การใช้ดนตรีในการแก้ปัญหา เด็กแอลดี หรือ และ เด็กสมาธิสั้น

 
การใช้ดนตรี และ ศิลปะในการแก้ปัญหา
 
เด็กแอลดี เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (learning disabilities : LD) และ เด็กสมาธิสั้น
พ่อแม่ผู้ปกครองหลายๆคน คงจะมีความวิตกกังวล และ กลุ้มใจอยู่มาก หากพบว่าบุตรหลาน ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคม และ ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ตามเกณฑ์ของช่วงอายุนั้นเหมือนเด็กคนอื่นๆ 
 
ดนตรี นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความสุขแล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนา "เด็กพิเศษ" ได้
 
 "เด็กพิเศษ" อาจจะหมายถึง เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ และ การดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งวิธีการดูแลเด็กแต่ละกลุ่ม ก็มีความแตกต่างกัน และ จะได้ผลมากน้อยขึ้นกับว่า เด็กแต่ละคนได้รับการค้นพบเร็วหรือช้าด้วย  ยิ่งเริ่มต้นดูแล เอาใจใส่  แก้ไขข้อบกพร่อง ตามวิถีทางที่ถูกต้อง เด็กก็จะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้น 
 
การใช้เสียงดนตรี ซึ่งก็เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากนี้ เป็นสิ่งที่สามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหา และ ช่วยพัฒนาเด็กพิเศษกลุ่มอาการต่างๆ ได้ในระดับที่น่าพอใจ
 
ดนตรี ช่วยให้เด็กฟัง เกิดการรับรู้ ในสมองเกิดการทำงาน เมื่อทำกิจกรรมดนตรี ก็เกิดการร่วมมือของประสาทส่วนต่างๆ ตากับมือ มือซ้ายกับมือขวา เมื่อเต้นรำ ก็มีการทำงานร่วมกันของขาขวา-ซ้าย-มือขวา- ซ้าย และ ร่างกายส่วนต่างๆ  ดนตรีช่วยให้เด็กรอคอยเป็น และ เป็นสิ่งที่สำเร็จได้เร็ว ไม่ต้องรอคอยนาน ถ้าเขาทำเพลง 1 นาทีได้สำเร็จ  ก็เป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งแล้ว 
 
เด็กพิเศษ  ต่างมีประสบการณ์แห่งความล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อถูกเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น  ดนตรีจึงเป็นกิจกรรมที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
“คุณครูบอกว่า ลูกมีปัญหาสมาธิสั้นค่ะ”
 
“น้องนั่งไม่นิ่ง ทำอะไรได้ไม่นาน ต้องพูดซ้ำแล้วซ้ำอีก”
 
“น้องไม่ตั้งใจฟังคำสั่ง เหม่อลอย จะทำแต่สิ่งที่ตนเองสนใจเท่านั้น”
 
“น้องไม่ตั้งใจเรียน ซุกซน ดื้อมากเลยค่ะ”
 
"ดนตรี" กับเด็กพิเศษ
 
เด็กพิเศษ แต่ละคน แม้จะไม่สามารถฝึกทักษะการเล่น การร้องได้เท่ากับเด็กปกติ แต่ทุกคนก็สามารถทำกิจกรรมดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่งได้แน่นอน  ไม่มีใครสักคนที่หมดหวังจนไม่เหลืออะไร หรือ ทำอะไรไม่ได้เลย  เด็กพิเศษ มีปัญหาทางสมอง หรือ ทางอารมณ์มากๆ บางคนอาจตี แทมเบอรีน เข้าจังหวะได้  ตีกลองในลีลาที่ครูกำหนดให้ได้  บางคนร้องเพลงได้ และ ยังมีอีกกลุ่มที่ถึงกับเล่นเครื่องที่ยากขึ้น  อย่างเช่น เปียโน หรือ กลองชุด

