วิจัยชี้ พ่อแม่ระวัง! ตะคอกใส่ลูก ทำลายสมอง ลูกโตไปเป็นเด็กมีปัญหา

ตะคอกใส่ลูก

   รู้หรือไม่…การลงทำโทษที่ใช้วิธีรุนแรง ด้วยการเฆี่ยนตีว่าหนักแล้ว แต่การยิ่งพ่อแม่โมโห ทั้งเผลอและตั้งใจ ตะโกน ตะคอกใส่ลูก หรือ ใช้คำพูดเจ็บๆ แรงๆ  ถือเป็นการลงโทษด้วยวาจาที่ทิ่มแทงหัวใจลูก ส่งผลต่อจิตใจ และ ความรู้สึกของลูกเข้าไปได้อีก

   มีผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมสุดแย่ของพ่อแม่ที่ชอบ ตะคอกใสลูก หรือ การว่ากล่าวด้วยคำหยาบคาย พูดไปแบบไม่คิด การลงโทษลูกด้วยวาจาลักษณะนี้ จะทำให้ลูกโตขึ้นมา กลายเป็นเด็กมีปัญหา มีพฤติกรรมที่ชอบโกหก ลักขโมย และ เป็นเด็กก้าวร้าว เกเร ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนที่โรงเรียนได้

   โดยดอกเตอร์หมิง ที หวัง รองศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาการศึกษา ของมหาวิทยาลัยพิตต์เบิร์ก สหรัฐอเมริกา กล่าวถึงผลการศึกษาในเรื่องนี้จากกลุ่มพ่อแม่ครอบครัวชนชั้นกลางในสหรัฐอเมริกา ราว 976 ครอบครัว พบว่า มีพ่อแม่จำนวนมากที่ใช้วิธีตะโกนดุด่าว่ากล่าวลูกเสียงดัง ใช้คำที่ทำร้ายความรู้สึกลูก โดยเด็กที่ถูกลงโทษด้วยวิธีนี้บ่อย ๆ  จะมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้มากกว่า เด็กที่ไม่เคยถูกพ่อแม่ตะคอกใส่ หรือ ว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น อายุ 13-14 ปี ที่ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

   ซึ่งดอกเตอร์หมิง กล่าวเพิ่มว่า แม้จะเป็นครอบครัวที่พ่อแม่ลูกสนิทกัน แต่ความเข้าใจของพ่อแม่ที่คิดว่า การดุด่านั้นเกิดจากความรัก ความหวังดีกับลูก และ เข้าใจว่าลูกจะเข้าใจในเรื่องที่พ่อแม่ดุ  แต่จริงๆ แล้วการกระทำแบบนี้นี่แหละ ที่จะส่งผลร้ายต่อตัวลูกทั้งทางจิตใจ รวมถึง ก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดีจากพ่อแม่ได้

   รู้หรือไม่…การลงทำโทษที่ใช้วิธีรุนแรงด้วยการเฆี่ยนตีว่าหนักแล้ว แต่การยิ่งพ่อแม่โมโห ทั้งเผลอและตั้งใจ ตะโกน ตะคอกใส่ลูก หรือใช้คำพูดเจ็บ ๆ แรง ๆ ถือเป็นลงโทษด้วยวาจาที่ทิ่มแทงหัวใจลูก ส่งผลต่อจิตใจ และความรู้สึกของลูกเข้าไปได้อีกนะคะ

   มีผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมสุดแย่ของพ่อแม่ที่ชอบ ตะคอกใสลูก หรือการว่ากล่าวด้วยคำหยาบคาย พูดไปแบบไม่คิด การลงโทษลูกด้วยวาจาลักษณะนี้ จะทำให้ลูกโตขึ้นมากลายเป็นเด็กมีปัญหา มีพฤติกรรมที่ชอบโกหก ลักขโมย และเป็นเด็กก้าวร้าว เกเร ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนที่โรงเรียนได้

   โดยดอกเตอร์หมิง ที หวัง รองศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาการศึกษา ของมหาวิทยาลัยพิตต์เบิร์ก สหรัฐอเมริกากล่าวถึงผลการศึกษาในเรื่องนี้จากกลุ่มพ่อแม่ครอบครัวชนชั้นกลางในสหรัฐอเมริการาว 976 ครอบครัว พบว่ามีพ่อแม่จำนวนมากที่ใช้วิธีตะโกนดุด่าว่ากล่าวลูกเสียงดัง ใช้คำที่ทำร้ายความรู้สึกลูก โดยเด็กที่ถูกลงโทษด้วยวิธีนี้บ่อย ๆ จะมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้มากกว่าเด็กที่ไม่เคยถูกพ่อแม่ตะคอกใส่หรือว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น อายุ 13-14 ปี ที่ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

