือนปกติรึเปล่า

√ คำตอบก็คือ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับว่า พ่อแม่รู้ว่าลูกมีปัญหาการเรียนรู้เมื่อไหร่ และ ตอบรับกับปัญหานั้นอย่างไรบ้าง หากพบปัญหาตั้งแต่แรกๆ และดูแลลูกได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่ากรณีร้ายแรงแค่ไหน โอกาสที่เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ใกล้เคียงเด็กปกติยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น  ในทางกลับกัน หากพ่อแม่รู้ตัวเมื่อลูกอายุเกิน 10 ปีขึ้นไป และ ไม่ได้รับการดูแลแบบพิเศษ ก็ยิ่งยากต่อการส่งเสริมให้เขาอยู่ในสังคมได้แบบปกติ ดังนั้น จึงสำคัญมากที่พ่อแม่จะต้องไม่ละเลยปัญหานี้ เพราะ มันเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของเขาในอนาคต ยิ่งรู้ตัวเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

เด็กอาจถือเอาปัญหาการเรียน เป็นปมด้อยของตัวเอง ลองคิดดูว่าถ้าเป็นตัวเราเองที่ทำอะไรอย่างหนึ่งไม่ได้ในขณะที่เพื่อนคนอื่นๆ ทำได้อย่างง่ายดาย กังวลอยู่ตลอดว่าจะเสียหน้าในห้องเรียน หรือ ต้องพยายามอย่างมากเวลาจะอธิบายอะไร เราจะรู้สึกอย่างไร

ปัญหาของเขาคือ เขาไม่สามารถแสดงความรู้สึกได้ ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ หากถูกละเลย จะสร้างความเครียดให้กับเด็ก ที่เขาเรียนไม่ได้ไม่ใช่ความผิดของเขา อาจทำให้เขาไม่เข้าใจและหลีกหนี และนั่นจะส่งผลต่อทักษะทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้เด็กไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งการเรียน การใช้ชีวิต และที่สำคัญ ความสุขของลูก

พ่อแม่ ผู้ปกครอง จะช่วยเหลือหรือแก้ไขลูก ที่มีปัญหาการเรียนรู้ได้อย่างไร?

เด็กทุกคนต้องการความรักและกำลังใจ สำหรับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ การให้กำลังใจ ให้เขาเห็นคุณค่าของตัวเอง ให้พวกเขามีความมั่นใจและสู้กับปัญหา เป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจคือ หน้าที่ของพ่อแม่ไม่ใช่การรักษาโรคให้ลูก แต่คือการสอนให้ลูกดูแลตัวเองได้ และต้องระลึกเสมอว่า สิ่งที่พ่อแม่กระทำและแสดงออกต่ออุปสรรคต่างๆ ส่งผลอย่างมากต่อลูก จริงอยู่ว่าการมองโลกในแง่ดี ไม่ได้ช่วยให้อาการลูกดีขึ้น แต่แน่นอนว่ามันได้ให้ความหวังและความมั่นใจแก่ลูกอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อมันมาจากพ่อแม่ของเขาเอง

  • เข้าจัดการกับการศึกษาของลูก  สื่อสารกับที่โรงเรียนเกี่ยวกับการเรียนของลูก ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายและการให้บริการจากโรงเรียนในส่วนนี้ให้ดีก่อนที่จะตกลงร่วมกันกับโรงเรียน พ่อแม่หลายคนมีความคิดที่ว่า โรงเรียนต้องสอนเด็กทุกอย่างและมีหน้าที่ดูแลเด็กในทุกแง่ จำไว้เสมอว่า โรงเรียนเป็นแค่ส่วนหนึ่งในชีวิตของลูกและชีวิตครอบครัว ข้อจำกัดของโรงเรียนอาจไม่สามารถตอบโจทย์ที่พ่อแม่ต้องการได้ ลองมองหาตัวช่วยอื่นๆ ให้กับลูก

