ลูกน้อยสมาธิสั้น จะหายได้หรือไม่ ?

หากลูกมีสมาธิสั้นแล้วไม่ได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง จะเกิดปัญหาลูกโซ่ เช่น ในระยะแรก เกิดปัญหาในการเรียน หากทิ้งไว้นาน จะเกิดปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม ตามมาเป็นระลอก ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เด็กเกิดปัญหาสุขภาพจิต 

ผลลัพธ์ คือ เด็กจะมีอารมณ์ซึมเศร้า และ อารมณ์แปรปรวน ประเดี๋ยวดีประเดี๋ยวร้าย มีภาพลักษณ์ของตนเองในเชิงลบ ต่อต้าน เกเร ก้าวร้าว รุนแรง โกหก ลักขโมย หนีออกจากบ้าน ผูกพันอยู่กับการใช้ยาเสพย์ติด และ การทำผิดกฎหมาย

ในความเป็นจริงแล้ว การช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป บุคคลรอบตัวเด็กโดยเฉพาะ พ่อแม่และครู จะต้องเข้าใจว่า เด็กมิได้แกล้งทำ แต่เป็นเพราะ กลไกทางสมองที่ทำให้การควบคุมตัวเองของเด็ก ไม่เหมือนเด็กอื่น

พ่อแม่และครู จะต้องไม่โกรธเด็ก และ จะต้องพยายามนำเรื่องของ ทาน ศีล และ ภาวนา มาใช้ทุกวัน  จึงจะไม่เครียด และ จะเกิดความเมตตาต่อเด็ก  สามารถช่วยเหลือเด็กได้ถูกทาง จนประสบความสำเร็จในทางการเรียนและพฤติกรรม....คุณหมอจะงดยา และ เด็กจะสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลรอบตัวได้อย่างเป็นสุข....และอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคมได้เช่นเดียวกัน......นั่นคือ......ลูกหายจากการมีอาการสมาธิสั้นนั่นเอง

ทางการเแพทย์ระบุวิธีช่วยเหลือดังนี้

1. รับประทานยา  ถ้าเด็กควบคุมตนเองไม่ได้ รบกวนผู้อื่น และ ไม่สามารถรับผิดชอบในกิจวัตรประจำวัน และ การเรียนได้  ถือว่าอาการเป็นค่อนข้างมาก.....จะต้องรับประทานยาช่วย 

ผลข้างเคียง คือ การเบื่ออาหาร คลื่นไส้ รับประทานได้น้อยลง หากเมื่อรับประทานไปได้ระยะหนึ่งยังไม่หาย ควรพบแพทย์ หรือ หากเด็กมีอาการเลวลงกว่าเดิม ต้องรีบพบแพทย์ทันทีเช่นกัน แต่กรณีเช่นนี้มีน้อยเช่นกัน 

ในกรณีที่เด็กรับประทานยาแล้วได้ผลดี ทำให้รับผิดชอบการเรียนและการทำกิจวัตรประจำวัน ผลการเรียนดีขึ้น จะต้องรับประทานยาทุกวัน

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นที่เก่งและชำนาญที่สุดในประเทศไทย บอกว่า อาการสมาธิสั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา มิใช่เกิดขึ้นเฉพาะวันไปโรงเรียน ไม่เกิดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ หรือ วันหยุดอื่นๆ เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เด็กจะต้องรับประทานยาทุกวัน เพื่อจะได้ควบคุมตนเองได้

ในขณะเดียวกัน พ่อแม่จะสามารถปรับพฤติกรรมตนเองได้ และ สามารถฝึกฝนให้ลูกรู้จักวิธีอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น รับผิดชอบต่อตนเองได้ในที่สุด  ทั้งการเรียน และ ความประพฤติของเด็ก จะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ  ก่อนเป็นวัยรุ่น แพทย์จะงดยา....นั่นคือ..........หายนั่นเอง

แต่ในการรับปร≥ะทานยา มีอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่มาขวางกั้น อุปสรรคเหล่านี้คือ

