คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่า ความสุขของพ่อแม่ คือการพัฒนาลูกให้ฉลาด มีความสามารถ และ ยังต้องมีความสุข เรียกได้ว่า ทั้งเก่ง ดี และ มีสุข ไปพร้อมๆ กัน โอกาสทองแห่งการพัฒนาเด็กคือวัย แรกเกิด-5 ขวบแรก เนื่องจากเป็นวัยที่สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีความตื่นตัว และ สนองสนใจสิ่งต่างๆ ช่างซักถาม คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และ ครู จึงเอ็นดูเด็ก และไม่เบื่อหน่ายในการสอน เป็นวัยที่เหมาะจะสร้างความแข็งแกร่งเป็นพื้นฐาน สำหรับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ และ ประสบความสำเร็จในอนาคตจึงมีคำกล่าวว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก เนื่องจากติดเป็นนิสัยเสียแล้ว

   ไอคิว (IQ) มาจาก Intelligence Quotient คำว่า Intelligence หมายถึง เชาวน์ปัญญา ความคิด ไหวพริบ ความฉลาด ความเข้าใจ รู้จักคิด สิ่งนี้จึงช่วยเด็กในการเรียนรู้ด้านต่างๆ ตั้งแต่ความสามารถด้านพัฒนาการวัยเด็ก จนถึงการเรียน การทำงาน ไอคิว จะดีหรือไม่ขึ้นกับ พันธุกรรม อาหาร แล้ว ยังขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูอีกด้วย เด็กที่ ไอคิว มีปัญหาอาจแสดงออกแตกต่างกันตามระดับความรุนแรง เช่น อาจมีปัญหาพัฒนาการทางกล้ามเนื้อหรือภาษาล่าช้า หรือโตขึ้นมีปัญหาการเรียน หลายรายอาจมาด้วยปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว เนื่องจากการสื่อสารบอกความต้องการจำกัด แต่การเลี้ยงดูและฝึกฝนที่เหมาะสม สามารถช่วยให้เด็กมีการพัฒนามากขึ้นได้

   แต่เด็กอีกหลายรายที่ไอคิวดี เรียนเก่ง แต่กลับมีปัญหาสังคมกับเพื่อน ไม่เป็นที่รัก หรือไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อน ทำให้ไม่มีความสุขกับการไปโรงเรียน แยกตัว หงุดหงิดง่าย อาการเหล่านี้แสดงว่ามีปัญหาด้าน อีคิว (EQ) ซึ่งมาจากคำว่า Emotional Quotient คือ ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางอารมณ์ ประกอบด้วย ทักษะหลายด้าน คือ ความสามารถในการรู้จักตนเองอย่างแท้จริง มีความสามารถยับยั้ง ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา และ ยินดีให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ตลอดจนมีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิตตนเอง มีวินัยในตนเอง มีความอดทน มานะ บากบั่น พากเพียร สิ่งเหล่านี้จะมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้น ต้องอาศัยการสอนจากผู้ใหญ่ปลูกฝัง ตั้งแต่วัยเด็ก ไม่ใช่สิ่งที่ได้ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเหมือนไอคิว แต่จะเป็นส่วนเสริมไอคิว ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตและมีความสุข ผู้ที่มีแต่ไอคิวดี แต่ขาดอีคิว ในที่สุดจะเข้าตำรา ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกเป็นเช่นนั้น

   หากลูกดีทั้ง ไอคิว อีคิว แต่ขาดสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ เอ็มคิว(MQ) ซึ่งมาจาก Moral Quotient คือคุณธรรม จริยธรรม สังคมเราคงมีแต่คนทำงานเก่ง ประจบเก่ง เข้าหาคนเก่ง แต่คดโกง ปลิ้นปล้อน ในที่สุดจะพาสังคมตกต่ำ และไม่เป็นเกียรติเป็นศรีแก่วงศ์ตระกูล

   ทุกศาสนามีการสอดแทรก คุณธรรมจริยธรรมอยู่เสมอ ดังนั้นหากพ่อแม่พยายามปลูกฝังตั้งแต่เด็ก จะทำให้เด็กซึมซับ โตขึ้นเด็กจะมีคุณธรรมประจำตัว ทำให้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องและมีความสุขสมดังที่พ่อแม่ปรารถนา

   หากเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีในวัยเด็ก จะส่งผลต่อเนื่องไปจนโต อาจกลายเป็นคนที่ทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้า กลัว ซึมเศร้า ซึ่งคนในกลุ่มนี้จะมองว่า ตัวเองไร้ค่า อาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็น คนเกเร ก้าวร้าว ต่อต้านสังคม ซึ่งคนในสองกลุ่มดังกล่าว มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่เริ่มโตขึ้น แต่ก็มีบางส่วนที่อาจจะเป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะมีพรสวรรค์ด้านอื่นเป็นพิเศษมาช่วยชดเชย ทำให้เด็กเกิดความภูมิใจ หรือพ่อแม่และคนในครอบครัว มีความเข้าใจจึงดูแลเป็นอย่างดี

   ดังนั้นการเลี้ยงดูอย่างถูกวิธี ความรัก-ความเข้าใจของพ่อแม่ และ การให้ลูกได้เรียนรู้ในวัยที่เค้าสมควรได้เรียนรู้นั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากลูกไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกวิธีนั้น อาจจะเกิดผลกระทบในระยะยาวต่อลูกได้ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของผลการเรียน การเข้าสังคม หรือ หน้าที่การงานในอนาคต

------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

พญ.ปราณี เมืองน้อย กุมารแพทย์-จิตแพทย์เด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

ด้วยความหวังดีจาก

ศูนย์สมองดี HealthyBrain

 

ปรึกษาปัญหาเด็กแอลดี/สมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,773