ลูกไม่สนใจเรียน...ปัญหาที่พ่อแม่ร่วมแก้ไขได้
เชื่อว่าพ่อแม่หลายท่านคงประสบกับปัญหาการไม่สนใจเรียนของลูก เพราะเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน...และ พบได้ในทุกช่วงวัย ซึ่ง พญ.ชนม์นิภา แก้วพูลศรี ได้ให้เหตุผลถึงปัญหาของลูกไม่สนใจเรียน โดยแบ่งได้หลายสาเหตุ ดังนี้..
√ เด็กมีสติปัญญาบกพร่อง หรือ สติปัญญาคาบเส้น (Borderline IQ) เนื่องจากเด็กมีปัญหาในการเรียนรู้ล่าช้ากว่าปกติ เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน ทำให้ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้มากขึ้น หรือ ใช้วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเขา....แต่ไม่ได้หมายความว่า เรียนรู้ไม่ได้ โดยอาจ มีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและฝึกฝนสม่ำเสมอเป็นประจำ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถของตนเองในสิ่งที่สนใจ พร้อมทั้งมีการชมเชย หรือ มีของรางวัลเล็กๆน้อยๆเป็นกำลังให้ใจแก่เด็ก
√ เด็กมีโรคสมาธิสั้น เด็กอาจมีผลการเรียนดีบ้างไม่ดีบ้าง ขึ้นกับสมาธิความสนใจในการเรียน บางวิชาเด็กชอบหรือสนใจ....ก็อาจมีความตั้งใจหรือ มีสมาธิจดจ่อในการเรียนได้ดี ทำให้ผลการเรียนออกมาดี แต่ถ้าในวิชาที่เด็กไม่ชอบ อาการสมาธิสั้นอาจปรากฎชัดขึ้น หากผู้ปกครองไม่ทราบว่าลูกเป็นสมาธิสั้น อาจเข้าใจว่า พฤติกรรมไม่มีสมาธิของลูก เป็นจากเด็กไม่เอาใจใส่ ไม่สนใจเรียน ดังนั้นอาจ มีการจัดกิจกรรมขึ้นมาเพื่อดึงดูดความสนใจเขา เป็นกิจกรรมสั้นๆที่ใช้เวลาไม่นาน เพื่อช่วยให้เด็กมีสมาธิในการเรียน
√ กลุ่มเด็กที่มีผลการเรียนดีมาตลอด...แต่ผลการเรียนตก อาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง ทั้งปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการเรียน การปรับตัวเข้ากับกับเพื่อน ครู ที่โรงเรียน หรือ ปัญหาภายในครอบครัวของตัวเอง เมื่อเด็กแก้ปัญหาไม่ได้ ณ ขณะนั้น อาจก่อให้เกิดอารมณ์เศร้า วิตกกังวล รบกวนการมีสมาธิและส่งผลต่อการเรียน ซึ่งผู้ปกครองควรสังเกตเห็นถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพราะหากปล่อยสะสมเป็นเวลานาน อาจเกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้
√ กลุ่มเด็กที่มีภาวะวิตกหรือเป็นโรคซึมเศร้า เด็กกลุ่มนี้อาจต้องมีการใช้ยาเพื่อรักษาภาวะอาการซึมเศร้า เพื่อให้เด็กนอนหลับและมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนของเด็ก จัดการกับต้นเหตุของปัญหา เช่น หากเด็กรับรู้ถึงปัญหาของครอบครัว พ่อแม่อาจจะสื่อสารให้เด็กได้รับรู้ว่า สิ่งนี้เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่สามารถแก้ปัญหาเอง เพื่อให้เด็กรู้สึก และ เข้าใจว่าเขาไม่ต้องเป็นกังวล เป็นต้น
√ ภาวะแข่งขันทางการเรียนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เด็กอาจมีความกดดัน และ ความคาดหวังจากตัวเอง ผู้ปกครอง หรือ คุณครู เด็กอาจจะมีความรู้สึกเครียด เบื่อ ท้อ บางครั้งอาจรู้สึกไม่มีเป้าหมายในการเรียนของตนเองว่าเรียนไปเพื่ออะไร ซึ่งหาก เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่เด็กสนใจ ให้เขาสามารถมีส่วนร่วมกับครอบครัวหรือผู้อื่น เขาจะรู้สึกว่า เขานำเอาความรู้ที่เรียนในตำรา มาใช้ประโยชน์ในสิ่งที่เขาเก่งและถนัด อาจช่วยให้เด็กรู้สึกภูมิใจในตนเอง
√ เด็กกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media) ได้แก่ เกมส์, ทีวี หรือ วิดีโอ และ อินเตอร์เน็ต (internet) ด้วยปัจจุบันเป็นสื่อที่มีการเข้าถึงมากขึ้น อาจทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองสามารถควบคุมเกมส์ได้ สามารถชนะในเกมส์ได้ ทำให้เด็กมีความสุขจากการเล่นเกมส์ เพลินเล่นกับการเล่นจนเสพติด ทำให้ผลการเรียนของเด็กแย่ลง ผู้ปกครองจึงต้องมีการควบคุมการใช้งานของเด็กเอง....ไม่ใช่ให้เขาเป็นคนกำหนด และ เพิ่มกิจกรรมภายในครอบครัวอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจภายในครอบครัว
อย่างไรก็ตาม พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรใกล้ชิดเด็ก หมั่นสังเกตว่าเด็กนั้นมีปัญาหาการเรียนหรือไม่ ซึ่งการช่วยเด็กที่มีปัญหาดังกล่าว เราต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจจากทั้งผู้ปกครอง คุณครู แพทย์ และ ทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่เราจะได้ให้ความช่วยเหลือเขาต่อไปได้อย่างถูกต้อง
เว็บ clinicdek.com
==========================================
♥ เปิดเทอมนี้ เตรียมความพร้อมต่อ
การเรียนรู้ให้ลูกน้อยด้วย "อเลอไทด์"
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น