6 วิธีรับมือโรคดื้อต่อต้าน ของลูก

พอลูก ๆ เริ่มโตขึ้นและมีความคิดเป็นของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่อาจจะเจอกับอาการเริ่มดื้อของลูก ซึ่งจริง ๆ แล้วพฤติกรรม “ดื้อ” เป็นเรื่องธรรมดาของเด็ก ๆ แต่ถ้าลูกเข้าข่าย ดื้อต่อต้านแบบมีอารมณ์ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราดที่รุนแรง โมโหง่าย ชอบเถียงพ่อแม่เป็นประจำ พฤติกรรมนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น โรคดื้อและต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder) หรือที่เรียกว่า โอดีดี (ODD) 

สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้ให้นิยาม โรคดื้อและต่อต้าน นี้ว่า “เป็นรูปแบบพฤติกรรมต่อเนื่องจากการไม่เชื่อฟัง และแสดงออกด้วยอารมณ์โกรธเป็นหลัก รวมถึง ดื้อต่อต้านกับพ่อแม่เป็นประจำในระดับที่มากเกินกว่าเด็กปกติทั่วไป สังเกตจากภายนอกง่าย ๆ คือ ด็กจะแสดงอาการดื้อและโกรธง่าย”  ซึ่งอาการนี้มักจะพบในเด็กที่อายุ 8 ปีขึ้นไป เด็กที่มีภาวะโรคดื้อต่อต้านเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานกว่า

โรคดื้อต่อต้าน

เด็กที่เข้าข่ายภาวะโรคดื้อและต่อต้านอาจมีอาการ

  • ปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งพ่อแม่หรือตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่โรงเรียน
  • มีความอดทนต่ำ โมโหง่าย ขี้หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย ก้าวร้าว และมีอารมณ์ฉุนเฉียวตลอดเวลา
  • ชอบเถียงพ่อแม่หรือคนที่โตกว่า
  • ตั้งใจก่อกวน แสดงพฤติกรรมเพื่อให้คนอื่นเกิดความรำคาญ และมักจะรู้สึกรำคาญในการกระทำของคนอื่นได้ง่ายเช่นกัน
  • ไม่ยอมรับผิด และกล่าวโทษคนอื่นในการกระทำผิดของตัวเองแทน

โรคดื้อต่อต้าน

สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นโรคดื้อและต่อต้าน

อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางร่างกาย เช่น

  √ มีความผิดปกติของปริมาณสารเคมีในสมอง หรือ สารสื่อประสาทบางชนิด ที่อยู่ในปริมาณที่ไม่สมดุล หรือ ไม่ทำงานตามปกติ

  √ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม

  √ ปัจจัยด้านจิตใจ

หากพบว่า ลูกมีอาการเหล่านี้ต่อเนื่องกันนานกว่า 6 เดือน อาจนำไปสู่ปัญหาภายในครอบครัว หรือ ที่โรงเรียน และ ส่งผลต่อพฤติกรรมของลูก ทำให้กลายเป็นเด็กที่มองโลกในแง่ร้าย และ ขาดความมั่นใจในตนเองได้ 

นอกจากนี้เด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้าน บ่อยครั้งอาจมีปัญหาทางจิต และ พฤติกรรมร่วมด้วย อาทิเช่น โรคสมาธิสั้น (Attention deficit/hyp eractivity disorder) วิตกกังวล (Anxiety) ซึมเศร้า (Depression) เป็นต้น

การเลี้ยงดูลูกด้วยวิธีการที่เหมาะสม จึงเป็นการเตรียมรับมือและป้องกัน เพื่อไม่ให้ลูกมีภาวะโรคดื้อและต่อต้านเกิดขึ้น

วิธีรับมือเมื่อเจอ "โรคดื้อและต่อต้าน" ของลูก

1. พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี ในสิ่งที่ต้องการให้ลูกปฏิบัติตาม

2. หลีกเลี่ยงการใช้วิธีออกคำสั่งกับลูกมากเกินไป

3. ควรหากิจกรรมทำร่วมกับลูกทุกสัปดาห์ เพื่อใช้เวลาอยู่ด้วยกันกับลูก และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครอบครัว

4. กำหนดกิจกรรม หรือ สร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูกทำ เช่น การมอบหมายให้ลูกได้ทำงานบ้าน เริ่มจากงานง่าย ๆ ที่ลูกสามารถทำได้ และ เพิ่มความยากขึ้นตามลำดับที่เหมาะสมกับวัย

5. สร้างกติกา ข้อกำหนดที่เหมาะสม และ บทลงโทษอย่างชัดเจน และมีเหตุผลเมื่อลูกทำผิด

6. ชื่นชมพฤติกรรมที่ดีของลูก ด้วยการชมอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ภูมิใจที่ลูกรู้จักเก็บของด้วยตัวเอง หรือ ช่วยแม่ทำงานบ้านโดยไม่ต้องร้องขอ

วิธีเหล่านี้ เป็นการช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นได้อีกทางหนึ่ง หากพบว่าลูกมีภาวะโรคดื้อและต่อต้าน ซึ่งในระยะแรกอาจพบว่า ลูกยังไม่ให้ความร่วมมือและไม่เต็มใจ แถมยังมีพฤติกรรมรุนแรงต่อการมีข้อจำกัดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น แต่หากพ่อแม่ควรมีความอดทนและใช้ความพยายามอย่างสม่ำเสมอ พร้อมรับมือและเข้าอกเข้าใจลูก ยังไงลูกก็มีโอกาสที่จะดื้อน้อยลง และมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น เป็นเด็กน่ารักที่มีสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และ คนรอบข้างอย่างดีขึ้นได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :
adhdthai.com

================================= 

เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
ให้ลูกน้อย ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง

 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,737