   ซึ่งดอกเตอร์หมิง กล่าวเพิ่มว่า แม้จะเป็นครอบครัวที่พ่อแม่ลูกสนิทกัน แต่ความเข้าใจของพ่อแม่ที่คิดว่าการดุด่านั้นเกิดจากความรัก ความหวังดีกับลูก และเข้าใจว่าลูกจะเข้าใจในเรื่องที่พ่อแม่ดุ แต่จริง ๆ แล้วการกระทำแบบนี้นี่แหละที่จะส่งผลร้ายต่อตัวลูกทั้งทางจิตใจ รวมถึงก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดีจากพ่อแม่ได้

นักวิจัยชี้ชัด! พ่อแม่ ตะคอกใส่ลูก ทำลายสมอง เสี่ยงลูกโตไปเป็นเด็กมีปัญหา

ตะคอกใส่ลูก

 

    อีกทั้งยังมีผลวิจัยของ ดร.ลอลา มาร์คัม ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา บอกไว้ว่า การที่พ่อแม่ตีลูกและขึ้นเสียงเพื่อทำให้เด็กๆ อยู่ในระเบียบ ถือเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปแล้ว

   แม้ในอดีตมันอาจจะได้ผล แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน พูดง่ายๆ คือ การมีระเบียบวินัย ไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบที่ผู้ปกครองวางไว้เสมอไป และ ถ้าหากพ่อแม่ขึ้นเสียงกับเด็กๆ ก็เท่ากับว่า เป็นการบังคับให้เด็กๆ อยู่ในระเบียบวินัย หรือ เป็นการเลี้ยงดูลูกที่ล้าสมัย และ นักวิจัยหลายคนได้ให้สัมภาษณ์ผ่านเว็บไซต์การเลี้ยงดูทารกน้อย ระบุว่า การเลี้ยงดูลูกน้อยด้วยวิธีดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการทบทวนใหม่

สอดคล้องกับที่ ดร.มาร์คัม ได้บอกว่า

“ การตะโกนใส่หน้าลูกๆ ไม่เป็นผลดีต่อสมองของเด็กๆ ขณะเดียวกัน ยังทำให้สมองหลั่งสารเคมีที่ก่อให้เกิดการต่อต้าน และ ส่งผลต่อการเติบโตของลูกน้อยอีกด้วย ที่สำคัญ เด็กก็มักจะแสดงปฏิกิริยาต่อสู้กับพ่อแม่ นิ่งใส่ หรือ ตีพ่อแม่ บางครั้งอาจวิ่งหนี และ เขม็งตาใส่

พฤติกรรมที่กล่าวมา ล้วนไม่ส่งผลดีอะไรเลย ที่สำคัญ การที่ผู้ปกครองตะโกนใส่หน้าเด็กๆ ด้วยอาการเกรี้ยวกราด นัยหนึ่งก็เท่ากับเป็นการสอนเรื่องการใช้ความรุนแรง ผ่านการแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ซึ่งไม่ต่างจากการแสดงความรุนแรงผ่านทางกายแต่อย่างใด และ พฤติกรรมดังกล่าว สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังเด็กที่กำลังจะโตได้ ”

   นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็ก ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารพัฒนาการลูกน้อย “Child Development” เมื่อปี 2013 ระบุไว้ว่า “การตะโกนใส่หน้าลูก อันที่จริงแล้วหมายถึงการสาปแช่งและดูถูกเด็กๆ ซึ่งถือได้ว่ารุนแรงไม่ต่างจากการลงโทษทางร่างกาย”

   ขณะที่เว็บไซต์สุขภาพอย่าง “Healthline” ระบุว่า การตะโกนใส่หน้าเด็กๆ มักจะมาพร้อมกับคำพูดดูถูกเหยียดหยาม ซึ่งนั่นถือได้ว่าเป็นการล่วงละเมิดทางอารมณ์ และ แสดงให้เห็นผลเสียในระยะยาว เช่น การที่เด็กเกิดความกังวล และ มีความนับถือตัวเองต่ำ รวมถึงจะทำให้เด็กก้าวร้าว และ ทำให้เด็กอ่อนแอหากถูกแกล้ง เพราะจะทำให้เขาเข้าใจผิดว่า ตัวเองเป็นดังเช่นที่ถูกว่ากล่าว ทำให้เกิดภาวะขี้ขลาด หรือ ไม่มั่นใจในตัวเอง

