วิธีเลี้ยงลูก 4 แบบ พาลูกล้มเหลวในอนาคต


วิธีเลี้ยงลูก ให้มีความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) ควบคู่ไปกับ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) นั้น เป็นพื้นฐานสำคัญ ที่ทำให้มนุษย์เราประสบความสำเร็จในชีวิต และ มีความสุข ความฉลาดทั้ง 2 อย่างนี้ สามารถกระตุ้น และ พัฒนาให้ดีขึ้นได้ จากการเลี้ยงดูตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ไปจนถึงช่วงวัยรุ่นอายุ 18 ปี

วิธีเลี้ยงลูก ที่ส่งผลไปถึงอนาคต

กรมสุขภาพจิต เผยความเชื่อในการเลี้ยงลูกแบบผิดๆ ของพ่อแม่ เช่น การเลี้ยงลูกแบบสุขสบาย การทำทุกอย่างแทนลูก การเลี้ยงลูฏด้วยสิ่งของ และ การแสดงความรักมากเกินไป เป็นการขัดขวาง พัฒนาการทั้งทางด้าน IQ และ EQ ของลูก

  • IQ เป็นความฉลาดที่ติดตัวมาแต่กำเนิด บ่งบอกถึง ความสามารถทางการเรียนรู้ การจดจำ การคิด การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล และ การติดต่อสื่อสาร
  • EQ เป็นความฉลาดที่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ มีความเข้าใจในความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น และ ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสม

    วิธีเลี้ยงลูก


ซึ่งทั้ง 2 Q นี้ สามารถกระตุ้น และ พัฒนาให้ดีขึ้นได้จากการเลี้ยงดู ซึ่งเริ่มได้ตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์ ไปจนถึงเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอายุ 18 ปี หากเด็กได้รับเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง จะเป็นผู้ใหญ่ที่อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ใช้ความสามารถทางสติปัญญาตนเองได้อย่างเต็มที่

IQ และ EQ มีบทบาทส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งกันและกัน  การมี EQ สูงจะช่วยให้การเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตดีขึ้น แต่คนที่มีไอคิวสูงอย่างเดียว อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  ทั้งนี้หากมี IQ ธรรมดา แต่มี EQ สูง  ทำให้ประสบความสำเร็จ หรือ หากมี IQ และ EQ สูงทั้งคู่ก็ยิ่งประสบความสำเร็จมาก

อุปสรรคในการเลี้ยงลูก

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้เด็กไทยยังมี IQ และ EQ ไม่เต็มศักยภาพ ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อผิดๆ ในการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ ทำให้เด็กสูญเสียโอกาสที่จะพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคมอื่นๆ เช่น

  • เชื่อว่า การรักลูก คือ การเลี้ยงดูให้ลูกสุขสบาย พ่อแม่ทำทุกอย่างแทนลูก
  • เชื่อว่า เด็กเล็กยังไม่จำเป็นต้องสอนอะไรมาก โตขึ้นเด็กจะเรียนรู้และคิดอะไรได้ด้วยตนเอง จึงมักปล่อยปละละเลย ไม่จัดการอะไรเมื่อลูกทำสิ่งไม่ถูกต้อง
  • เชื่อว่า การให้ของทุกอย่างที่ลูกต้องการ คือ การแสดงว่าพ่อแม่รักลูก
  • เชื่อว่า คนที่เก่ง และ ประสบความสำเร็จในชีวิต คือคนที่เรียนดี จึงมุ่งให้ลูกเรียนอย่างเดียว ไม่ต้องรับผิดชอบงานหรือกิจกรรมอื่นๆ

ความเชื่อเหล่านี้ จะทำให้เด็กขาดโอกาสได้รับการพัฒนา ทำให้เด็กปรับตัวได้ยาก ไม่รู้จักการเป็นผู้ให้ เมื่อพบความผิดหวังในการเรียน หรือทำงาน จะไม่สามารถปรับตัวได้  โดย ความรักที่ถูกต้องของพ่อแม่คือ การเลี้ยงดูให้ลูกช่วยเหลือตนเองและพึ่งพิงตนเองได้ จะทำให้เด็กเป็นอิสระมีความภาคภูมิใจตนเอง และ เข้าใจคนอื่น เด็กที่ถูกเลี้ยงดูอย่างสุขสบาย จะขาดความอดทน ขาดความเข้าใจเห็นใจคนที่ยากลำบาก ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คนอื่น

วิธีเลี้ยงลูก


ซึ่งปัญหาข้างต้น  นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ทั่วไป ได้กล่าวว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการเลี้ยงลูกเป็นหลัก ส่วนที่เหลืออาจมาจากความเจ็บป่วยของตัวเด็กที่ส่งผลตามมาทางด้านพฤติกรรม ไม่ว่าสาเหตุมาจากที่ใดก็ตาม คงต้องย้อนกลับไปมองที่ครอบครัวว่า กำลังเลี้ยงลูกอยู่บนปากเหวหรือไม่ ?

