นอนกรนแล้วสมาธิสั้น จริงหรือ?

นอนกรนแล้วสมาธิสั้น จริงหรือ?

ยงานวิจัยล่าสุดจากอังกฤษพบว่า การนอนกรนของเด็กมีความเชื่อมโยงกับพฤติกรรมสมาธิสั้น เพราะอะไร นอนกรนแล้วสมาธิสั้น จริงหรือ?

นอกจากการนอนกรนของเด็กอาจส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องการเจริญเติบโต เนื่องจากนอนหลับไม่สนิท ร่างกายจึงเติบโตได้ไม่เต็มที่ จากรายงานวิจัยล่าสุดจากอังกฤษพบว่า การนอนกรนของเด็กมีความเชื่อมโยงกับ พฤติกรรมสมาธิสั้น ด้วย

จากงานวิจัยพฤติกรรมและการนอนหลับในเด็ก 11,000 คน ที่อาศัยอยู่ในอังกฤษ โดย ดร.คาเรน บานัค จากวิทยาลัยอัลเบิร์ต ไอสไตน์  วิทยาลัยแพทย์ของมหาวิทยาลัย Yeshiva ในนิวยอร์ค รายงานนี้เผยแพร่ใน US Journal Pediatrics พบว่า การหายใจของเด็กที่ นอนกรน ส่งผลเชื่อมโยงให้เด็กมีพฤติกรรมคล้ายกับ สมาธิสั้น  เนื่องจากพบว่า ร้อยละ 40 ของเด็กที่นอนกรน จะเริ่มมีปัญหาพฤติกรรมทางสมองก่อนอายุ 7 ขว

มาริแอนน์ เดวี่ จากองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องการนอนกรน และ ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับในอังกฤษ (British Snoring and Sleep Apnea Society) อธิบายเพิ่มเติมว่า  “พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบถึงความเชื่อมโยงนี้ จึงไม่ได้บอกคุณหมอว่า ลูกนอนกรน ทำให้แพทย์วินิจฉัยโดยพิจารณาจากพฤติกรรมว่า ลูกเป็นสมาธิสั้น จนอาจทำการรักษาโดยสั่งยาควบคุมอาการสมาธิสั้นให้กับลูก ซึ่งหากคุณหมอได้รับทราบข้อมูลเรื่องการนอนกรน จะช่วยเหลือแก้ไขเรื่องการนอนกรน ซึ่งมีส่วนทำให้พฤติกรรม  สมาธิสั้น  ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น หากลูกนอนกรน ควรจะแจ้งให้แพทย์รับทราบด้วย”

 

ลูกนอนกรน หายใจเสียงดังเวลานอน มีอันตรายหรือไม่ ?

ภาวะการนอนกรน เป็นการหายใจเสียงดัง ซึ่งเกิดขึ้นในขณะหลับ พบได้ในทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาพบว่า เด็กประมาณ 3-12 เปอร์เซ็นต์ นอนกรน  การนอนกรนพบบ่อยเป็นพิเศษในช่วงอายุก่อนวัยเรียน (Preschool) หรือ ช่วงระดับชั้นอนุบาล เนื่องจากขนาดของต่อมอดีนอยด์ และ ทอนซิล ที่มักโตเมื่อเทียบกับขนาดของทางเดินหายใจเด็ก

การนอนกรน อาจเป็นอันตรายได้ หากเกิดร่วมกับ ภาวะการหายใจที่ลดลง หรือ หยุดหายใจในขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome) ซึ่งจะส่งผลให้ ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง เด็กเมื่อนอนแล้วหายใจไม่ออก เนื่องจากทางเดินหายใจอุดตัน ก็จะนอนกระสับกระส่าย ตื่นนอนบ่อย ทำให้การนอนหลับตอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ, นอนหลับได้ไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และ การเรียนรู้ และ พัฒนาการของเด็ก

–  มีต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอดีนอยด์โต

–  เด็กที่อ้วนมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

–  มีความผิดปกติของโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจ เช่น มีกรามเล็ก, มีขนาดทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ

–  มีความผิดปกติของสมอง ที่ทำให้การคุมการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น Cerebral Palsy

–  เด็กที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากสาเหตุต่าง ๆ

–  เด็กที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม

–  เด็กที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง

มีอาการหายใจติดขัด, หายใจลำบาก หรือ หยุดหายใจเป็นพัก ๆ นอนกระสับ กระส่าย, เหงื่อออกมากเวลานอน, ตื่นนอนกลางดึกบ่อย ๆ

ปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยควบคุมได้มาก่อน

อ้าปากหายใจ มีปัญหาด้านการเรียน, เรียนได้ไม่ดี

มีปัญหาทางพฤติกรรม, สมาธิสั้น, อยู่นิ่งเฉยไม่ได้

ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ

ง่วงเหงาหาวนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน

มีความดันโลหิตสูง 

เด็กที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจร่วมด้วยในขณะหลับ ทำให้มีออกซิเจนในเลือดลดลง หากมิได้รับการรักษา หรือ แก้ไขอย่างทันท่วงที จะทำให้เด็กมีสติปัญญาต่ำ , ระดับการเรียนรู้ต่ำลง , มีสมาธิสั้น , Active มากไม่อยู่นิ่ง , ง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน , ปัสสาวะรดที่นอน ได้

 ---------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจากเว็บไซต์

gj.mahidol.ac.th

amarinbabyandkids.com

ด้วยความหวังดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์

ปรึกษาปัญเด็กสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,776