ลูกเรียนแย่ พ่อแม่ ช่วยได้
ช่วงปิดเทอมที่ผ่านมา ผลการสอบของบุตรหลานของทุกครอบครัวถึงมือผู้ปกครอง และ พ่อแม่เรียบร้อยแล้ว ผลการเรียนของบุตรหลาน สะท้อนภาพปัญหาเรียนดี เรียนไม่ดี สมความคาดหวัง หรือไม่สมหวังของผู้ปกครองหรือไม่เพียงใด หากผลการเรียนดี พ่อแม่นำไปคุยอวดได้ และ มีความภูมิใจอยู่เสมอ หากผลการเรียนไม่ดี ผู้ที่ถูกกล่าวหามักจะเป็นตัวเด็กเองเสมอ
ข้อมูลจากโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ของภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม2548 แนะนำว่า “ลูกเรียนแย่ พ่อแม่ช่วยได้” ซึ่งเป็นเรื่องถูกต้อง น่าสนใจและจำเป็นที่พ่อแม่จะต้องหาทางปรับปรุงแก้ไข และ เข้าช่วยเหลือ
ปัญหาการเรียนเป็นปัญหาที่พ่อแม่มักกังวล และ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องพาเด็กมาปรึกษาแพทย์ หรือกุมารแพทย์ ส่วนมากคุณครูเป็นคนแนะนำให้พ่อแม่พามา ปัญหาที่พบอาจมีได้ตั้งแต่
> เรียนไม่ดี ไม่สนใจเรียน
> ชอบแหย่เพื่อน
> ส่งงานไม่ทัน โดดเรียน
> อ่านช้า ไม่ชอบจดงาน
> สอบไม่ผ่าน หรือ ติด “ร”
พ่อแม่ส่วนใหญ่เข้าใจว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ร่วมกับเกียจคร้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่พบมีสาเหตุได้หลายประการดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยจากตัวเด็กเอง คือ
1.1 ระดับสติปัญญา (IQ) ซึ่งส่วนหนึ่งถูกกำหนดจากพันธุกรรมของพ่อแม่ ภาวะโภชนาการในวัยเด็ก และ ภาวะความเจ็บป่วย หรือ โรคประจำตัว เช่น ถ้าเด็กป่วยเป็นโรคลมชัก คลอดก่อนกำหนด พัฒนาการล่าช้า ป่วยบ่อยจนไม่สามารถไปเรียนตามปกติได้ เป็นต้น อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กมีสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ ตั้งแต่ปัญญาทึบถึงปัญญาอ่อน จนมีปัญหาการเรียนตามมาได้
1.2 ทักษะในการเรียนรู้ เช่น ทักษะในการอ่าน การเขียน ปัจจุบันพบว่า มีเด็กวัยเรียนจำนวนร้อยละ 4-6 มีความบกพร่องในทักษะการอ่าน การ เขียน หรือ การคำนวณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้เด็กเหล่านี้ จะมีระดับสติปัญญาปกติ หรือ ใกล้เคียงปกติก็ตาม แต่เด็กกลุ่มนี้มักถูกคุณครูหรือพ่อแม่ เหมารวมว่าเป็นเด็กไม่ฉลาด จะเห็นชัดตอนอยู่ระดับประถมศึกษา เด็กมักอ่านช้า หรือ อ่านไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ คะแนนวิชาภาษาไทยตก หรือได้เกรด 1 ในขณะที่วิชาอื่น ๆ อาจทำได้ดี
1.3 ปัญหาสมาธิสั้น ประกอบด้วย อาการซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น และ อาการขาดสมาธิ ในปัจจุบันพบว่า เด็กที่ขาดสมาธิส่วนมาก เกิดจากการขาดวินัย และ ขาดการฝึกฝน มากกว่าที่จะเป็น โรคซนสมาธิสั้น
1.4 ปัญหาทางด้านจิตใจ อารมณ์ และ พฤติกรรม เช่น เป็นคนชอบวิตกกังวล มีปัญหาการปรับตัว มีเพื่อนน้อย หรือ เป็นเด็กที่ขาดวินัย ขาดความรับผิดชอบ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน อาจทำให้เด็กขาดแรงจูงใจในการเรียน และ ทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน เพราะไม่ชอบอยู่ในกฎระเบียบ
2. ปัจจัยด้านครอบครัวและการเลี้ยงดู
2. ปัจจัยด้านครอบครัวและการเลี้ยงดู
