วิจัยชี้! เด็กนอนน้อย เสี่ยง..พัฒนาการช้า อารมณ์ร้าย ผลการเรียนตกต่ำ
เด็กนอนน้อยเสี่ยงพัฒนาการช้า อารมณ์ร้าย ทำลายสมอง และอาจเป็นโรคอ้วน เตือนพ่อแม่ ควรพาลูกเข้านอนให้เป็นเวลา โดยเฉพาะเด็กอายุ 3-7 ปี
เด็กนอนน้อยเสี่ยงพัฒนาการช้า
การนอนของเด็ก เป็นสิ่งสำคัญมาก หากลูกน้อยเข้านอนในเวลาที่ไม่สม่ำเสมอ อาจส่งผลกระทบมากกว่า แค่สุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่อาจส่งผลต่อผลการเรียน ผลการสอบ พฤติกรรมของเด็ก นอกจากนี้ ผลการศึกษายังระบุว่า เด็กนอนน้อยเสี่ยงพัฒนาการช้า อีกด้วย
A. Pawlowski ผู้ดำเนินรายการ TODAY show ได้กล่าวว่า “การเข้านอนในเวลาที่ผิดปกติเป็นประจำ และ ระยะเวลาในการนอนหลับที่แตกต่างกันในแต่ละวัน อาจส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงของภาวะเมทาบอลิกซินโดรม (ภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติไป ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง เบาหวาน และ ไขมันสูง) ซึ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการโรคหัวใจได้ ”
เวลานอนของเด็กส่งผลต่อพฤติกรรมอย่างไร
จากการศึกษาของนักวิจัยชาวอังกฤษ จากกลุ่มเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 7 ปี จำนวน 11,000 คน ที่มีเวลานอนไม่สอดคล้องกัน โดยสอบถามเกี่ยวกับชีวิตประจำวันภายในครอบครัวของเด็กช่วง 3 ขวบ 5 ขวบ และ 7 ขวบ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เมื่อเด็กอายุ 7 ขวบ มีเด็กมากกว่าครึ่งที่เข้านอนอย่างสม่ำในช่วง 07.00 – 20.30 น. แต่ก็มีเด็กอีกจำนวนหนึ่งที่เข้านอนในเวลาที่แตกต่างกันในแต่ละคืน
พอเด็กอายุได้ 7 ขวบ พวกเขาได้รับการทดสอบ การอ่าน ความสามารถทางคณิตศาสตร์ และ การทดสอบความสัมพันธ์ (Spatial Awareness) เพื่อทดสอบว่า การนอนของเด็กส่งผลต่อคะแนนทดสอบเหล่านี้หรือไม่ และ เกิดผลกระทบอย่างไร หรือ จะหายไปเมื่อเวลาใด
ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ไม่ได้นอนเป็นประจำเมื่ออายุ 3 ขวบ เมื่อทำการทดสอบดังกล่าว จะได้คะแนนต่ำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เวลาในการนอน เป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อการพัฒนาของเด็ก
นอกจากนี้ ยังพบว่า เด็กที่ไม่ได้เข้านอนตามเวลาเป็นประจำ จะเป็นเด็กไฮเปอร์ (หมายถึง ภาวะอยู่ไม่สุขหรืออยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ และไขว้เขวง่าย) มากกว่าเด็กที่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทั้งยังมีปัญหาเรื่องของพฤติกรร ด้วย ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีปัญหา ทางอารมณ์ และ ปัญหาสังคม อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษายังบอกอีกว่า ถึงแม้พฤติกรรมเด็กจะแย่ลงเรื่อยๆ เมื่อไม่ค่อยได้นอน แต่พฤติกรรมเหล่านี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากเด็กๆ ปรับเวลานอนอย่างเหมาะสม
ลูกน้อยนอนไม่พอส่งผลอย่างไรบ้าง
1. ส่งผลต่ออารมณ์ของเด็ก
จากบทความที่ตีพิมพ์บน Medical News Today เมื่อปี 2013 พบว่า ผู้ปกครองและแพทย์ต่างยอมรับว่า การนอนที่ผิดเวลาของเด็ก ทำให้เด็กมีแนวโน้มที่กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ฉุนเฉียวได้ง่าย ร้องไห้งอแง และเป็นเด็กที่ขี้โมโหอีกด้วย
2. ส่งผลต่อพัฒนาการสมอง
มีบทความหนึ่งในวารสาร Pediatrics พบว่า การที่เด็กนอนผิดเวลา อาจส่งผลต่อลักษณะทางชีวภาพตามธรรมชาติของร่างกาย ทำให้เกิดการนอนไม่หลับ บั่นทอนการเจริญเติบโตของสมอง และความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมบางอย่าง
3. ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้ง่าย
ตามรายงานของนักวิทยาศตร์ ในนิตยสาร TIME พบว่า การนอนที่ผิดเวลาคล้ายกับอาการ jet lag ในเด็ก (คือ อาการที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่เดินทางไกลเป็นเวลานานหลายชั่วโมงบนเครื่องบิน ทำให้เกิดอาการง่วงนอน และนอนไม่หลับ) จะส่งกระทบต่อต่อลักษณะการทำงานทางสมองในเด็ก สุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่
สำหรับเด็กโต การที่เด็กหลายคนอดนอนนั้นมากจาการถูกรบกวนจากเทคโนโลยี อย่างคอมพิวเตอร์ โซเชียล และวิดิโอเกมในช่วงตอนกลางคืนด้วย ซึ่งการศึกษาในปัจจุบบันก็พบว่า เด็กโตส่วนใหญ่มักมีปัญหาเรื่องการนอนหลับพักผ่อน
4. ส่งผลต่อสุขภาพและน้ำหนัก
เด็กที่นอนผิดเวลาที่อนวโน้มว่า จะเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวพุ่งสูงเกินเกณฑ์ และมักจะเกิดความรู้สึกพึงพอใจในตนเองที่ต่ำ (คือ มักจะทนไม่ได้เมื่อมีคนมาวิพากษ์วิจารณ์ตน และมักจะแสดงออกทางอารมณ์ เช่น เศร้า เสียใจ โกรธ โมโห ออกมา) มากกว่าเด็กที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หากเด็กไม่ได้กินอาหารเช้าด้วย ยิ่งนำไปสู่การเป็นโรคอ้วนได้ง่าย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจาก
=============================
♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
เสริมสร้างพัฒนาการ ให้ลูกน้อย
และ นอนหลับสนิท ได้ด้วย "อเลอไทด์"
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น