ลูกติดเกมส์ ติดมือถือ ภัยเงียบยุค 4.0
ส่งผลให้เซลล์สมองแย่ สมาธิสั้น

    การปล่อยให้ลูกติดเกมส์ ติดมือถือ และทิ้งลูกอยู่กับหน้าจอเพียงลำพังนานเกินวันละหลายชั่วโมง อาจส่งผลให้เด็กจดจ่อกับเรื่องราวที่ผ่านตาเร็วเกินไป และไม่ยอมละสายตาเพื่อสนใจกับสิ่งรอบตัวอื่นรอบข้าง ด้วยการเคลื่อนไหวในสื่อต่าง ๆ บนหน้าจอมือถือหรือแท็ปเล็ตที่เปลี่ยนแปลงและมีความรวดเร็ว จะทำให้เกิดปัญหาการใช้สมองในส่วนความทรงจำลดลง และหากปล่อยให้ลูกเล่นเช่นนี้เป็นประจำทุกวันจะสะสมให้เด็กเกิดอาการ “สมาธิสั้น” ได้ เพราะจะเป็นการไปกระตุ้นสาร "โดปามีน" ให้หลั่งออกมามากเกินไปในระหว่างที่เล่นเกมส์

 

เช็คสัญญานพฤติกรรม “ลูกติดเกมส์ ติดโทรศัพท์”

  • แอบเล่นเกมส์ เล่นมือถือ ด้วยการหาที่เล่นโดยไม่ให้พ่อแม่เห็น เช่น ในห้องนอน
  • ใช้เวลาเล่นเกมส์ เล่นมือถือนานขึ้น และเกิดอารมณ์หงุดหงิดเมื่อถูกพ่อแม่ต่อว่า ห้ามไม่ให้เล่น หรือถูกสอดส่องพฤติกรรมจากการเล่นสมาร์ทโฟน
  • ตั้งหน้าตั้งตารอเวลาที่จะได้เล่นมือถือ หรือขอเล่นมือถือจากพ่อแม่บ่อย ๆ
  • มีการแสดงอารมณ์ ก้าวร้าว อารมณ์เสียง่าย หงุดหงิด หดหู่ เมื่อไม่ได้เล่น และจะหายทันทีเมื่อพ่อแม่ยอมให้ลูกได้เล่น
  • ไม่สนใจสิ่งอื่น ๆ หรือกิจกรรมรอบตัว เพราะมัวแต่เล่นเกมส์ เล่นมือถือ หรือขาดสมาธิระหว่างทำการบ้าน เพราะชอบเปิดสมาร์ทโฟนควบคู่ระหว่างทำการบ้าน
  • มีอาการตื่นสายและรู้สึกอ่อนเพลียในตอนเช้า

สาเหตุด้านพฤตกรรมเหล่านี้ อาจมีส่วนทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะสมาธิสั้น และนอกจากนี้การที่เด็กติดมือถือหรือติดเกม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กมีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่นได้


5 ข้อเสีย หากลูกติดเกมส์ ติดมือถือ

1.ร่างกายไม่พัฒนาตามวัย
การที่ลูกติดสิ่งเหล่านี้มากเกินจะส่งผลให้ลูกมัวแต่เล่นเกมส์ เล่นมือถือ จนไม่ได้ออกไปออกกำลังกาย จึงส่งผลให้ร่างกายเติมโตได้ไม่เต็มที่ และยังทำให้ลูกร่างกายไม่แข็งแรงอีกด้วย

2.ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หงุดหงิดง่าย
เพราะ หน้าจอที่ลูกดูบ่อยๆเคลื่อนไหวรวดเร็ว เป็นดังใจตามที่ลูกต้องการ จึงทำให้ลูกเป็นเด็กไม่มีความอดทน รอคอยไม่เป็น หงุดหงิดง่าย

3.เข้าสังคมปกติได้ยาก
ถ้าลูกติดอินเตอร์เน็ตมากๆ จะทำให้เข้าสังคมไม่ได้ เพราะไม่ค่อยได้พบเจอเพื่อนบ้าน ไม่มีเพื่อนในหมู่บ้าน ทำให้ขาดการปรับตัวเมื่อต้องเข้าสู่สังคม ปรับตัวเข้าหาผู้ใหญ่ไม่เป็น การใช้ชีวิตพื้นฐานในการอยู่ในสังคมก็จะแย่ลง และอยู่กับคนอื่นไม่ได้ในที่สุด

4.อาจทำให้เป็นเด็กอ้วน
เด็กที่ติดทีวี แท็บเล็ตมักจะอ้วนเกินไป เวลาจะกินข้าวก็จะนั่งดูแท็บเล็ตหรือทีวีไปด้วย จึงทำให้การกินอาหารเพลิดเพลินกินไปได้เรื่อยๆ มีพ่อแม่คอยป้อนให้กิน หรือเด็กบางคนก็ไม่ยอมนั่งกินข้าวดีๆ จะกินแต่ขนมที่กินได้ง่ายๆไม่เสียเวลาในการดู 

