ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นแบบไหน ??

" รู้จัก เข้าใจ เพื่อดูแลเด็ก LD ได้อย่างถูกต้อง จะได้ให้การช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างทันท่วงที และ สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ไม่ต่างจากเด็กปกติ "

Learning Disorder (LD) คือ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นโรคที่เกิดในเด็กวัยเรียนที่มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือ สูงกว่า 

คุณครู หรือ ผู้ปกครองหลายท่านมักเข้าใจผิดคิดว่า เด็ก LD คือ เด็กเรียนช้า หรือ มีเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ แต่จริงๆ แล้ว LD เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อการเรียน ทำให้ผลการเรียนลดต่ำลง ส่งผลต่อพฤติกรรมการปรับตัวในชั้นเรียน เป็นภาวะบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมักแสดงออกมาในรูปของปัญหาด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณ การใช้เหตุผล รวมถึง ปัญหาเกี่ยวกับ ทักษะการควบคุมกล้ามเนื้อมือ และ ทักษะอื่นๆ ร่วมด้วย

LD เกิดจากอะไร

สาเหตุการเกิดโรค LD ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่จากงานวิจัยที่ผ่านมาสามารถสรุปสาเหตุ ได้ 3 ปัจจัยดังนี้

  • ความผิดปกติของสมองซีกซ้าย  

สมองส่วนนี้ เป็นส่วนที่ควบคุมการแสดงออกทางด้านภาษา เด็กปกติสมองซีกซ้ายจะมีขนาดโตกว่าสมองซีกขวา แต่ในเด็ก LD จะมีสมองสองซีกเท่ากัน จากการศึกษาพบว่า เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์  เด็กที่มีไข้สูง หรือ ภาวะสมองขาดออกซิเจน ต่างมีภาวะเสี่ยงต่อโรค LD

  • พันธุกรรม 

จากการศึกษาพบว่า เด็ก LD มีความความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15 และ สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับอาการ LD  แต่อาจไม่ส่งผลต่อการเรียน การทำงาน และ พฤติกรรมการปรับตัวที่เด่นชัดนัก

  • สิ่งแวดล้อม  

เช่น การได้รับพิษตะกั่วปนเปื้อนในอาหาร อากาศ น้ำ ซึ่งพิษตะกั่วจะทำลายเซลล์สมองบางส่วน หรือ จากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้พัฒนาการทางสมองไม่สมบูรณ์

LD แยกตามอาการสำคัญ 

  • ด้านคำนวณหรือคณิตศาสตร์ (Arithmetic) 

ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข และ จำนวน เช่น ไม่รู้ค่าของเลขหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย ฯลฯ  นับเลขไปข้างหน้า หรือ ถอยหลังไม่ได้ จำสูตรคูณไม่ได้  ไม่สามารถทำตามขั้นตอนคูณ-หาร ได้  โดยเฉพาะเลขหลายหลัก  มีปัญหาการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

  • ด้านการอ่าน (Reading) 

มีความยากลำบากในการอ่าน เช่น อ่านช้า อ่านคำต่อคำ อ่านข้ามคำ อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันวรรณยุกต์ไม่ได้  ต้องสะกดคำ จึงจะอ่านได้ อ่านแล้วจับประเด็น หรือ เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้

  • ด้านการเขียนสะกดคำ (Spelling) 

เด็กมักเขียนตัวอักษร หรือ ตัวเลขสลับกลับกัน เช่น ม เป็น น , ค เป็น ด , p เป็น q , d เป็น b , 6 เป็น 9  และ ไม่สามารถเขียนพยัญชนะ ก ถึง ฮ ได้  แต่สามารถบอกให้เขียนเป็นตัวๆ ได้

สัญญาณและอาการของภาวะ LD มีอะไรบ้าง สามารถสังเกตเห็นได้หรือไม่ ?

โดยทั่วไปอาการส่วนใหญ่ จะสังเกตได้ชัดขึ้น เมื่อเด็กเข้าเรียนแล้ว สัญญาณเตือนของภาวะ LD ได้แก่

✔️ เรียนไม่ทันเพื่อน ผลการเรียนไม่ดี ไม่สามารถเลื่อนชั้นตามเพื่อนได้
ภาวะดังกล่าวไม่ได้เกิดจาก ความขี้เกียจ แต่เกิดจากการเสียทักษะทางด้านการเรียนรู้ ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนได้เท่ากับความสามารถของเด็กวัยเดียวกัน  ผลการเรียนจึงตกต่ำลง และ สอบตก จนไม่ได้เลื่อนชั้นในที่สุด

✔️ มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม
มักเกิดจากเมื่อเด็กเสียทักษะการเรียนรู้แล้ว  ทำให้ไม่อยากเรียนรู้ หรือ เสียสมาธิ  จึงถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย  บางครั้งเด็กๆ ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะสมาธิสั้น ชอบส่งเสียงดังในห้อง หรือ อยากเล่นอยากคุยกับเพื่อนขณะเรียน จนกลายเป็นตัวป่วนของห้อง ทำให้คุณครูคิดว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสม  ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะ LD ก็เป็นได้

