ลูกดื้อไม่เชื่อฟัง พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด

คงไม่มีพ่อแม่คนไหนไม่เคยเจอกับประสบการณ์ เมื่อลูกตัวเองเป็นเด็กดื้อ โต้ตอบพ่อแม่อย่างไม่เหมาะสม เราหวังว่าเหตุการณ์เหล่านี้ จะเกิดขึ้นแต่เนิ่นๆ ในช่วงที่ลูกยังเป็นเด็กวัยคลานก่อนเข้าโรงเรียน เพราะคุณจะยังพอมีเวลาให้แก้ไขพฤติกรรม และ สถานการณ์ได้ แต่ไม่ว่าลูกจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม คุณต้องจำไว้ว่า การเป็นเด็กดื้อไม่เชื่อฟัง เป็นสิ่งที่ไม่มีวันเป็นที่ยอมรับได้

การเป็นเด็กดื้อไม่เชื่อฟังเป็นอย่างไร?

ถ้าว่าการตามนิยามแล้ว การเป็นเด็กดื้อ คือ การจงใจปฏิเสธที่จะเชื่อฟัง การขัดขืนต่อต้านอย่างเปิดเผย การเป็นเด็กดื้อไม่เชื่อฟัง ไม่ได้หมายถึง การโต้เถียงตลอดเวลา แต่เป็นอะไรที่มากกว่านั้นหน่อย แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการขัดขืนอย่างเปิดเผยชัดเจน และ จงใจแล้วล่ะก็ ลูกของคุณจะแสดงอาการต่อต้านเหล่านั้นออกมา

วิธีจัดการเมื่อลูกดื่อไม่เชื่อฟัง

มีวิธีการเฉพาะเอาไว้ใช้จัดการกับเด็กดื้อในแต่ละช่วงอายุให้เหมาะสม แต่ก็มีสิ่งสองสิ่งที่คุณต้องจำ และ ใส่ใจเอาไว้ในการจัดการกับเด็กดื้อไม่เชื่อฟัง สิ่งเหล่านั้นคือ “ทันที” และ “อย่างชัดแจ้ง”

เมื่อลูกดื้อมาก ต้องจัดการ ทันที!!!

เมื่อลูกมีอาการดื้อขึ้นมา ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะออกคำขู่ที่ไร้น้ำหนักและใช้การอะไรไม่ได้ เช่น “รอพ่อกลับมาบ้านก่อนเถอะ” หรือ “รอให้ออกจากร้านก่อนเถอะ” หรือ “ลูกจำไว้เลยนะว่าคราวหน้าที่ลูกอยากได้.....” เมื่อลูกดื้อไม่เชื่อฟังขึ้นมา ก็ต้องได้รับการอบรม หรือ โดนทำโทษ คุณต้องให้ลูกได้เรียนรู้โดยทันทีว่า ผลของการกระทำที่ไม่ดีเป็นอย่างไร เราจะไม่โต้เถียงกันเรื่องการตีก้บลูกในตอนนี้ แต่ไม่ว่าการลงมือทำนั้นจะเป็นการแยกให้ลูกไปนั่งคนเดียวกับเก้าอี้ การให้ลูกหยุดทำอะไรบางสิ่ง หรือ ออกจากในสถานที่ใดที่หนึ่งอย่างรวดเร็ว การห้ามไม่ให้เล่นของเล่น กินของว่าง หรือ อะไรก็ตาม คุณต้องลงมือทำทันที มิฉะนั้นความสำคัญของการพยายามสร้างวินัยให้กับลูก จะลดทอนลงไปตามกาลเวลา (แม้แต่กับเด็กที่โตขึ้นแล้ว)

จัดการ อย่างชัดแจ้ง!!!

การลงโทษเด็กดื้อ ต้องทำกันอย่างชัดแจ้ง และ การลงโทษนั้นต้องเหมาะสมกับความผิดที่ลูกกระทำลงไป เช่น หากลูกน้อยวัยสี่ขวบ ไม่ยอมกินข้าว (โดยการทิ้งหรือเอาให้แมวกินแทน) การงดอาหารลูกก็เป็นการลงโทษที่เหมาะสม หากลูกวัยหกขวบไม่ยอมเก็บของเล่นที่เล่นแล้ว คุณก็ยึดของเล่นลูกไปเลย จะได้ไม่มีอะไรต้องเก็บ หากลูกที่ยังเล็กอยู่ ดื้อในที่สาธารณะ (พยายามวิ่งพล่านไปมาหรือแสดงอาการหยาบคาย) คุณต้องเอาลูกออกจากสถานที่เหล่านั้น หรือ ควบคุมโดยการอุ้มไว้ หรือ จับใส่รถเข็นเด็ก

อายุก็เป็นเรื่องสำคัญ : สำหรับเด็กวัยคลาน

ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น การได้แสดงอาการต่อต้าน คุณเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตและพัฒนาการการเด็กวัยคลาน ลูกกำลังทดสอบกรอบที่คุณวางไว้ เพื่อดูว่าตัวเองอยู่ในภาวะที่เข้มงวดแค่ไหน เชื่อหรือไม่ว่าการที่เด็กในวัยนี้ดื้อไม่ใช่เรื่องเลวร้าย การทดสอบขีดจำกัดเหล่านี้ เป็นการแสดงออกถึงการเติบโตทางจิตใจว่า ลูกวัยคลานของคุณกำลังคิดด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะใช้เหตุผล และ ตัดสินใจเลือก

