กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน วอกแวก พ่อแม่ควรทำอย่างไร ?

กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน วอกแวก พ่อแม่ควรทำอย่างไร?

กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น

ในเด็ก 100 คน จะเป็นสมาธิสั้น 3-5 คน ซึ่งก็มีทั้งเป็น โรคสมาธิสั้นแท้ และ สมาธิสั้นเทียม เด็กบางคนไม่ได้เป็นสมาธิสั้นจากโรค แต่เป็นสมาธิสั้นเทียม ที่เกิดจากการเลี้ยงดู   การตัดสินว่าใครเป็นโรคสมาธิสั้น ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น 

โรคสมาธิสั้นในเด็ก ยิ่งเจอเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี และ ไม่ควรปล่อยให้เป็นปัญหาสะสมจนเด็กโต เพราะถ้าปล่อยให้ อายุเกิน 7 ปีไปแล้ว พฤติกรรมเหล่านั้น จะกลายเป็นพฤติกรรมที่ถาวรและปรับยาก  หากพ่อแม่เห็นว่าลูกเริ่มกลายเป็นเด็กสมาธิสั้น วอกแวก ซุกซน ไม่ค่อยจดจ่อกับอะไรนานๆ  ลองใช้ กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น เพื่อปรับพฤติกรรมลูกกันดีกว่า

 
สาเหตุที่ลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น 
 
สาเหตุมาจาก สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง โดยเฉพาะในสมองส่วนหน้า ที่ควบคุมเรื่องสมาธิ ความจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจ และ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติ

อาการที่แสดงออกคือ ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย อยู่ไม่นิ่ง ซน ควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ยาก และ หุนหันพลันแล่น  ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก การทำกิจวัตรประจำวัน และ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น  สร้างความกลัดกลุ้มให้กับพ่อ แม่ ผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นห่วงการใช้ชีวิตอนาคตของลูกหลาน

กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น

วิธีทำตารางกิจกรรมสำหรับลูก

ก่อนที่จะให้ลูกทำกิจกรรมอะไร สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำคือ สร้างตารางกิจกรรมในแต่ละวันให้กับลูกน้อย มีวิธีการดังนี้

  • แยกเป็นวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) และ วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์)    เช่น วันธรรมดา : ตื่นนอนตอนเช้าต้องทำอะำรบ้าง โดยที่พ่อแม่ช่วยคิดลำดับของกิจกรรมที่ต้องทำด้วย แต่พอเด็กอายุ 6 ปี ขึ้นไป ก็ให้ลูกได้ลองออกแบบตารางกิจกรรมเอง
  • ควรเริ่มจากกิจกรรมที่ใช้ความอดทนมากๆ ก่อนที่จะให้ทำกิจกรรมสนุกสนาน เช่น ทำการบ้านก่อนไปเล่น
  • ควรใส่เวลาพักผ่อนลงไปด้วย
  • ให้ระบุช่วง “ฟรีสไตล์”  ในแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้ลูกน้อยได้เลือกทำกิจกรรมอะไรก็ได้อย่างอิสระ
  • นำตารางไปแปะให้ลูก หากว่าลูกไม่ได้ทำตามตาราง พ่อแม่ก็แค่ชี้ให้ลูกดูเท่านั้น ส่วนระยะเวลาไม่ต้องเป๊ะมากก็ได้
 
วิธีปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น
  1. ควรฝึกลูกให้ทำอะไรเสร็จเป็นอย่างๆ อย่าให้ลูกทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น กินข้าวไปดูทีวีไป เพราะเด็กจะไปจดจ่อกับทีวีมากกว่าการกินข้าว ดังนั้นควรฝึกให้ลูกกินข้าวเสร็จแล้วค่อยดูทีวีจะดีกว่า

  2. ควรมีนาฬิกาที่ลูกเห็นชัดๆ สะดวกๆ เนื่องจากเด็กสมาธิ มักจะมีปัญหาเรื่องทำะไรชักช้า ไม่ว่าจะกินข้าว หรือ อาบน้ำก็ตาม  การที่มีนาฬิกาเรือนใหญ่ๆ จะทำให้ลูกเห็นได้ง่ายระหว่างที่ทำกิจกรรม  หากลูกยังดูนาฬิกาไม่เป็น  คุณพ่อ คุณแม่ ก็อาจที่จะติดสติ๊กเกอร์ที่ลูกชอบลงบนตัวเลขที่ต้องการให้เขาดูได้  แล้วก็บอกลูกว่า ควรทำแต่ละกิจกรรมนานเท่าไหร่

