กระเเสการใช้งานเครื่องมือสื่อสารออนไลน์ ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ล่าสุดแพทย์ญี่ปุ่นเตือน ให้ลูกเล่นมือถือ ส่งผลเสียทุกด้าน
มือถือ เป็นอันตรายต่อเด็ก
สมาคมกุมารแพทย์แห่งญี่ปุ่น ออกโปสเตอร์เตือนอันตรายของการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ซึ่งผลกระทบด้านลบต่อเด็กทั้งสุขภาพกาย , การเรียน และ พัฒนาการด้านต่างๆ
ภาพโปสเตอร์เตือนถึงอันตรายของการใช้สมาร์ทโฟน จะถูกจัดส่งไปยังสถานพยาบาล 170,000 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นการตั้งคำถามว่า “เราจะสูญเสียอะไรไปบ้าง เมื่อใช้เวลากับสมาร์ทโฟน ?” เพื่อเตือนให้ผู้ปกครองใส่ใจถึง ผลกระทบต่อสมาร์ทโฟนที่มีต่อเด็ก
6 ผลกระทบ จากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป
- ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ
- ผลการเรียนย่ำแย่ลง
- สมรรถภาพทางกายลดลง
- สายตาแย่ลง
- พัฒนาการทางสมองช้าลง
- ความสามารถในการสื่อสารลดลง
ผลกระทบต่อการต้องมองจอโทรศัพท์ ทำให้สายตาเสีย , นอนหลับไม่เพียงพอ และ ขาดการออกกำลังกาย จนสุขภาพถดถอยลงนั้น เป็นเรื่องที่ทราบกันดี แต่ผลกระทบต่อ สมอง และ การเรียน ก็ได้รับการพิสูจน์โดยผลการสำรวจแล้ว
มือถือยิ่งเล็ก ผลกระทบยิ่งมาก
ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น พบว่า ตั้งแต่ปี 2014 นักเรียนชั้นประถมและมัธยมที่ใช้เวลากับโทรศัพท์มาก จะยิ่งมีผลการเรียนถดถอยลง นอกจากนี้ การจ้องมองจอภาพเป็นเวลานาน ยังมีส่วนทำลายสมอง และ ทำให้ประสิทธิภาพ เรื่องความจำ ถดถอย อีกด้วย
ผลการวิจัยเคยพบว่า โทรทัศน์ ส่งผลลบต่อพัฒนาการของเด็ก เพราะ เป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้เด็กขาดพัฒนาการ ด้านการสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ แต่ สมาร์ทโฟน ซึ่งมีจอขนาดเล็ก จะยิ่งมีผลเสียมากกว่า
ผู้ปกครองควรจำกัดเวลาการดู โทรทัศน์ เล่นเกม และ ใช้สมาร์ทโฟน ของเด็กให้ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรให้ดูโทรทัศน์ หรือ ใช้คอมพิวเตอร์ และ โทรศัพท์โดยสิ้นเชิง
เด็กติดเกมสูงขึ้น 1.5 เท่า อายุน้อยสุดเพียง 5 ขวบ
วันนี้(21 พ.ค.2560) นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ รายงานว่า
ในปี 2560 นี้ ช่วง 3 เดือนแรก พบผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับการวินิจฉัยว่า มีปัญหาพฤติกรรม และ อาการเสพติดเกม อยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง ที่ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างเร่งด่วน และต่อเนื่อง รวมจำนวน 53 คน ซึ่งเป็นสถิติที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 1.5 เท่าตัวในรอบ 3 ปี ร้อยละ 96 เป็นชาย
โดยจิตแพทย์ตรวจพบว่า เด็กกลุ่มนี้จะมีโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคสมาธิสั้น โรคดื้อต่อต้าน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคกล้ามเนื้อตากระตุก โรคบกพร่องทักษะการเรียนรู้
นอกจากนี้ยังพบปัญหา พฤติกรรมโกหก ขโมยเงิน เล่นการพนัน หนีเรียน ไม่ยอมไปโรงเรียน และ หนีออกจากบ้าน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 14 - 16 ปี แนวโน้มพบอายุน้อยลงเรื่อยๆ น้อยที่สุดคือ 5 ขวบ ซึ่งสัมพันธ์กับปัญหาการเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย นับว่าเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก โดยเรื่องติดเกมนี้ ยังเป็นปัญหาอันดับ 2 ที่พ่อแม่โทรปรึกษาสายด่วน 1323 รองจากปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น เช่น เรื่องความรัก