ในสังคมปัจจุบัน ทุกครอบครัวต้องการให้ลูกหลานเป็นเด็กดี เก่ง และ ประสบความสำเร็จในชีวิต และ มีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่มีความคาดหวังสูงกว่าระดับความสามารถที่แท้จริงของเด็ก และบังคับเคี่ยวเข็ญเด็กมากจนเกินไป ทำให้เด็กเบื่อหน่ายและท้อ นอกจากนี้พ่อแม่ ยังขาดทักษะในการสร้างแรงจูงใจในการเรียน และ ช่วยให้เด็กภาคภูมิใจในศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ ซึ่งอาจไม่ใช่ด้านการเรียน
สิ่งที่พ่อแม่ควรทราบคือ การที่เด็กจะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความเพียรพยายามและความอดทน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เด็กเหล่านี้ต้องมีวินัยในตนเอง โดยได้รับการอบรมสั่งสอนและฝึกฝนมาอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความรักและความเข้าใจ เป็นระยะเวลานานพอสมควร
สิ่งที่พ่อแม่ควรทราบคือ การที่เด็กจะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความเพียรพยายามและความอดทน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เด็กเหล่านี้ต้องมีวินัยในตนเอง โดยได้รับการอบรมสั่งสอนและฝึกฝนมาอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความรักและความเข้าใจ เป็นระยะเวลานานพอสมควร
แต่ในสังคมปัจจุบันพบว่า พ่อแม่ผู้ปกครองขาดการฝึกฝนให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นในการเรียน และ ค่อนข้างตามใจ อยากได้อะไรก็ได้ เป็นยุควัตถุนิยม บริโภคนิยม ไม่ค่อยมีเวลาอยู่ด้วยกันหรือปรึกษาหารือกัน ทำให้เกิดปัญหาที่พบบ่อยคือ เด็กติดเล่นเกม ติดอินเทอร์เน็ต ไม่รู้จักแบ่งเวลา พ่อแม่ขาดทักษะที่ดีในการจัดการกับปัญหา ดังนั้นเมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยความรับผิดชอบอย่างมาก จึงทำให้เด็กเกิดปัญหา การเรียนตามมาได้
3. ปัจจัยด้านโรงเรียน และ ระบบการศึกษา
3. ปัจจัยด้านโรงเรียน และ ระบบการศึกษา
เนื่องจากระบบการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงบ่อย และ ยังมีความต่างของมาตรฐานการเรียนการสอนของเอกชน และ รัฐบาล อยู่อย่างมาก คุณครูบางโรงเรียน ยังใช้ระบบบังคับ เข้มงวด ลงโทษรุนแรง หรือ มุ่งเน้นเนื้อหาการท่องจำ มากกว่าที่จะฝึกฝนให้เด็กรู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา ทำให้เด็กขาดทักษะในการเรียนรู้และเบื่อหน่ายสับสน และ ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา
แนวทางการช่วยเหลือและบทบาทของครอบครัว
1. พ่อแม่ต้องเข้าใจและยอมรับในปัญหาที่เกิดขึ้น
1. พ่อแม่ต้องเข้าใจและยอมรับในปัญหาที่เกิดขึ้น
ลดการตำหนิติเตียน ไม่ดูถูก และ สนับสนุนให้เด็ก ได้มีโอกาสพูด หรือ เล่าปัญหาของตนเองบ้าง
2. ถ้าพบว่าลูกเริ่มมีปัญหาด้านการศึกษา ควรรีบพามาปรึกษาแต่เนิ่น ๆ
2. ถ้าพบว่าลูกเริ่มมีปัญหาด้านการศึกษา ควรรีบพามาปรึกษาแต่เนิ่น ๆ
โดยอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงความห่วงใยและความจำเป็นในการมาพบแพทย์ เพื่อช่วยให้ลูกมีความสุขในการเรียนมากขึ้น
3. พ่อแม่ควรช่วยกันสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว
พูดคุยกันด้วยเหตุผล และ เป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องความรับผิดชอบ เช่น