  3. หาวิธีพูดให้ลูกสนใจ  ปัญหาอีกอย่างของเด็กสมาธิสั้น คือ เด็กมักไม่ค่อยอยู่นิ่ง และ ไม่สนใจกับสิ่งที่ผู้อื่นกำลังสื่อสาร ดังนั้น ก่อนที่พ่อแม่จะพูดอะไร ควรดูก่อนว่าลูกตั้งใจฟังเราพูดก่อนหรือไม่   ไม่ใช่ตาจ้องอยู่กับ โทรทัศน์ หรือ tablet   

    โดยเทคนิคที่ใช้มีดังนี้
    • พ่อแม่ควรบอกลูกว่าให้หยุด แล้วฟังแม่ก่อน แต่ถ้าลูกไม่หยุดสนใจ อาจต้องยืนขวางทีวีแล้วพูด จากนั้นค่อยขอโทษลูก
    • พยายามพูดให้สั้น ง่าย และ ชัดเจน ไม่ควรพูดประโยคยาวๆ เพราะเด็กอาจจะงงได้ง่าย และ พูดทวนในสิ่งที่พูดออกไปด้วย
     
    ไม่ควรตามใจลูก การตามใจลูกเป็นสิ่งที่ต้องห้าม เพราะเ ด็กสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาเรื่องรอคอยไม่เป็น ขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พ่อแม่จึงต้องคอยฝึกให้ลูกควบคุมอารมณ์ตนเองให้ได้

  4. จัดบ้านให้โล่งๆ มีของน้อยชิ้น การที่บ้านรกหรือมีของเล่นเยอะ อาจเป็นการเพิ่มสิ่งเร้าให้กับลูก เนื่องจากเด็กสมาธิสั้น มักมีความไวต่อสิ่งรอบข้าง ดังนั้น พ่อม่ควรที่จะหากล่อง หรือ ตู้ทึบ เพื่อให้เขาไว้เก็บของเล่น หรือ หนังสือการ์ตูนในขณะที่เขากำลังทำกิจกรรมอื่นๆ

  5. สอนให้ลูกรู้จักจดสิ่งที่ต้องทำไว้ เพราะเด็กสมาธิสั้น มักจะมีปัญหาเรื่องของการขี้ลืม เริ่มแรกพ่อแม่อาจจะจดให้ลูกว่า ลูกต้องทำอะไรบ้าง เวลาที่พ่อแม่สั่งลูกหลายๆ อย่างพร้อมกัน สอนให้ลูกลูกจักเช็คสิ่งของที่ลูกชอบลืมบ่อยๆ เช่น ยางลบ ดินสอ
กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น
 
กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  1. กิจกรรมเพื่อทำสมาธิ 
          √ กิจกรรมที่ต้องใช้ดนตรี การเล่นดนตรี เป็นการฝึกระเบียบวินัย และ สมาธิ  เนื่องจากเด็กต้องคุมจังหวะ ไม่ให้เร็วไป หรือ ช้าไป
          √ กิจกรรมที่ใช้การกะระยะ เช่น โยนบอลลงตะกร้า สนด้ายเข้ารูเข็ม ร้อยลูกปัด ร้อยมาลัย
          √ กิจกรรมที่ต้องใช้ความใจเย็น เช่น  การต่อก้อนไม้ หรือ เหรียญเป็นหอคอย เลี้ยงไข่ด้วยช้อน
          √ กิจกรรมที่ต้องอาศัยการสังเกต และ ความจำ เช่น เกมจับผิดรูปภาพ

  2. กิจกรรมที่ต้องใช้ศิลปะ พ่อแม่อาจให้ลูกเอามือจุ่มสี แล้วแปะลงบนกระดาษ หรือ การวาดรูปให้เหมือนแบบ หรือ การระบายสีให้ไม่ออกนอกกรอบ

  3. กิจกรรมที่เป็นกีฬา แนะนำให้เป็นกีฬาจำพวก กะระยะ เช่น ปิงปอง เทนนิส ฟุตบอล กอล์ฟ โบว์ลิ่ง เปตอง และ แบตมินตัน


    ==================================
    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจากเว็บไซต์
    th.theasianparent.com
    ข้อมูลอ้างอิงจาก manager.co.th

    ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain
    สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง

    √ เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
    ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
    √ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
     ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
    ช่วยปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
     ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น 

     

    **เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
    ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

     

ปรึกษาปัญเด็กสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,558