เตือนเกมโมบ้า อันตรายต่อสมอง
อธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกว่า สิ่งที่กังวล ขณะนี้เรายังเข้าใจผิดคิดว่า เกมบนสมาร์ทโฟน เกมออนไลน์ การแข่งขันเกมต่อสู้ออนไลน์ คือ ของเล่นของเด็กทุกวัย เข้าใจผิดว่า การแข่งขันเกมต่อสู้ออนไลน์ ที่รู้จักกันว่า โมบ้า ซึ่งเป็นเกมที่มีลักษณะจำลองการต่อสู้เสมือนจริงของทั้ง 2 ฝ่าย ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นและเยาวชนทั่วโลก เล่นกันเป็นทีม เป็นกีฬาทางสมอง หรือ ที่เรียกว่า อี-สปอร์ต( E-Sports) ซึ่งแท้จริงแล้ว เกมโมบ้า มีอันตรายต่อสมองที่บริเวณสมองส่วนหน้าของเด็ก และวัยรุ่น ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การคิดวิเคราะห์ สมาธิ ความจำ และ การตัดสินใจด้วยเหตุผล ซึ่งมีผลต่อการควบคุมความคิด อารมณ์ และ พฤติกรรมโดยตรง สมองส่วนนี้จะทำงานลดลง
ในขณะที่สมองส่วนอยาก หรือ ที่เรียกว่า ระบบลิมบิก จะทำงานเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยความอยาก ความสนุกตื่นเต้น ความท้าทาย จากการต่อสู้ และ การได้คะแนน หรือ ชัยชนะในเกมบ่อยๆซ้ำๆต่อเนื่องนานๆ จะนำไปสู่วงจรสมองติดเกมในที่สุด เป็นการเสพติดทางพฤติกรรม จนเกิดความเคยชิน จึงเลิกยากมาก ซึ่งขณะนี้จิตแพทย์พบว่า เกมชนิดนี้กำลังเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้เด็กติดเกมมากจนต้องเข้ารับการบำบัด
อาการติดขนาดไหนถึงต้องพบแพทย์
ด้านพญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า เด็กทุกคนที่เล่นเกม จะมีโอกาสติดเกม สถาบันฯได้ร่วมกับ รพ.รามาธิบดี และ ศิริราชพยาบาล ศึกษาปัญหาติดเกมในประเทศไทยในพ.ศ.2558 พบว่า วัยรุ่นไทยมีอัตราเสพติดเกมร้อยละ 13.3 -16.6 จึงคาดว่า มีวัยรุ่นไทยติดเกมประมาณ 1.3 – 1.6 ล้านคน แนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันเด็กที่ติดเกมส่วนมาก จะมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักกีฬาอี-สปอร์ต ซึ่งโอกาสที่จะเป็น ซุปเปอร์สตาร์ในวงการนักแข่งเกม มีน้อยมากเพียง 0.00007 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
นอกจากนี้ยังพบวัยรุ่นมีแนวโน้ม ก่อพฤติกรรมรุนแรง จากการเลียนแบบเกมที่เล่น และ ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงเข้าถึง เกมพนันในหมู่วัยรุ่น อายุ15-24 ปี เป็นนักพนันหน้าใหม่ร้อยละ 0.6 ด้วย
อาการที่แสดงว่า เด็กกำลังเกิดปัญหาติดเกม ที่ผู้ปกครองต้องพาไปพบจิตแพทย์โดยด่วน ได้แก่ เด็กใช้เวลาหมกมุ่นอย่างมากกับการเล่นเกม อินเตอร์เน็ต จนเกิดการกระหายโอกาสในการเข้าถึง เด็กใช้เวลาเล่นนานกว่า 2 ชั่วโมง และ มีอาการถอน คือ อาการหงุดหงิด กระวนกระวาย อาละวาด เมื่อบอกให้หยุดเล่นเกม เด็กอาจมีอาการแตกต่างกัน เช่น บางคนแค่หงุดหงิด บางคนรุนแรงทำลายข้าวของ ทำร้ายพ่อแม่ ทำร้ายตัวเอง ขาดสมาธิการเรียน โดดเรียน ไม่ยอมไปโรงเรียน บางคนอดนอน ขโมยเงิน ท้อแท้สิ้นหวังในโลกความเป็นจริง
==================================
♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้ ให้ลูกน้อย
เรียนออนไลน์แบบมีสมาธิ ไม่เครียด ด้วย "อเลอไทด์"
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
√ เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
√ ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น
√ ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"