5 ขั้นตอนการดุลูก สอนลูกอย่างไร ไม่ทำให้ลูกพัฒนาการถดถอย

สอนลูกอย่างไร 

 อย่างที่เห็นแล้วว่า การดุลูกและการสอนลูกไม่ให้ทำพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้น ไม่ควรดุด้วยอารมณ์ หรือ น้ำเสียงที่ดูคุกคามข่มขู่ เพราะนอกจากไม่ได้ผลแล้ว ยังมีผลเสียต่อลูกอีกต่างหาก แต่จะดุลูกอย่างไร ถึงจะให้ลูกได้รู้จักปรับปรุงตัว เพื่อให้ตนเองมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทีมงาน  Amarin Baby & Kids มีขั้นตอนในการดุลูกอย่างมีชั้นเชิง และ การสอนลูกอย่างไร  ไม่ส่งผลต่อพัฒนาการ

1. สงบสติอารมณ์ของตนเอง

    การที่ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ดี ย่อมทำให้คุณพ่อคุณแม่โกรธเป็นธรรมดา แต่หากคุณพ่อคุณแม่ดุลูกในขณะที่ตนเองยังมีอารมณ์โกรธอยู่นั้น จะยิ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่เผลอตะคอกใส่ลูก หรือ ใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมและทำร้ายจิตใจลูกได้โดยง่าย ๆ ส่งผลให้ตัวคุณพ่อคุณแม่เอง เสียใจต่อการกระทำ และ คำพูดของตนเอง หลังจากที่ได้ดุหรือทำโทษลูกไป 

ดังนั้น หากรู้ตัวเองว่ากำลังโมโหอยู่ ควรหยุดเพื่อสงบสติอารมณ์ตนเองก่อนที่จะดุลูก โดยคุณแม่อาจจะใช้วิธีเดินหนีไปก่อน เพื่อให้ทั้งลูกและตนเองได้สงบสติอารมณ์กันก่อน แล้วค่อยเริ่มการดุและคุยกันด้วยเหตุผล

2. ไม่ตะคอก ไม่ขู่ ไม่ทำให้ขายหน้า

   การดุ คือการสอน การใช้เสียงดังเพื่อข่มให้ลูกกลัวและฟังสิ่งที่ตนเองกำลังพูด ไม่ได้ช่วยให้ลูกยอมรับฟังเหตุผลของคุณพ่อคุณแม่ด้วยความเต็มใจ  การขู่ลูกว่า หากทำเช่นนี้แล้วจะทำให้ผีมาหลอก  ตำรวจมาจับ ตุ๊กแกมากินตับ ก็ไม่ได้ช่วยให้ลูกเข้าใจเหตุผลที่ตนเองถูกดุที่แท้จริงด้วยเช่นกัน 

การที่ลูกหยุดทำพฤติกรรมที่ไม่ดีเพราะการขู่นั้น  เป็นเพราะลูกกลัวสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ขู่  ไม่ได้หยุดเพราะเข้าใจว่ากำลังทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และ สำหรับการดุลูกต่อหน้าคนนอื่นนั้น จะทำให้ลูกเสียหน้า ขาดความมั่นใจ รู้สึกอาย และ รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ให้เกียรติ จนไม่อยากรับฟังในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พยายามสอน แม้ว่าจะเป็นคำสอนที่ดีขนาดไหนก็ตาม

3. ตำหนิที่การกระทำ  ไม่ใช่ที่ตัวลูก

   คุณพ่อคุณแม่ต้องแยกระหว่างการกระทำของลูกและตัวลูก ก่อนที่ลูกจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ลูกก็เป็นเด็กดี เชื่อฟัง ดังนั้นการดุว่า ทำไมเป็นเด็กเกเรอย่างนี้ ทำไมเป็นคนไม่ดีอย่างนี้ ลูกแย่มากที่พูดจาอย่างนี้  คำพูดเหล่านี้ ล้วนเป็นการตำหนิที่ตัวลูก ว่าเป็นคนไม่ดี  ไม่เป็นที่รักของพ่อแม่  คำพูดเหล่านี้ก็เหมือนคำที่มาตอกย้ำให้ลูกไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง สูญเสียความมั่นใจ ไม่มีกำลังใจในการปรับปรุงตัว

แต่หากคุณพ่อคุณแม่ลองเปลี่ยนมาตำหนิที่การกระทำของลูก เช่น “แม่ไม่ชอบที่ลูกแกล้งน้อง” หรือ “แม่ไม่ชอบที่ลูกพูดคำหยาบ”  ทำให้ลูกรับรู้ว่า การกระทำนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ชอบ ไม่ยอมรับ และ จะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น

ดุลูกอย่างไร

4. รับฟังเหตุผลและถามความคิดเห็นในมุมมองของลูก

   การเป็นผู้ใหญ่ บางทีก็อาจมองข้ามเหตุผลสำคัญของเด็กไป จึงอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจว่า ที่ลูกมีพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นเพราะอะไร เลยตัดสินลูกว่า สิ่งที่ลูกทำอยู่นั้นไม่ถูกต้อง จะต้องได้รับการลงโทษเท่านั้น การไม่รับฟังความคิดเห็นของลูกนั้น จะทำให้ลูกต่อต้านอยู่ในใจ และ ไม่อยากอธิบายหรือเล่าอะไรให้คุณพ่อคุณแม่ฟังอีกเลย เพราะหากเล่าหรือพูดไปก็จะโดนดุอีก และ การที่ลูกไม่อยากอธิบายหรือเล่าอะไรให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง ย่อมส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ครอบครัวในระยะยาวอย่างแน่นอน

ดังนั้นการรับฟังเหตุผลและความคิดเห็นในมุมมองของลูก จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่า ลูกมีเหตุผลจูงใจอะไรให้ทำพฤติกรรมที่ไม่ดี เมื่อรับฟังเหตุผลของลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ควรอธิบายถึงเหตุผลว่า ทำไมถึงห้ามไม่ให้ทำพฤติกรรมเหล่านี้ ลูกจะได้เข้าใจและไม่ทำอีก

5. ร่วมกันแก้ไขปัญหาและแนะแนวทางที่ถูกต้อง

   เมื่อเข้าใจเหตุผลกันแล้ว ลูกจะยังไม่รู้ว่าควรจะแก้ไขพฤติกรรมตนเองไปทางไหนเพื่อไม่ให้ถูกดุ คุณพ่อคุณแม่ลองบอกแนวทางว่าในครั้งต่อไป หากลูกเจอเหตุการณ์อย่างนี้อีก ควรจะทำตัวอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกคนโตลงมือตีน้อง แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะบอกกับลูกว่า ห้ามตีน้อง ลองบอกทางแก้ปัญหาให้ลูก เช่น “ลูกไม่จำเป็นต้องตีน้อง ต่อไปนี้ถ้าน้องทำอะไรให้หนูไม่พอใจให้มาบอกแม่” เพราะการห้ามลูกโดยไม่บอกวิธีการแก้ปัญหา เมื่อลูกไม่พอใจน้อง ก็จะตีน้องอีก

   หากคุณพ่อคุณแม่ทำตามขั้นตอนที่กล่าวไปนี้ ก็จะช่วยให้ลูกปรับปรุงตัวอย่างเต็มใจและยังช่วยให้ลูกมีพัฒนาการและพฤติกรรมไปในทางที่ดีได้อีกด้วย

 

 ---------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจากเว็บไซต์

กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

ข้อมูลอ้างอิงจาก manager.co.th

ด้วยความหวังดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์

ปรึกษาปัญเด็กสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 409,303