ไอคิวกับอีคิว แตกต่างกันอย่างไร

อะไรคือความแตกต่างระหว่าง ไอคิวกับอีคิว แล้วต้องเสริมลูกแบบไหน ถึงจะทำให้ลูกฉลาดยิ่ง ๆ ขึ้น !

   คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าทั้ง ไอคิวกับอีคิว นั้นแตกต่างกันอย่างไร ?  วันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids ได้นำข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตมาฝากกัน พร้อมแนะลูกจะฉลาดอย่างเดียวไม่พอ จะต้องเป็นคนดีด้วย แต่ก่อนที่เราจะไปอ่านต่อนั้น เรามาทำความรู้จักกับทั้งสองอย่างนี้พร้อม ๆ กัน

ไอคิว คืออะไร?

   ไอคิว สามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า Intelligence Quotient (IQ) ถูกคิดค้นขึ้นโดย LM Terman เมื่อปี 1916  โดยหมายถึง ความฉลาดทางเชาว์ปัญญา โดยเฉพาะในเรื่องการคิด ความจำ การใช้เหตุผล การคำนวณ และ การเชื่อมโยง  ซึ่งเป็นศักยภาพ หรือ ความสามารถทางสมอง ที่แต่ละบุคคลมีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด โดยถูกกำหนดจากพันธุกรรม จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ยาก

ไอคิววัดระดับได้อย่างไร?

   ทั้งนี้การที่จะวัดระดับไอคิวได้นั้น ต้องทดสอบความรู้ความสามารถในทักษะด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ การใช้ภาษา ความคิดเชิงตรรกะ การมองเห็น การจัดหมวดหมู่ ความจำ ความรู้ทั่วไป และ ความรวดเร็วในการคำนวณ

อีคิว คืออะไร?

   อีคิว เรียกอีกอย่างว่า Emotional Quotient (EQ) หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และ มีความสุข  ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1990 ซาโลเวย์  และเมเยอร์ สองนักจิตวิทยาได้นำความคิดนี้มาพูด  โดยเอ่ยถึงความฉลาดทางอารมณ์เป็นครั้งแรกว่า “เป็นรูปแบบหนึ่งของความฉลาดทางสังคม ที่ประกอบด้วย ความสามารถในการรู้อารมณ์ และ ความรู้สึกของตนเอง และ ผู้อื่น สามารถแยกความแตกต่างของอารมณ์ที่เกิดขึ้น และ ใช้ข้อมูลนี้เป็นทางชี้นำในการคิด และ กระทำสิ่งต่างๆ”

   จากนั้น แดเนียล โกลแมน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ก็สานต่อแนวคิดนี้อย่างจริงจังโดยได้เขียนหนังสือเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ และ ได้ให้ความหมายของอีคิวว่า “เป็นความสามารถหลายด้าน ได้แก่ การเร่งเร้าตนเองไปสู่เป้าหมาย มีความสามารถควบคุมความขัดแย้งของตนเอง รอคอยเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถจัดการกับอารมณ์ที่สบายต่าง ๆ มีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง”

อะไรคือ องค์ประกอบหลัก ?

  1. การตระหนักรู้ตนเอง เป็นการรับรู้และเข้าใจ ความรู้สึก ความคิด และ อารมณ์ของตนตามความเป็นจริง และสามารถควบคุมความรู้สึกได้
  2. ความสามารถในการบริหารจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด มีเทคนิคในการคลายเครียด สลัดความวิตกจริตรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ฉุนเฉียว สติแตกได้ง่าย
  3. เป็นการรับรู้อารมณ์ และ ความต้องการของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา และ สามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
  4. สามารถจูงใจตนเอง ควบคุมความต้องการจากแรงกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม สามารถรอคอย ตอบสนองความต้องการได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ดีกว่า มองโลกในแง่ดี สามารถจูงใจและให้กำลังใจตนเองได้
  5. สามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

ไอคิวกับอีคิว แตกต่างกันอย่างไร?

  • ไอคิวนั้น เป็นเรื่องราวของความฉลาดทางเชาว์ปัญญา ซึ่งแต่ละบุคคลมีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และ อาจมีระดับไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถวัดและประเมินออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้
  • ส่วน อีคิว เป็นความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้  โดยไม่สามารถวัดและประเมินออกมาเป็นค่าที่แน่นอนได้

   ดังจะเห็นได้ว่า ไอคิวนั้นเป็นความฉลาดทางสติปัญญาที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยเป็นความฉลาดทางด้านการคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ ความจำ และ การเชื่อมโยง ซึ่งสามารถวัดและประเมินออกมาเป็นค่าที่แน่นอนได้นั่นเอง

  พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเผยว่า ให้ลูกฉลาดอย่างเดียว ก็คงจะไม่เพียงพอ ต้องให้ลูกเป็นคนดีด้วย พร้อมแนะ 3 วิธีเสริมดังนี้

  • ทักษะด้านการคิด  เป็นการใช้คณิตศาสตร์เข้ามาเสริม  เช่น ความเข้าใจเรื่องจำนวน ความสามารถในการแยกสิ่งที่เหมือนกัน ต่างกัน  ความสามารถแก้โจทย์ที่เป็นตัวตั้งต้นนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ตรงนี้ จะส่งผลต่อการคิดของเด็ก เพราะ เขาจะเข้าใจตรรกะ เข้าใจเรื่องเหตุและผล
  • ทักษะการใช้ภาษา  สามารถฝึกได้โดย ผ่านกระบวนการพูดคุย การอ่าน หรือ ใช้เรื่องเล่าต่าง ๆ ว่า แต่ละสถานการณ์ เด็กควรทำอย่างไร ภาษาเป็นช่องทางนำไปสู่ความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรื่องของตัวเด็กเองให้คนอื่นเข้าใจ  หรือ เขาสามารถคุยกับคนอื่น ไม่ว่าเพื่อนวัยเดียวกันหรือคนรอบข้าง
  • ทักษะด้านอารมณ์  พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก ควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กมีจิตอาสา ทำสาธารณประโยชน์ ตลอดจนสังเกตทักษะด้านอารมณ์ของเด็ก รู้จักทำอะไรให้กับคนอื่น ซึ่งตรงนี้ต้องออกแบบให้เด็กรู้สึกสนุกที่อยากทำอย่างนั้น  เวลาเห็นคนอื่นมีความสุข จะทำให้เด็กอยากทำ

   จะเห็นได้ว่า เราจะเลี้ยงลูกให้ฉลาดอย่างเดียวเลยก็คงไม่พอ ดังนั้น เรามาส่งเสริมให้ลูกน้อยของเราทั้งฉลาดและเป็นคนดี เพื่อให้พวกเขาเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมกันดีกว่านะคะ

--------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก

กรมสุขภาพจิต

amarinbabyandkids.com

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 394,118