ในฐานะพ่อแม่ คุณควรเตรียมตัวเตรียมใจให้ดี คุณต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อปรับให้ลูกที่ดื้อกลับมาอยู่ในโอวาท ว่านอนสอนง่าย แผนที่ว่า ควรรวมถึงการใช้ความนุ่มนวล อธิบายให้ลูกฟังว่า ทำไมลูกไม่ควรดื้อ ให้โอกาสลูกได้ตั้งหลักและเริ่มต้นใหม่ แต่คุณต้องไม่ลืมว่า ความนุ่มนวลที่ว่า ต้องเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวินัย อย่าให้ความนุ่มนวลเข้ามาแทนที่ “ทันที” และ “อย่างชัดแจ้ง” สองอย่างที่เราได้บอกคุณไปตอนแรก

เด็กวัยอนุบาลและเด็กประถม

เมื่อลูกอายุสี่ขวบ ลูกก็จะมีภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า อะไรถูกอะไรผิด ลูกจะรู้แล้วว่า การตี การโกหก การขโมย และ การเป็นเด็กดื้อ เป็นสิ่งที่ไม่ดี ลูกจะวางตัวและทำตัวได้อย่างเหมาะสมในสถานที่สาธารณะต่างๆ ที่คุณพาลูกไปได้ ดังนั้นเมื่อเด็กในวัยนี้ต่อต้านหรือเป็นเด็กดื้อขึ้นมา ลูกกำลังทำมากกว่าการทดสอบกรอบ ลูกกำลังทดสอบคุณว่า คุณจะรักษากรอบเหล่านี้ไว้ได้หรือไม่ ลูกอยากรู้ว่ากรอบที่ว่าอยู่ตรงไหน และ มีช่องว่างแกว่งไปมาอยู่มากแค่ไหน ดังนั้นคุณควรเตรียมตัวตั้งรับ หรือ มิฉะนั้นก็ยอมแพ้ไปเลย แต่เราขอเตือนคุณไว้ก่อนว่า ถ้าคุณแพ้ตั้งแต่ตอนนี้ คุณจะไม่มีหวังที่จะชนะเลยในอนาคตที่คุณต้องรบกับลูกในวัยรุ่น

ช่วงวัยรุ่น

ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่ลูกไม่ได้แค่ทดสอบกรอบและความมุ่งมั่นของคุณที่จะรักษากรอบนั้นไว้เท่านั้น ลูกกำลังทดสอบเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังกรอบที่คุณตีเอาไว้ด้วย ลูกกำลังสำรวจความคิด ศีลธรรม และ อุดมการณ์ของตัวเอง เด็กในวัยนี้ต้องจัดการกับเรื่องภาพลักษณ์ของตัวเอง อิทธิพลจากคนรอบข้าง และ แรงกดดันของการตัดสินใจสำหรับอนาคตตัวเอง การดื้อต่อต้านไม่เชื่อฟังของวัยรุ่น อาจมาจากความหงุดหงิดงุ่นงาน อารมณ์โมโห ความสับสน ความสงสัยในตัวเอง หรือ ความเกลียดชังตัวเอง และใช่แล้ว รวมถึงแม้กระทั่ง ความต้องการสร้างความเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ของตัวเอง

นับเป็นเรื่องธรรมชาติที่เด็กในวัยนี้ จะสุดโต่งไปถึงขีดจำกัดในบางโอกาส สิ่งที่เหมือนกับเด็กวัยคลาน คือ ลูกกำลังอยู่ในวัยค้นหา แต่หากคุณปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นต่อๆ ไป การระเบิดออกมาเป็นบางโอกาสเหล่านี้ อาจกลายเป็นเรื่องปกติ ทำให้เกิดความเครียด เจ็บปวดหัวใจ และแม้กระทั่ง ความเสียหายทางร่างกายหรืออารมณ์อย่างถาวรก็เป็นได้

ทันที อย่างชัดแจ้ง และอย่างเหมาะสม

ไม่ว่าลูกของคุณจะอายุเท่าใด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น การเป็นเด็กดื้อ เป็นสิ่งที่รับไม่ได้และต้องได้รับการจัดการ เพื่อให้การจัดการกับเด็กดื้อไม่เชื่อฟัง เป็นไปอย่างเหมาะสมและก่อประโยชน์ คุณต้องระลึกไว้เสมอว่า การลงโทษต้องเป็นบทเรียนสอนลูกว่า ทำไมสิ่งที่ลูกทำลงไปจึงไม่เหมาะสม ลูกควรจะทำอะไร แทนที่จะทำตนไม่เหมาะสมเช่นนั้น และ ลูกจะตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่ดีกว่าได้อย่างไร

==============================================
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
th.theasianparent.com

สนับสนุนโดย
ศูนย์สมองดี HealthyBrain
อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง

ปรึกษาปัญหาลูกดื้อ สมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 394,119