สำหรับครอบครัวที่อยู่บนปากเหวนั้น นพ.กัมปนาท ได้ขยายความว่า เป็นครอบครัวที่เลี้ยงลูกบนความเสี่ยงแล้ว มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตตามมา เช่น พ่อแม่ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต (ไม่ว่าจะได้รับการรักษาหรือไม่ก็ตาม) เมื่อมีลูก ย่อมมีความเสี่ยงที่จะถ่ายทอดความเจ็บป่วยมาทางพันธุกรรมได้เช่นกัน

ความเสี่ยงต่อมา คือ พ่อแม่ที่มีปัญหาด้านบุคลิกภาพ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิตชนิดหนึ่งที่สะท้อนวิธีคิดไม่เหมาะสม ไปตามปัญหาของพ่อแม่เหล่านั้น เช่น ชอบใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ไม่มีทักษะในการสื่อสาร หรือ แก้ปัญหาอย่างไม่มีเหตุผล

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึง พ่อแม่ที่มีความขัดแย้งกันหลายเรื่อง พ่อคิดอย่าง แม่คิดอย่าง ทำให้ลูกเกิดความสับสน และไม่รู้จะเชื่อใครดี ในที่สุดก็ตามเพื่อน เพราะคิดว่าเข้าใจที่สุด อีกทั้งพ่อแม่ที่มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร ถึงแม้จะไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่ก็พบว่า เป็นสาเหตุที่เจอได้บ่อยในการทำให้ลูกสับสนในการดำเนินชีวิต เช่น การไม่สื่อสารแบบตรงไปตรงมา จนลูกสับสนว่า โลกแห่งความเป็นจริงนั้นคืออะไร หรือ การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลเป็นอย่างไร

ไม่ต่างจาก ครอบครัวที่ขาดความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา มีความเสี่ยงเหมือนกัน เพราะบางเรื่องหากตึง หรือหย่อนเกินไป โดยอ้างเหตุผลความชอบของตนเอง แต่ไม่ได้อ้างอิงตามสถานการณ์ภายนอก หรือ มาตรฐานของสังคมที่ควรจะเป็น อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของลูกได้

4 วิธีเลี้ยงลูกให้ล้มเหลวในอนาคต

1. ลูกโตมาท่ามกลางความเอาอกเอาใจ

การเลี้ยงลูกผิดๆ ของพ่อแม่ ในประเภทที่เอาอกเอาใจให้ได้ทุกอย่าง หรือ คอยช่วยเหลือจนลูกไม่เคยช่วยเหลือตัวเอง หรือ พบกับความผิดหวัง และความยากลำบากด้วยตัวเองเลย จนลูกกลายเป็นเด็กหลงตัวเอง ซึ่งแทบไม่รู้จักคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต เด็กเหล่านี้เสี่ยงต่อการเติบโตเป็นเด็กที่เอาแต่ใจ  ขาดการควบคุมอารมณ์ที่ดีพอ ตามมาด้วยปัญหารุนแรงต่าง ๆ เช่น ก้าวร้าวใส่ผู้อื่น หรือ อาจจะก้าวร้าวใส่ตัวเองก็เป็นได้  นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด และ อะไรทั้งหลายที่พึงติดได้ ไม่ว่าจะเป็น เกม อินเทอร์เน็ต การพนัน เป็นต้น

วิธีเลี้ยงลูก

2. ลูกเติบโตมาท่ามกลางพ่อแม่ที่ขาดวินัย

คือไม่สามารถเป็นแบบอย่างของการมีวินัยให้ลูกเห็นได้  รวมทั้งไม่สามารถควบคุมลูกให้อยู่ตามกฎเกณฑ์ที่ควรเป็นได้ เพราะรู้สึกว่า  การควบคุมให้ลูกมีวินัยนั้น เป็นการทำร้ายจิตใจลูก ดังนั้น เด็กที่โตมาท่ามกลางชีวิตที่ไม่มีกฎระเบียบ ไม่มีเป้าหมายในชีวิต จะขาดความอดทนต่ออุปสรรคต่างๆ ที่ประดังเข้ามา

3. ลูกโตมาโดยขาดความรักอย่างแท้จริง

ไม่ใช่การตามใจแล้วบอกว่ารัก หรือ เลี้ยงลูกด้วยการให้เงินปรนเปรอความสุขเพื่อทดแทนเวลาที่พ่อแม่ไม่สามารถให้ได้  มักนำไปสู่ปัญหาบุคลิกภาพแบบขาดความรัก พึ่งพิงผู้อื่น และ อิจฉาผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา  ส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้มักลงเอยด้วย อารมณ์ซึมเศร้า หรือ บางรายถึงกับคิดสั้นฆ่าตัวตายก็มี

4. ลูกโตมาโดยขาดคุณธรรม และจริยธรรม

การเลี้ยงลูกผิด ข้อนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากพบว่า เด็กที่เกิดมาท่ามกลางครอบครัว หรือ คนใดคนหนึ่งในครอบครัวที่ขาดคุณธรรมจริยธรรม เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ๆ จนกลายเป็นสันดานโจรติดตัวในที่สุด

สุดท้าย นพ.กัมปนาท ฝากถึงพ่อแม่ทุกคนว่า การลงทุนเลี้ยงลูกด้วยใจ มีความสำคัญกว่าการให้เงิน นอกจากนี้ ระเบียบวินัย เป็นเรื่องสำคัญมากในครอบครัว ที่สำคัญคุณธรรมจริยธรรม พ่อแม่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็น เมื่อนั้นครอบครัวจะมีลูกที่เติบโตท่ามกลางความภาคภูมิใจในตัวเอง พ่อแม่และลูกต่างก็มีความสุขด้วยกันทุกฝ่าย รวมถึงมีอนาคตที่สดใสด้วย

 ...........................................................

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจาก

amarinbabyandkids.com

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี
 HealthyBrain

สนับสนุนโดย อเลอไทด์  อาหารเสริมบำรุงสมอง 
เพิ่มสมาธิ เพิ่มความจำ เพิ่มการเรียนรู้
ช่วยลดความเครียด ปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น
ทำให้ปรับพฟติกรรมได้ง่ายขึ้น นอนหลับสนิท
ส่งผลให้มี
ผลการเรียน ดีขึ้น

ปรึกษาปัญหาเด็กแอลดี/สมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์
โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,831