เมื่อคุณแม่พาลูกไปพบแพทย์ และ แพทย์ไม่สามารถให้ความมั่นใจในเรื่องยา  รวมทั้งพูดน้อย ไม่พูดให้กำลังใจคุณแม่ เนื่องจากแพทย์มีน้อยแต่คนไข้มีจำนวน "มหาศาล" ต้องคอยคิวเป็นเวลาถึง 7-8 เดือน แพทย์จึงไม่มีเวลา และ มักเหลือบมองนาฬิกาข้อมือ คุณแม่จึง "เกรงใจ"  ไม่กล้าพูด   " หมดกำลังใจ และ ไม่มั่นใจในการให้ลูกรับประทานยา "

คุณแม่เป็นจำนวนมาก เมื่อกลับไปถึงบ้านพร้อมยา  เชื่อ "คำต่อต้าน ยา" ของสามี คุณปู่คุณย่าและคุณตาคุณยาย ซึ่งไม่ต้องการให้ลูกหลานรับประทานยา เพราะเกรงว่า "ยาจะกดประสาท" เนื่องจากคิดว่ายาจะมีพิษทำลายเด็กในรูปแบบต่างๆ  จึงมักไม่ให้ลูกหลานรับประทานยา โดยที่แพทย์ไม่ทราบ และ คุณแม่จะไม่ยอมไปพบแพทย์ตามนัด  เด็กจึงหมดโอกาสหาย เพราะคุณแม่ไม่สามารถปรับพฤคิกรรมตนเองและปรับพฤติกรรมลูกได้  เพราะเด็กไม่ยอม เด็กจึงยังคงถูกทำร้ายจิตใจอยู่เสมอ ซึ่งมีผลให้อาการพัฒนามากขึ้น มีอาการทางจิตเวช  ในที่สุดเด็กจะแย่ และ ต้องรับประทานยาทางจิตเวชไปนานแสนนาน  วิธีการช่วยเหลือจะยุ่งยาก และ สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

คุณครูก็เช่นกัน มักไม่เห็นด้วยและต่อต้านการรับประทานยาของลูกศิษย์   จึงมัก "โน้มน้าว" จนคุณแม่เชื่อ และ ไม่ให้ลูกรับประทานยาในที่สุด

การที่แพทย์ให้ยาที่ออกฤทธิ์ในช่วงสั้น  ทำให้เด็กต้องนำยาไปรับประทานหลังอาหารกลางวันอีกครั้งหนึ่งที่โรงเรียน  เด็กไม่สามารถรับประทานได้ด้วยตนเอง เพราะมักจะลืม คุณแม่จึงต้องขอร้องคุณครูประจำชั้น ให้ช่วยให้ยามื้อกลางวัน แต่คุณครูมักลืม เพราะมีภาระที่ต้องดูแลเด็กทั้งห้องซึ่งมีจำนวน 40-50 คนซึ่งน่าเห็นใจมาก เมื่อนึกขึ้นได้ จึงมักใช้เพื่อนร่วมห้องของเด็ก ให้ไปหยิบยา เท่าที่ทราบจากผู้ปกครองและตัวเด็กเอง  ครูที่อยู่ในอารมณ์เครียด มักเผลอใช้คำพูดว่า

" นี่เธอ.....ช่วยไปหยิบยาแก้บ้าในลิ้นชักครู มาให้เพื่อนเธอกินหน่อย........จะได้หายบ้าเสียที "

ครูอาจเผลอพูดความในใจ แต่ประโยคนี้ทำให้เพื่อนนำไปขยายต่อในกลุ่มเพื่อนฝูงร่วมห้องของเด็ก จนความขยายไปทั่ว และ ครูคนนั้นจะไปบ่นเล่าให้เพื่อนครูฟัง ถึงพฤติกรรมของเด็ก จนเป็นที่รู้กันในหมู่ครูและเด็กๆในโรงเรียนว่า เด็กคนนั้นมีสมาธิสั้น จนต้องรับประทานยาแก้นิสัยไม่ดี เด็กสมาธิสั้นจึงกลายเป็น เป้านิ่งที่ถูกยิงทุกวัน เพื่อนมักเรียกว่า  " อ้ายแสบหรืออ้ายบ้า " จนรู้สึกแย่ ขาดความภาคภูมืใจในตนเอง

