เด็กสมาธิสั้น กับ เด็กไฮเปอร์ต่างกันอย่างไร

สัญญาณโรคสมาธิสั้นในเด็กเล็ก

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น  จะไม่สามารถทำอะไรให้เสร็จสมบูรณ์ได้ ต่อให้เป็นงานที่ง่ายที่สุดก็ตาม ปกติเด็กเล็กมักมีสมาธิสั้นกว่าเด็กโตอยู่แล้ว แต่เด็กที่เป็นโรคนี้ จะเริ่มคิดถึงงานถัดไปก่อนที่จะเริ่มทำงานแรกเสียอีก พวกเขาจะไม่สามารถนั่งฟังนิทานเฉย ๆ หรือ แม้แต่ช่วยพับผ้าได้

เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น  จะทำตามคำสั่งหรือประมวลข้อมูลได้ลำบากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน เขาจะพูดตลอดเวลา เพียงเพื่อให้ได้พูด แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่ถามคำถาม “ทำไม” ตลอดเวลา จะเป็นโรคสมาธิสั้น เด็กที่เป็นโรคนี้ จะพูดทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในสมอง และ พูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ

อีกอาการหนึ่งของ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น คือ เขาจะเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น กระโดดบนเตียง กระโดดลงจากโต๊ะ ขยุกขยิก แกว่งแขน แกว่งเท้า เล่นกับอาหาร และ ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้  หมายเหตุ: นี่เป็นอาการทั่วไปของเด็กสมาธิสั้น  ไม่ใช่เด็กที่กำลังตื่นเต้น เพราะจะได้ไปเที่ยวข้างนอกนะคะ

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น  มักมีความคิดสร้างสรรค์ และ ช่างจินตนาการ  สมองของเขาจะวิ่งปรู้ดตลอดเวลา และ อยากทำนู่นทำนี่ไปซะทุกอย่าง มักเป็นพวกที่คิดเรื่องราวประหลาดๆ มาเล่าให้คุณฟังได้เสมอ  ชอบวาดรูปสัตว์หน้าตาประหลาด และเมื่อเริ่มโตขึ้น เขาจะสามารถทำหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันได้ เช่น ฟังคุณพูดไปพร้อม ๆ กับการจดจ่ออยู่กับงานอื่น

การวินิจฉัยของแพทย์เกี่ยวกับอาการสมาธิสั้น

ไม่ว่าลูกของคุณจะมีอาการชัดเจนแค่ไหน เราก็ไม่แนะนำให้คุณพยายามวินัจฉัยโรคด้วยตัวเอง มีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบหลายคน ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น โดยที่พวกเขาไม่ได้เป็น เนื่องจากการวินิจฉัยโรคนี้ ต้องอาศัยเวลาสังเกตพฤติกรรมต่อเนื่อง เด็กในช่วงวัยนี้อาจดูไฮเปอร์ แต่ไม่ได้แปลว่า เขาจะเป็นโรคสมาธิสั้นเสมอไป  อาจแค่อยู่ในช่วงกำลังซน อยากรู้อยากเห็น แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น

Sibling playing เด็กสมาธิสั้นกับเด็กไฮเปอร์แตกต่างกันอย่างไร?

วิธีรักษาอาการสมาธิสั้นที่ดีที่สุด

มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำ เพื่อบรรเทาอาการโรคสมาธิสั้นได้ เช่น ทำให้บรรยากาศในบ้านสงบ งดกิจกรรมที่อึกทึก และอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • เพียงแค่ลองเปลี่ยนอาหารให้ลูก ก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้มาก พยายามงดอาหารแปรรูปที่ใส่สีผสมอาหาร สารเคมี และ อาหารขยะทั้งหลาย ร่างกายของเราถูกออกแบบมาเพื่อให้ย่อยผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และ ผลิตภัณฑ์จากนม  การกินอาหารอย่างระวัง จะช่วยบรรเทาอาการได้โดยไม่ต้องพึ่งยา
 
  • ลดสิ่งกระตุ้นต่างๆ ห้องที่มีสีสันสดใส การเปิดเพลงเสียงดัง วิดีโอเกม หรือ รายการทีวี ที่มีการเคลื่อนไหวเยอะๆ และอื่นๆ จะยิ่งกระตุ้นประสาท และ ทำให้ลูกไม่สามารถจดจ่อได้  พยายามทำให้ทุกอย่างเงียบสงบ หากิจกรรมที่ลูกได้ลงมือทำด้วยตัวเอง ให้ลูกทำก็ช่วยได้เช่นกัน
 
  • ให้รางวัลเมื่อลูกทำงานเสร็จ เพื่อกระตุ้นให้ลูกจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และ ปฏิบัติตัวดีจนกว่างานจะสำเร็จ
 
  • บางครั้งอาการของโรค อาจเกิดขึ้นกระทันหันจนเด็กไม่สามารถเรียนรู้ และ ใช้ชีวิตได้ตามปกติ คุณอาจจำเป็นต้องให้ยา แต่ควรเลือกวิธีนี้เป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากที่ได้ลองวิธีอื่น ๆ แล้ว
 

คุณอาจปรึกษากุมารแพทย์เพิ่มเติม เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโรค การวินิจฉัย วิธีรักษา และ วิธีการฝึกให้ลูกใช้พลังไปในทางที่สร้างสรรค์

---------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์
th.theasianparent.com

ด้วยความหวังดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ 

ปรึกษาปัญหาเด็กสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 412,447