   ดร.มาร์คัม แนะนำการแก้ปัญหาความรุนแรงดังกล่าว โดยการมองให้เป็นเรื่องตลก โดยเฉพาะเมื่อเด็กๆ ทำผิดพลาด หรือ ทำเรื่องผิดพลาดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เพราะหากพ่อแม่ตอบสนองด้วยอารมณ์ขัน จะทำให้พ่อแม่ยังสามารถรักษาอำนาจการควบคุมลูกไว้ได้ และไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครองเสียไป หรือ หากเด็กๆ แสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก พ่อแม่สามารถหาเวลาพักผ่อนร่วมกัน และ ใช้โอกาสดังกล่าวพูดคุยกัน เพื่อทำให้เด็กมีที่ระบายและปรับตัว ซึ่งจะสร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเด็กๆ นั่นจึงเท่ากับว่า ครอบครัวได้สะท้อนผลที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก ซึ่งไม่ใช่การทำให้ความสัมพันธ์เกิดความแตกแยก

ตะคอกใส่ลูก

6 วิธีระงับใจ ไม่ตะคอกใส่ลูก

1. เปิดวิทยุดังๆ (ถึงดีเจจะกำลังเปิดเพลงที่คุณไม่ชอบก็เถอะ)

2. ออกไปเดินสงบสติแถวๆ บ้าน

3. นึกถึงตอนที่แม่ตะคอกคุณ ว่าตอนนั้นคุณรู้สึกอย่างไรบ้าง

4. คิดถึงลูกในอีก 30 ปีข้างหน้า ซึ่งกำลังคิดว่าตัวเองรู้สึกอย่างไรตอนที่ถูกคุณตะคอก

5. นึกถึงค่าใช้จ่ายในการบำบัดจิต

6. กอดกันดีกว่านะ

   แต่ก็อาจทำให้เกิดปัญหาใหม่อยู่ดี เพราะ พ่อแม่ที่ไม่ตีลูก กลับหันมาใช้วิธีการพูดจาแทนนั้น กลายเป็นว่าเด็กไม่เจ็บตัว แต่กลายเป็นเจ็บใจแทน และ แผลที่เจ็บใจนี่แหละ ที่มักฝังอยู่ในความทรงจำ ทำให้เด็กมักเครียด กลายเป็นเด็กเก็บกด หรือ กดดัน หรือ ต่อต้านด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งก็ต้องอยู่ที่พื้นนิสัยของเด็กด้วย

   เพราะฉะนั้น วิธีที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุด ก็คือก่อนที่จะลงโทษ พ่อแม่ต้องกำหนดกฎเกณฑ์ภายในบ้านก่อน การกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการสอนให้ลูกได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ รวมไปถึงวินัย และ การอยู่ร่วมกันในครอบครัว เป็นการสอนให้ลูกรู้ว่า เมื่อมีกฎเกณฑ์ภายในครอบครัว ก็ต้องปฏิบัติตาม เช่น เมื่อลูกเล่นของเล่นเสร็จก็ต้องเก็บของเล่นเข้าที่ ถ้าลูกไม่เก็บก็แสดงว่าไม่ทำตามกฎกติกา ผลที่ตามมาก็คือ ถูกลงโทษด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

   แต่ถ้าไม่มีกฏกติกาภายในบ้าน เมื่อลูกเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บเข้าที่ พอแม่บอกให้ไปเก็บของเล่น ลูกก็อาจเพิกเฉย ไม่สนใจ และไม่ยอมทำตาม คนเป็นแม่ก็จะรู้สึกโกรธ ไม่พอใจที่ลูกมีพฤติกรรมแบบนี้ ก็เริ่มโกรธ และต่อว่า ในขณะที่ลูกก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ยิ่งเห็นพฤติกรรมที่โกรธของแม่ เด็กบางคนก็อยากท้าทายจนท้ายสุดจากเรี่องเล็กๆ ก็กลายเป็นบานปลายได้ในที่สุด ฉะนั้น พ่อแม่ควรกำหนดกฎเกณฑ์กติกาภายในบ้าน โดยเริ่มง่ายๆ ได้ดังนี้