อาการที่ตามมา จะพัฒนาเป็น "ก้าวร้าว มีอาการซึมเศร้า และ มีอารมณ์แปรปรวน"  โดยที่พ่อแม่หรือครูไม่ทราบ เด็กคนนั้นจึงต้องรับประทานยาที่มีผลเสียยิ่งกว่ายาขนานแรก

เด็กสมาธิสั้นที่รับประทานยาขนานแรกที่โรงเรียน  จึงมักเป็นที่ ดูถูกดูแคลนของเด็กคนอื่นในโรงเรียน บางครั้งมีเรื่องกันจนถึงขั้นชกต่อย แต่ในทุกกรณีเด็กสมาธิสั้นจะมี "ความทุกข์จากการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระยะสั้น"  เพราะอายเพื่อน และ มักต่อต้านการรับประทานยา ทิ้งได้เป็นทิ้ง และ ลุยเพื่อนที่ล้อเยาะเย้ยเรื่องการรับประทานยา

คุณแม่ที่รู้ว่ามียาออกฤทธิ์นาน มักจะขอแพทย์ให้สั่งยาชนิดนี้ให้้ลูก  จะรวยหรือจน จะยอมซื้อยาประเภทนี้ให้ลูก เพราะต้องการให้ลูกมีอาการดีขึ้น  และ ตนเองจะไม่เครียด ครอบครัวจะมีโอกาสหายอลวนและอลเวง  จึงยอมทุกอย่างที่จะให้ลูกได้รับประทานยาตัวนี้

เด็กสมาธิสั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พ่อแม่มีฐานะยากจน เมื่อเติบโตขึ้น จะกลายเป็นเด็กซิ่ง เด็กแว้น เด็กเสพยา และ ประพฤติผิดกฎหมายทุกรูปแบบ สร้างความรุนแรงให้สังคมอย่างต่อเนื่อง 

เป็นเรื่องน่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในสถานพินิจแห่งหนึ่ง เป็นเด็กสมาธิสั้น และ ต้องเข้ารับการบำบัด เพื่อรักษาการติดยาเสพติด การประพฤติผิดกฏหมาย และ มีอารมณ์ซึมเศร้า และ อารมณ์แปรปรวน

เด็กที่รับประทานยาออกฤทธิ์ช่วงสั้น หมดโอกาสได้รับยาตามข้างต้น จึงกลายเป็น "เด็กอมทุกข์ และ ขาดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง"  ซึ่งเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้ อาการเด็กพัฒนาไปสู่ความก้าวร้าวรุนแรง และ มีอาการซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน  เมื่อเติบโตขึ้นจะกลายเป็นเด็กแว้น เด็กซิ่ง และ เด็กเสพยาในที่สุด 

เด็ก ครอบครัวและสังคม ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเช่นนี้  เด็กจึงต่อต้านการรับประทานยาที่โรงเรียน  น่าสงสารที่สุด เมื่อเด็กเหล่านี้มักพูดกับคนที่เขาคิดว่าจะช่วยเขาได้ว่า   " ผมต้องการกินยาที่ทำให้ผมดีขึ้น และ หาย  โดยที่เพื่อนและครูไม่รู้ครับ "

2. พ่อแม่ต้องปรับพฤติกรรมตนเอง  นั่นคือ ต้องให้ความรัก ความเข้าใจและความอบอุ่น รวมทั้งปรับเปลี่ยนทัศนะคติของตนเองที่มีต่อลูก ช่วยเหลือประคับประคองลูก ให้เกิดความรักและความภาคภูมิใจในตนเองให้ได้ นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก

3. ปรับพฤติกรรมเด็ก ให้มีความรับผิดชอบ  มีระเบียบวินัยและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น โดยม่ต้องตี ดุ ด่า ว่ากล่าว หรือพูดจาเปรียบเทียบ ประชดประชัน จนลูกเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง และ กลายเป็นเด็กก้าวร้าว หรือ เกิดอาการซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน

 เมื่อพ่อแม่ทำตามข้อ 1 และ โชคดีลูกไม่มีอุปสรรคตามข้างต้น ปฏิบัติตามข้อ 2 และ ข้อ 3 อย่างสม่ำเสมอ เด็กจะมีอาการดีขึ้น และ เมื่อเป็นวัยรุ่นอาการต่าง ๆ จะหายไปได้ในที่สุด