5.ขาดสมาธิ เสี่ยงต่อการเป็น "โรคสมาธิสั้น"
เด็กจะไม่มีใจจดจ่อกับกิจกรรมอะไรเลย ที่ต้องใช้สมาธิ หรือสมองในการแก้ปัญหา เพราะเคยเจอแต่หน้าจอที่แสดงสีสันสดใส เคลื่อนไหวได้รวดเร็วทันใจ ถ้าต้องทำกิจกรรมที่ต้องใช้เวลาคิดเด็กจะทำไมได้ และจะหงุดหงิดง่ายอีกด้วย

"สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด การเสพติดเทคโนโลยีส่งผลกระทบไปถึงสมองทำให้ประสิทธิภาพลดลง มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบทางสมองของผู้ที่ติดเทคโนโลยีว่าการติดจะทำให้การเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทลดลงอย่างสมองส่วนหน้าลดลง 24% สมองส่วนข้างลดลง 27%"

   นอกจากนี้ยังมีงานศึกษาวิจัยล่าสุดที่กำลังตีพิมพ์ของต่างประเทศ ที่เขาศึกษาคนติดเกมออนไลน์ 73 คน เปรียบเทียบกับคนปกติ 38 คน ที่ไม่ติดเกมและไม่เป็นโรคทางจิตเวช ด้วยเครื่องมือโปรตอน เอ็มอาร์เอส (Proton MRS) ก็ได้ข้อสรุปว่าสมองส่วนหน้า และส่วนข้างของผู้ติดเกมส์ลดลงไปค่อนข้างเยอะ ทำให้เป็นคนมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า ซึ่งหากติดมากอาการก็แสดงให้เห็นมาก รศ.นพ.ศิริไชย เตือนพ่อแม่ผู้ปกครองให้ตระหนักว่า ยิ่งปล่อยให้ลูกเล่นเกมส์มากเท่าไหร่ เซลล์ประสาทในสมองก็จะยิ่งทำงานได้แย่ลงเท่านั้น และมีผลกระทบต่อสมองเหมือนการเสพยาเสพติด

7 วิธีการแก้ไขปัญหา เด็กติดเกมส์ อย่างเห็นผล

1. หากในบ้านยังไม่มีกฎหรือกติกาการเล่นเกม พ่อแม่ต้องวางกติกาโดยพูดคุยกับเด็ก เพื่อกำหนดกติกากันล่วงหน้าก่อนจะซื้อเกม
 
2. พ่อแม่ควรมีเวลาอยู่กับเด็กมากขึ้น พาออกนอกบ้านเพื่อไปทำกิจกรรมที่เด็กชอบ (ยกเว้นการไปเล่นเกมนอกบ้าน) เนื่องจากเด็กส่วนหนึ่งติดเกมเพราะความเหงา เบื่อไม่มีอะไรสนุกๆ ทำ
 
3. พ่อแม่ควรรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก หลีกเลี่ยงการบ่น ตำหนิ ใช้อารมณ์ หรือถ้อยคำรุนแรง  แสดงความเห็นใจ เข้าใจว่าเด็กไม่สามารถคุมตัวเอง หรือตัดขาดจากเกมได้จริงๆ
 
4. พ่อแม่และผู้ใหญ่ทุกคนในบ้านต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหา โดยใช้กฎเดียวกัน อย่าปัดให้เป็นภาระหรือความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง
 
5. สร้างเครือข่ายผู้ปกครองที่มีเด็กติดเกมเหมือนๆกันหลายๆ ครอบครัว แล้วผลัดกันนำเด็กทำกิจกรรมหลังเลิกเรียน หรือในวันหยุด เช่น Camping, field trip, walk rally ฯลฯ จัดตั้งกลุ่มย่อยๆ เช่นsport club,adventure club เป็นต้น
 
6. ในรายที่ติดมากจริงๆ และเด็กต่อต้านรุนแรงที่จะเลิก ในระยะแรกพ่อแม่อาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นเกมกับเด็ก ทำความรู้จักกับเกมที่เด็กชอบเล่น หากเห็นว่าเป็นเกมที่ไม่เหมาะสมหรือเกมที่ใช้ความรุนแรงพยายามเบี่ยงเบนให้เด็กมาสนใจเกมอื่นที่พอจะมีส่วนดี ดึงเอาส่วนดีของเกมมาสอนเด็ก เช่น เกมสร้างเมือง หรือ Strategic game ต่างๆ เมื่อสัมพันธ์ภาพกับเด็กเริ่มดีขึ้น พ่อแม่จึงค่อยๆ ดึงเด็กให้มาสนใจในกิจกรรมอื่นทีละเล็กทีละน้อย
 
7. หากทำทุกวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล หรือในกรณีที่สงสัยว่าเด็กอาจมีปัญหาทางจิตใจ หรือโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือสมาธิสั้น ควรส่งเด็กเพื่อรับการวินิจฉัย และบำบัดรักษาจากจิตแพทย์ หรือจิตแพทย์เด็ก

ทำไม พ่อ-แม่ นับพัน
เลือกใช้ "อเลอไทด์"

เห็นผลจริง
พิสูจน์แล้วโดยผู้ใช้นับพัน

ผลลัพธ์การใช้อาจแตกต่างในแต่ละบุคลค

ปรึกษาปัญหาเด็กติดเกมส์
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์
โทร : 091-8871691087-5917495
Add Line : @HealthyBrain (มี @ ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,707