  1. กฎ กติกา ต้องชัดเจน ปฏิบัติได้ และเข้าใจง่าย
  2. ถ้าลูกโตพอ บางเรื่องก็ควรให้ลูกได้ส่วนร่วมในการกำหนดกฎ กติกาภายในบ้านด้วย
  3. กฎกติกาต้องมีเหตุผล เหมาะสมกับวัยของเด็กที่จะปฏิบัติได้ ไม่บังคับให้เด็กทำตามความต้องการของพ่อแม่
  4. ควรสร้างทางเลือก เพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือก หรือตัดสินใจด้วยตนเอง
  5. เมื่อวางกฎ กติกาแล้ว ต้องใช้และยึดถืออย่างสม่ำเสมอ
  6. สร้างขั้นตอนของการทำโทษเมื่อผิดกฎ กติกา เริ่มจากเตือนทันทีเมื่อลูกทำผิดกฎ หรือ กำหนดบทลงโทษเป็นขั้นตอน โดยต้องรับรู้ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูกตั้งแต่แรก
  7. ชื่นชมเมื่อลูกปฏิบัติได้ตามกฎ กติกาที่วางไว้ พ่อแม่ต้องจัดการอารมณ์ของตัวเองก่อน ถ้ากรณีที่ลูกไม่เชื่อฟัง ต้องมีเทคนิคในการลงโทษที่ลูกเหมาะสมกับวัยด้วย

   แต่อย่าลืมด้วยว่าเมื่อกำหนดกฎกติกาแล้ว ก็ต้องบอกสมาชิกทุกคนในครอบครัว ให้ยอมรับร่วมกันด้วย จากนั้น ถ้าหากมีปัญหาขึ้นมา เช่น ลูกไม่ปฏิบัติตาม พ่อแม่ก็ต้องเตือนว่า ลูกกำลังฝ่าฝืนกฎนะจ๊ะ ให้พูดด้วยท่าทีที่อ่อนโยน ไม่ใช่น้ำเสียงที่ดุดัน และ ถ้าหากลูกไม่เชื่อฟัง และ เริ่มท้าทาย พ่อแม่ก็อย่าเพิ่งอารมณ์เสีย ขอให้ควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อน

   ซึ่งถ้าพ่อแม่มีอาการโกรธ หรือ โมโหแล้ว ต้องรีบจัดการกับอารมณ์ของตัวเองให้ได้ หรือ ไม่ก็สลับบทบาทพ่อหรือแม่ ใครที่สามารถรับมือกับสถานการณ์นั้นได้ดีกว่า ก็เป็นคนนั้น ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องตระหนัก และต้องหาทางช่วยให้ลูกจัดการอารมณ์ของตัวเองให้ได้ มิเช่นนั้นแล้วเขาหรือเธอตัวน้อยอาจติดพฤติกรรมโมโหร้าย หรือเจ้าอารมณ์ไปจนโตก็ได้

   อีกประการก็คือ การเข้าใจธรรมชาติของเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้ว่าลูกของเราเป็นเด็กอย่างไร  ยิ่งว่า เหมือน ยิ่งยุ หรือไม่ หรือ พื้นฐานเอาแต่ใจตัวเองหรือไม่ ถ้าพ่อแม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก การจัดการก็ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของเด็กด้วย เป็นเทคนิคของคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องรู้ให้เท่าทันและมีไหวพริบให้เท่าทันลูกน้อยด้วย เพราะบางครั้งลูกของเราสองคน ทำผิดเรื่องเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะใช้วิธีการลงโทษแบบเดียวกันแล้วจะได้ผลเหมือนกัน

   ที่สำคัญอย่าลืมด้วยว่า การลงโทษทุกครั้ง ลูกจะรับรู้และสัมผัสได้ว่า การลงโทษของพ่อแม่ เป็นการลงโทษด้วยอารมณ์โกรธ หรือความรัก เป็นการลงโทษด้วย อารมณ์ชั่ววูบ หรือ ระงับโทสะไม่ได้  เพราะผลภายหลังของการลงโทษ ลูกจะกลายเป็นภาพฝังใจประทับตรึงใจเขาไปตลอดชีวิต

 ---------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจากเว็บไซต์

กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

ข้อมูลอ้างอิงจาก manager.co.th

ด้วยความหวังดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์

 

ปรึกษาปัญเด็กสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 394,230