  • หาให้เจอว่าลูกถนัดเรียนแบบไหน  เด็กแต่ละคนมีวิธีเรียนที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เด็กบางคนชอบที่จะเรียนจากภาพ เด็กจะเข้าใจได้ดีขึ้นเมื่ออธิบายเป็นกราฟหรือแผนภูมิ จากการอ่าน หากเด็กถนัดเรียนจากการฟัง เด็กจะทำได้ดีกับการเรียนในห้องเรียน และ มีแนวโน้มจะชอบฟังเพลงหรือเล่นละคร หรือ เด็กบางคนจะถนัดเรียนแบบปฏิบัติ พวกเขาจะทำได้ดีในการสร้างสรรค์ผลงาน หรือ ทำอะไรที่ได้ค้นหา

  • ให้ความสำคัญกับชีวิตนอกห้องเรียน  จำไว้ว่าความสำเร็จไม่ได้หมายถึงการเรียนเสมอไป แต่รวมถึงสุขภาพและความสัมพันธ์กับผู้อื่น พ่อแม่ควรจะให้ความสำคัญกับส่วนนี้ด้วย  เหล่านี้คือ คำแนะนำที่พ่อแม่ควรจะเริ่มต้นให้ความสนใจ

       √ ควรสอนให้ลูกภูมิใจในตัวเอง โดยให้ลูกรู้ว่า สิ่งที่ลูกชอบและถนัดคืออะไร และส่งเสริมเขาในจุดนั้น ให้กำลังใจลูกเมื่อต้องพูดถึงทักษะที่ตัวเองมีปัญหา ให้เด็กยอมรับและกล้าที่จะขอความช่วยเหลือกับผู้ใหญ่
       √ สอนให้ลูกมั่นใจในการตัดสินใจ  พูดคุยเกี่ยวกับปัญหาหลายๆ เรื่อง และถามว่า ถ้าเป็นเขาจะทำอย่างไร ผลจากการแก้ปัญหาแต่ละแบบเป็นอย่างไร และให้กำลังใจเด็กเวลาจะตัดสินใจ หรือเสนอตัวเลือกให้เขา
       √ สอนให้เด็กมีความพยายาม  ให้เขาไม่หลีกหนีจากปัญหา
       √ ให้เด็กรู้จักมีเป้าหมายในชีวิต  ลองให้เด็กสร้างเป้าหมายเล็กๆ และวิธีที่จะไปให้ถึง
       √ รู้จักที่จะขอความช่วยเหลือ และ ช่วยเหลือผู้อื่น  ซึ่งเป็นหลักในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
       √ สามารถจัดการความเครียดและควบคุมอารมณ์ของตนเอง  โดยสอนให้เขารู้จักกับอารมณ์ในแบบต่างๆ และทำความเข้าใจมัน เพื่อที่เขาจะได้รู้ว่าตัวเองกำลังเครียดอยู่ และ สามารถหากิจกรรมที่จะลดความเครียดลงได้ ที่สำคัญ พ่อแม่จะต้องรู้ได้ทันทีว่าเมื่อไหร่ที่ลูกมีความเครียด

  • ดูแลสุขภาพให้ดี  แน่นอนว่าสุขภาพที่ดีจะนำมาสู่สุขภาพจิตที่ดี และ จะทำให้เด็กมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น ง่ายๆแค่ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ พักผ่อนเพียงพอ

  • อย่าลืมดูแลตัวเอง  พ่อแม่จะไม่สามารถดูแลลูกได้เลยหากว่าตัวเองเหนื่อยหรือเครียด อย่าเก็บเอาทุกอย่างไว้กับตัว มองหาตัวช่วย เช่น เพื่อน ครอบครัว ครู นักจิตวิทยา ที่จะคอยแบ่งเบาปัญหาและช่วยเหลือได้ ที่สำคัญ ลองมองหากลุ่มหรือองค์กรที่ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์กับพ่อแม่และเด็กคนอื่นๆ

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :
taamkru.com

===============================================

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain  
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง 
√ เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
 กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
√ ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
 ช่วยปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 

 **เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  095-883-6706
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 412,447