ก. พ่อแม่ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ตนเอง และ ไม่ตำหนิ หรือ ลงโทษรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด
ก. พ่อแม่ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ตนเอง และ ไม่ตำหนิ หรือ ลงโทษรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด
ข. การแบ่งหน้าที่การทำงานในบ้าน ควรให้เด็กได้ฝึกรับผิดชอบงานบ้านตามความเหมาะสม และ ชมเชยเมื่อเด็กทำได้ดี เช่น เก็บที่นอน ล้างจาน ช่วงเย็นเด็กควรทำอะไรบ้าง การทำการบ้าน เล่นอิสระ อาบน้ำกินข้าว ดูทีวี และ ควรเข้านอนไม่เกินกี่ทุ่ม ควรมีการตกลงกันระหว่างเด็กและ ผู้ปกครอง ถือเป็นการฝึกวินัยเบื้องต้น จะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ว่า พ่อแม่ต้องช่วยกันเฝ้าติดตามผล และ ปฏิบัติกับลูกอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จนลูกทำกิจกรรมต่าง ๆ จนเป็นนิสัย
ค. พ่อแม่ควรช่วยกันมองหาจุดเด่น หรือ ข้อดีในตัวลูก และ คอยชื่นชมส่งเสริมให้ทำอย่างต่อเนื่อง เป็นการสร้างความมั่นใจในตัวเองให้กับเด็ก เช่น นิสัยดีมีน้ำใจ เล่นกีฬาเก่ง วาดรูปเก่ง กล้าแสดงออก เป็นต้น ในเวลาเดียวกันหากลูกมีจุดอ่อนบางด้าน เช่น เรียนไม่เก่ง หรือ มีปัญหาด้านการปรับตัวกับเพื่อน ๆ พ่อแม่ต้องเข้าใจยอมรับ คอยให้กำลังใจและคอยช่วยเหลือ เช่น ทบทวนบทเรียน พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ หาคุณครูที่เข้าใจสอนเสริมให้ ให้ลูกมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต
ง. มีเวลาทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี และ ช่วยให้พ่อแม่ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของลูก ๆ พ่อแม่ควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตามวัยของลูก โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการความไว้วางใจจากพ่อแม่ ดังนั้นเวลามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ควรรับฟังคำอธิบายจากลูกก่อน ที่จะปรักปรำหรือลงโทษ จะช่วยให้เด็กรู้สึกดีกับพ่อแม่
4. พ่อแม่และคุณครูควรช่วยเหลือและร่วมมือกันประคับประคองเด็กให้มีโอกาสเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ
ยอมรับว่าเด็กแต่ละคน มีความสามารถและความถนัดแตกต่างกัน ดังนั้นไม่ต้องเก่งเหมือนกัน
5. คุณครูต้องมีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
5. คุณครูต้องมีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เช่น ให้งานและติดตามประเมินตามระดับความสามารถ หรือ การให้เด็กสมาธิสั้น มานั่งหน้าห้อง เรียกให้ตอบบ่อย ๆ ติดตามดูแลเด็กที่ช้ามาก เป็นพิเศษ ถ้ามีปัญหาที่ยุ่งยาก ก็สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือกุมารแพทย์ได้
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :
phyathai.com
===========================
♥ เปิดเทอมใหม่นี้ เตรียมความพร้อมต่อ
การเรียนรู้ ให้ลูกน้อย ด้วย "อเลอไทด์"
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
√ เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
√ ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น
√ ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"