เด็กที่หายมีจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดรอบตัวเด็ก น่าจะทำให้จำนวนเด็กที่หายมีเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ได้ไม่ยาก

แต่จากประสบการณ์ของพ่อแม่ที่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือลูก กลับพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้อ 2 และ ข้อ 3 ข้างต้น ทำได้ยาก เพราะตนเองก็เครียด.....ลูกก็เครียด..... ฝึกกันไป......ทำกันไปทั้งๆ ที่เครียด ทำได้เต็มที่....ประมาณสองสัปดาห์ หลังจากนั้นก็......สติแตกเหมือนเช่นเดิมทุกครั้ง


พวกเราคือผู้มีประสบการณ์ตรง จึงเห็นว่า ต้องปฎิบัติเพิ่มเติมจากที่ทางการแพทย์ระบุดังต่อไปนี้อย่างไม่มีทางเลือก ทุกคนจึงจะประสบความสำเร็จได้

1. ปรับเปลี่ยน  "จิตใต้สำนึก"  ให้รู้ว่าต้องแก้ไขตนเองเสมอ  ไม่แก้ไขคนอื่นหรือเห็นว่าคนอื่นไม่ดี แต่ตนเองเป็นคนดี ทุกคนเป็นไปตามธรรมชาติทั้งสิ้น ทุกคนเป็นมนุษย์ที่ดีทั้งสิ้น โดยเฉพาะลูก 

2. ปลูกฝังจิตใต้สำนึกตนเองให้หันเข้าหาวัด  นำธรรมะของพระพุทธเจ้า(หรือของพระศาสดา) มาใช้ แค่ธรรมะขั้นพื้นฐานเท่านั้นเอง นั่นคือ  การทำบุญ ซึ่งประกอบด้วย

- การทำทานทุกวันทำให้เกิดเมตตา

- การนำศีล 5 มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ให้ผิดศีลน้อยที่สุด เมื่อผิดก็แก้ไข จนสามารถปฏิบัติได้โดยอัตโนมัติ จะมีผลทำให้ไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีที่สร้่างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น โดยเฉพาะลูก

- การสวดมนต์และนั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ 5 นาที เป็นประจำทุกวัน จะช่วยทำให้เกิดสติปัญญา รู้ดีรู้ชั่ว และ มุ่งมั่นที่จะทำความดี

- แผ่เมตตาให้ตนเอง ลูกและบุคคลอันเป็นที่รัก โดยระบุชื่อและนามสกุลให้ชัดเจน และ สัตว์โลก ฯลฯ

- อุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย บุคคลอันเป็นที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและสัตว์โลกทั้งหลายที่ประสบความยากลำบาก ฯลฯ

- เมื่อทำครบแล้วให้พูดกับลูกว่า "แม่นำบุญมาฝากและให้ลูกพนมมือและพูดว่า "อนุโมทนาบุญครับแม่"

การแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลเป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้ด้วยตัวคุณเอง

3. ปลูกฝังสิ่งที่ดีงามลงไปใน "จิตใต้สำนึกของลูก" 

4. พาลูกทำ "กิจกรรมบำบัด"  เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองทางด้านการรับรู้หรือเอสไอ (อ่าน "การทำกิจกรรมบำบัดหรือเอสไอ" ) หรือให้ลูก "เล่นแบบไทย" ทุกวัน  เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง

5. ให้ลูกรับประทานอาหารที่บำรุงสมองเป็นประจำ  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขยะ

6. ชวนลูกอยู่ในธรรมชาติที่มีต้นไม้  สอนลูกให้หายใจเข้ายาวๆ และ ปล่อยออกยาวๆ จะทำให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์  มีผลทำให้เลือดดี เมื่อไหลเวียนไปตามอวัยวะต่างๆ และ สมอง การทำงานของอวัยวะและสมองจะพัฒนามากขึ้น

เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน ทั้งพ่อแม่จะไม่เครียด เพราะ รู้ตัวว่ากำลังทำบุญอันยิ่งใหญ่ โดยการช่วยเหลือลูกนั่นเอง

