เคล็ดลับป้องกันลูกติดจอ ติดมือถือ

พัฒนาการลูกไม่เต็มขั้น เพราะหน้าจอจริงหรือ 

การให้ลูกอยู่หน้าจอนานๆ อาจจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางด้านอื่นๆของเด็ก ซึ่งจะไม่ได้รับการพัฒนาเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น  ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย เช่น การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ จากการเล่นเคลื่อนไหวร่างกาย  พัฒนาการทางด้านสังคม  การใช้ภาษา การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 

ลูกติดไปแล้ว ลูกติดได้ไงเล่นไม่กี่ครั้ง แก้ยังไงดี 

คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันคิด ไม่ทันสังเกตพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่เองว่า แท้จริงแล้วหล่อหลอมลูกมากับสิ่งนี้ ก่อนที่จะปรับแก้พฤติกรรมลูก คุณพ่อคุณแม่ต้องหันกลับมาส่องกระจกดูพฤติกรรมของตัวเราว่า  ทำสิ่งเหล่านี้อยู่หรือเปล่า 

1. เล่นมือถือ หรือ ติดจอ เวลาที่อยู่กับลูกหรือเปล่า

2. จ้องมือถือมากกว่า จะเล่นของเล่นเสริมพัฒนาการกับลูกหรือเปล่า

3. ใช้มือถือเป็นตัวดึงความสนใจจากลูก  เวลาที่ลูกงอแง หรือ เวลาที่คุณพ่อคุณแม่ อยากให้ลูกนิ่งเป็นระยะเวลาหนึ่งหรือเปล่า

4. ใช้การเล่น application ต่างๆในมือถือ เป็นรางวัล เวลาที่ลูกสามารถทำตามเงื่อนไขต่างๆ ที่คุณต้องการได้หรือเปล่า

5. หยิบยื่นมือถือให้ลูก เพื่อตัดรำคาญ เวลาที่ลูกงอแงร้องขอหรือเปล่า

ถ้าคุณหรือคนรอบข้าง มีพฤติกรรมข้อใดข้อหนึ่งที่กล่าวมาแล้ว "การปรับพฤติกรรม" คงต้องเริ่มจากตัวผู้ใหญ่เองก่อน  เด็กเล็กๆจะเรียนรู้ และ เลียนแบบจากพฤติกรรมของผู้ใหญ่ และ คนรอบข้าง  โลกของเด็กเล็กๆจะมีแค่เพียงครอบครัว และ คนที่ดูแลเท่านั้น  ดังนั้น พฤติกรรมของผู้ใหญ่ จึงมีอิทธิพลกับพฤติกรรมของเด็กอย่างมาก

เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ติดหน้าจอ 

1. คุณพ่อคุณแม่ เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่เล่นมือถือ หรือ เกมให้ลูกเห็น 

2. มีกำหนดเวลาที่ชัดเจน เช่น เล่นได้ 1 ชั่วโมง เมื่อถึงเวลา ลูกต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข  ไม่มีการโอนอ่อนผ่อนตาม

3. พาลูกไปออกกำลังกาย  (บางครั้งอยู่ในบ้านเฉยๆทำให้ลูกเบื่อ ไม่รู้จะทำอะไร จึงหันไปเล่นเกม ดูทีวี เล่นมือถือ แท๊บเล็ต)

4. พาลูกไปร่วมกิจกรรมทางสังคม พบปะเพื่อนฝูง เพิ่มทักษะการเข้าสังคม 

5. ตั้งกฏกติกา ภายในบ้านให้ชัดเจน เช่น ห้ามเล่นมือ หรือ ดูทีวี ขณะทำกิจกรรมอื่นๆ 

สำหรับบางบ้านลูกติดไปแล้ว เพิ่งมาเริ่มหย่าเกม หย่าหน้าจอ เป็นเรื่องที่ทำยาก ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็ง ตั้งแต่วันเเรกที่เริ่ม อย่ายอมโดยเด็กขาด เพราะถ้าครั้งแรกไม่สำเร็จ ครั้งต่อไปก็พังเช่นกัน ควรพูดคุยกับลูกก่อนเริ่มตั้งเงื่อนไง และ กำหนดเวลาที่ชัดเจน 

-------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจากเว็บไซต์

ศุนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

กรมกิจการเด็กและเยาวชน

ด้วยความหวังดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,832