✔️ ไม่อยากไปโรงเรียน
เด็กจะมีความพยายามในการหาเหตุผล เพื่อให้ได้หยุดเรียน  แม้แต่อาจโกหกว่า ไม่สบาย หรือ บ่นว่าไม่ชอบเรียน เนื่องจากอาจขาดความเชื่อมั่นในความสามารถด้านการเรียนของตัวเอง  จากการที่เรียนไม่ทันเพื่อน  โดนเพื่อนว่า  โดนครูตำหนิหรือทำโทษ  ไม่ว่าจะเป็นจากสาเหตุที่เกิดจากการเสียทักษะจนไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่เรียนได้  หรือ การเสียสมาธิ และ ชวนเพื่อนคนอื่นคุยหรือเล่น  จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็ตาม

✔️ ใช้เวลาทำงานหรือการบ้านที่ครูให้มากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
การสูญเสียทักษะด้านการเรียนรู้  ทำให้เด็กทำงานหรือการบ้านได้ช้าลง จนบางครั้งถูกมองว่าไม่ขยัน  ไม่ใส่ใจ จนเกิดเป็นความเครียดขึ้น ยิ่งถ้าอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่คาดหวังกับลูกมากเกินไป  โดยเฉพาะ พ่อแม่ที่เปรียบเทียบความสามารถของลูกกับเด็กคนอื่น  อาจนำมาซึ่งปัญหาทางพฤติกรรมอื่นๆ อีก

ภาวะ LD เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ?

ภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ หรือ ภาวะ LD  มีตั้งแต่ระดับน้อยถึงระดับมาก  เป็นความผิดปกติที่ไม่สามารถทำให้หายขาดได้  การที่เด็กประสบความสำเร็จด้านการเรียนน้อยกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน  อาจทำให้เด็กกลุ่มนี้ มีปัญหาด้านการขาดความมั่นใจในตนเองตามมา และ อาจนำไปสู่ปัญหาด้านจิตใจ และ พฤติกรรมในที่สุด  อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีภาวะ LD ยังสามารถพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ และ ใช้ชีวิตอยู่กับภาวะดังกล่าวได้  หากได้รับการรักษา และ ฝึกฝนอย่างถูกต้อง

 จะช่วยเด็ก LD ได้อย่างไร

ผู้ปกครอง คุณครู ครูการศึกษาพิเศษ นักจิตวิทยา และ จิตแพทย์  ควรมีบทบาทในการช่วยเหลือเด็ก LD ร่วมกัน ดังนี้

  • ฝึกให้เด็กอ่าน เขียน พยัญชนะ ควบคู่ไปกับ การดูภาพประกอบ ซึ่งเป็นวิธีฝึกจำแบบเชื่อมโยง เด็กจะสามารถจดจำคำซึ่งสอดคล้องกับภาพและเสียงได้ง่ายขึ้น
  • สร้างแรงจูงใจให้เด็กสนุกกับการอ่าน  เริ่มจากหนังสือนิทาน การ์ตูน ข่าว สารคดี แล้วค่อยๆ พัฒนาสู่เนื้อหาที่ซับซ้อนมากขึ้น  เพื่อฝึกให้เด็กได้จับใจความสำคัญของเรื่องได้ง่ายขึ้น
  • ฝึกการคิดเชิงเหตุผลบ่อยๆ  โดยใช้ศิลปะ หรือ เกมช่วยให้เกิดการเรียนรู้
  • สร้างกำลังใจในการเรียน  โดยการให้รางวัล เช่น คำชมเชยเมื่อเด็กทำได้สำเร็จ หรือ เด็กได้พยายามทำในสิ่งนั้นอย่างเต็มความสามารถ
  • เปลี่ยนพฤติกรรมจากการตำหนิ  ลงโทษ  เป็นความเข้าใจ และ สนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
  • การจัดระบบชั้นเรียนที่เหมาะสม  ซึ่งจำเป็นมากที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือเฉพาะทาง เช่น การเข้าชั้นเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ  การเข้าชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ
  • เข้าคอร์สปรับพฤติกรรมกับนักจิตวิทยา หรือ นักการศึกษาพิเศษ

โรค LD สามารถเกิดร่วมกับโรคอื่นๆ ได้บ่อย เช่น  โรคสมาธิสั้น  ดังนั้นแพทย์จึงมีบทบาทในการประเมิน วินิจฉัยภาวะต่างๆที่เด็กมี  ร่วมถึงให้การรักษาภาวะเหล่านั้น เช่น โรคสมาธิสั้น หากได้รับยาช่วยให้มีสมาธิ อาการของโรคก็จะดีขึ้นมาก

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก

เว็บไซต์ honestdocs.co
คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
กระทรวงสาธารณะสุข

=========================================

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain

สนับสนุนโดย อเลอไทด์  อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
 ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
 มีทักษะการอ่านเขียน คำนวณ ดีขึ้น
√ ช่วยปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
√ ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น 

**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

 

ปรึกษาปัญหาเด็กแอลดี/สมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,817