ความรักความเมตตาต่อลูกและเพื่อนมนุษย์และสัตว์โลก จะเกิดขึ้น ลูกจะมีความสุข และ เกิดความพยายาม เพราะคุณพ่อคุณแม่ เลิกตี เลิกดุ เลิกว่า เลิกบ่น เลิกจุกจิก จู้จี้ เลิกสอนซ้ำซาก เลิกเปรียบเทียบลูกกับผู้อื่น

ลูกจะเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ภูมิใจในตนเอง และ เกิดความพยายามในทุกเรื่อง เพื่อให้คุณพ่อและคุณแม่มีความสุข เพราะรักพ่อแม่  มิใช่ทั้งรักทั้งเกลียดพ่อแม่อีกต่อไป

ลูกจึงมีอาการดีขึ้น แพทย์จะหยุดยา....และ.......หายในที่สุด

ถ้าไม่เชื่อก็ลองพิสูจน์ด้วยตนเอง จงจำไว้เสมอว่า "ธรรมะรักษาทุกโรคและรักษาผู้ประพฤติธรรม"

การศึกษาวิจัยทางการแพทย์ พบว่า

1. อาการหายไป   ร้อยละ 30 ของเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น สมาธิสั้น จะมีอาการดีขึ้นจนไม่มีปัญหาอะไร เมื่อเติบโตสมองพัฒนาดีขึ้น อาการไม่อยู่นิ่ง และ ไม่มีสมาธิจะหายไป

2. อาการดีขึ้น   เด็กสมาธิสั้น จำนวนร้อยละ 40 จะยังคงมีอาการอยู่บ้าง แต่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหามากเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วอาการอยู่ไม่นิ่งจะลดลง แต่อาการสมาธิไม่ดี จะยังคงอยู่ แต่เนื่องจากเมื่อเด็กโตขึ้นแล้ว จะมีการควบคุมตนเองได้ดีขึ้น มีกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ตนเองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  นอกจากนี้การเรียนในมหาวิทยาลัย  ไม่ได้มีวิชามากมายครอบจักรวาลไปหมดเหมือนเช่นการเรียนสมัยเป็นเด็ก สามารถเลือกเรียนวิชาเฉพาะที่ชอบได้ แม้จะมีอาการสมาธิบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็จะไม่ทำให้เกิดปัญหารุนแรง บางคนอาจยังคงต้องรับประทานยาควบคุมอารมณ์ตนเอง

3. อาการแย่ลง   ร้อยละ 30 ของเด็กที่วินิจฉัยว่ามี สมาธิสั้น จะมีอาการแย่ลงเมื่อโตเป็นวัยรุ่น/ผู้ใหญ่ นั่นคือ อาการของสมาธิสั้นทางด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง และ การทำงานให้เสร็จในเวลาที่เหมาะสม ยังคงเป็นอยู่ และ ยังคงขาดความยับยั้งชั่งใจ หงุดหงิด โกรธรุนแรง แถมยังมีปัญหาทางสุขภาพจิตรุนแรงตามมา มีอารมณ์เศร้า วิตกกังวล และ อารมณ์แปรปรวน  นอกจากนี้ยังมีปัญหาพฤติกรรมผิดกฎหมายทุกรูปแบบ เช่น ติดสารเสพคิด ลักขะโมย ทำร้ายผู้อื่นจนบาดเจ็บหรือล้มตาย และ มีบุคลิกภาพแบบอันธพาล.... ฯลฯ

กลุ่มนี้มักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง และ ขาดความยับยั้งชั่งใจอย่างรุนแรงในตอนเด็ก  อาการดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และปัญหาพฤติกรรม จนเกิดอาการซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวน  ประเดี๋ยวดีประเดี๋ยวร้าย และ ความสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ดี  ทั้งหมดนี้แก้ได้ค่อนข้างยาก และ จะส่งผลในระยะยาว หากเด็กรายใดมีปัญหาพฤติกรรมเกเร เช่น หนีโรงเรียน ขโมยของ โกหกบ่อยๆ ร่วมด้วย สามารถคาดการณ์ได้ว่า เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ปัญหาจะยิ่งรุนแรงขึ้น

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากเว็บไซต์
adhdthai.com

=======================================

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain

สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง

√ เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
√ ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น 
√ ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น

**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

 

ปรึกษาปัญหาเด็กสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 095-883-6707
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 409,294