ข้อดีของดนตรี คือ มีเครื่องมือหลายชนิดให้เลือก เล่น เหมาะกับแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดนตรีไทย หรือ สากล ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคาะ กลอง หรือ เครื่องที่มีระดับเสียงอย่างเช่น กีตาร์ ระนาด ซอ และ เครื่องดนตรีทุกชิ้น มีเสน่ห์ในตัวเอง  เด็กพิเศษที่มีปัญหาทางสมอง จึงมีโอกาสเลือกได้มากว่าจะเล่นอะไร บางคนอาจหลงใหลน้ำเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิด และ สามารถนั่งฟัง และ ทำกิจกรรมอยู่นานๆ

ดนตรี เป็นเรื่องราวการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด ไม่จำเป็นต้องย่ำอยู่แต่เรื่องของทักษะ เช่น การเล่นเครื่องดนตรีให้เป็นแต่อย่างเดียว เรายังสอนให้เด็กรักดนตรี ให้ชอบฟัง ให้รู้จักเพลงที่มีลีลา อารมณ์ แตกต่างกัน สอนให้เต้นรำ เต้นเข้าจังหวะ  นำเด็กเข้ามามีส่วนในการทำกิจกรรมดนตรีแบบต่างๆ  นี่แหละคือ โอกาสดีที่จะพัฒนาเด็กแล้ว

การเปิดโอกาสให้ลูกสัมผัสโลกของดนตรีอย่างจริงจัง และ ได้พบความมหัศจรรย์อย่างที่ไม่คาดคิด ลูกบางคนแม้จะพูดไม่ได้ แต่ก็สามารถเล่นดนตรีได้ และ มีอีกภาษาที่จะสื่อให้คนอื่นได้รับรู้ถึงความรู้สึกข้างในของเขา และ เขามีโอกาสทำให้คนอื่นได้รู้ว่า... เขามีความสามารถเหมือนกันนะ  วันเดือนปีที่ผ่านไป ได้สะสมความรู้ความเข้าใจทางดนตรี  เด็กคนนี้ จึงมีบางอย่างในชีวิตที่คนพิเศษทั่วไปไม่มี

กระบวนการ... ดนตรีกับเด็กพิเศษสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการช่วยลูก

  > สิ่งแรกจะต้องสังเกตว่าเด็กสามารถนั่งฟังเพลง นิ่งๆ แม้สัก 5-6 วินาทีได้หรือเปล่า
  > ดูด้วยว่า เด็กเลียนแบบได้หรือไม่ เพราะ มีเด็กบางคนช่วงแรกๆ เลียนแบบไม่เป็น และ ไม่สามารถที่จะนั่งนิ่งได้

การเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน แต่เมื่อการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนไปถึงจุดที่เด็กเริ่มเข้าใจแล้ว  สามารถแบ่งย่อยได้อีกว่า เราจะให้เขาร้องเพลง หรือ เล่นเครื่องดนตรี หรือ เต้นรำ  ถ้าจะฝึกร้องเพลง ก็ฝึกทักษะการเปล่งเสียงด้วยคำง่ายๆ ที่เด็กคุ้นเคยก่อน แล้วนำคำเหล่านี้มาร้องเป็นทำนอง  มีจังหวะอยู่ในนั้นโดยไม่รู้ตัว  ค่อยๆ เรื่อยๆ และ บ่อยๆ ซึ่งเป็นการสอนให้เด็กเลียนแบบได้ เปล่งเสียงได้

เรื่องของดนตรี เป็นเรื่องของการให้เวลา พ่อแม่ที่กำลังสอนดนตรีให้กับลูก พอลูกทำเลียนแบบได้ ร้องได้ เต้นได้ จบเพลงปุ๊บ ชมลูกได้เลย พอชมปั๊บ ความรู้สึกดีๆในตัวเด็กแผ่ซ่านไปทั้งตัว จะเห็นได้ว่า นอกจากดนตรีให้ทักษะด้านต่างๆแล้ว ให้อารมณ์ที่สุนทรียะกับเด็กเป็นอย่างมาก

เด็กแต่ละคนมีขีดจำกัด ความสามารถของสมองไม่เหมือนกัน อาการสมาธิสั้น อาจมีผลกระทบ หากเด็กยังอยู่ในวัยเรียน และ อาจส่งผลจนถึงตอนโต ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาหรือแก้ไขให้ถูกวิธี
 
 

ปรึกษาปัญหาเด็กแอลดี/สมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 412,451