เด็กไทยสมาธิสั้นนับล้านคน เหตุพ่อแม่เลี้ยงลูกฝืนธรรมชาติ

 

สธ.(กระทรวงสาธารณะสุข) เผยตัวเลขเด็กไทยป่วยสมาธิสั้นกว่า 1 ล้านคน กุมารแพทย์เตือน เลี้ยงลูกฝืนธรรมชาติ เป็นต้นเหตุ

นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เด็กที่ป่วยโรคสมาธิสั้น สาเหตุหลักในปัจจุบัน เกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ที่กระตุ้นให้เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นมีอาการที่แย่ลง  โดยเฉพาะการเร่งรัดให้เด็กปฐมวัย อ่านออกเขียนได้ หรือ การเลี้ยงดูให้เด็กอยู่กับสื่อมีเดียประเภทต่างๆ ซึ่งผิดจากธรรมชาติที่เด็กจะต้องได้เล่นอย่างเหมาะสมกับวัย

“ อาการสมาธิสั้น จะมีในเด็กทุกคนอยู่แล้ว เพราะ ในสมองจะมีสารบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ  ซึ่งเด็กบางคนที่มีอาการสมาธิสั้น อาจมีสารดังกล่าวที่พร่องจากเด็กทั่วไป ซึ่งหากผู้ปกครองเลี้ยงดูอย่างผิดๆ และ ฝืนธรรมชาติของเด็ก ก็จะทำให้อาการแย่ลง ” นพ.สุริยเดว กล่าว...

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า  เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นกว่า 50% หรือ ราว 5 แสนคน จะมีปัญหาด้านสุขภาพจิตตามมา  เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการปรับตัวเข้ากับคนอื่น และ เกิดปัญหาความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ปกครองด้วย

 

ทั้งนี้ โรคสมาธิสั้นในเด็ก เกิดจากภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมอง ทำให้เด็กเกิดความผิดปกติที่สำคัญ 3 ด้าน คือ

1. มีช่วงสมาธิสั้นกว่าปกติ  มีความสนใจต่ำ

2. ซุกซนผิดปกติ

3. มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น

 

นอกจากนี้ สถิติเด็กอายุ 6-12 ปี ที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย ซึ่งจัดเก็บตั้งแต่ปี 2555 พบว่า มีมากถึง 1 ล้านคน  ซึ่งพบในเด็กชายมากที่สุด 12%  มากกว่า ค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่พบ 10% 

“ อาการสมาธิสั้น ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุก่อน 7 ปี และ จะมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ต้น จะส่งผลต่อพัฒนาการด้านลบ และติดตัวไปจนถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่  ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงออก เช่น การต่อต้านสังคม  เกเร  ใช้ความรุนแรง  รวมถึง เสี่ยงติดยาเสพติด และ เกิดภาวะอาการซึมเศร้า ” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว....

ด้าน พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า  ได้ดำเนินการพัฒนาแอพพลิเคชั่น เพื่อช่วยติดตามดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น โดยบูรณาการติดตามร่วมกันระหว่าง ครู ผู้ปกครอง และ บุคลากรทางการแพทย์

ทั้งนี้ แอพพลิเคชั่น สามารถให้ความรู้เรื่องโรค การประเมินลักษณะอาการเด็กด้วยแบบมาตรฐานของกรมสุขภาพจิต และ สามารถติดตามผลความก้าวหน้าของเด็กสมาธิสั้น ทั้งการเรียนและพฤติกรรม รวมถึง ประเมินความเครียด เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู จัดแบบแผนชีวิตประจำวันของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นให้เหมาะสมได้  ซึ่งคาดว่าจะทดลองใช้แอพพลิเคชั่นในเดือน เม.ย. 2561 และ จะปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพ ก่อนขยายผลใช้ทั่วประเทศต่อไปโดยเร็ว

พญ.มธุรดา กล่าวว่า สาเหตุของโรคสมาธิสั้นในเด็กพบว่า 80% มาจากพันธุกรรม และ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีก เช่น ได้รับสารตะกั่ว  สารฆ่าแมลง รวมถึง มารดาที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ติดสารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์  ซึ่งสามารถทำลายการเจริญเติมโตสมองเด็กได้  อย่างไรก็ตามการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้น สามารถจัดการได้  โดยการคัดกรองอาการของโรคจาก ผู้ปกครอง  ครู  การปรับพฤคิกรรมของผู้ปกครอง  ครู  ให้เหมาะสมกับเด็ก และ การประเมินอาการและรักษาโดยแพทย์

“เด็กส่วนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น หรือ ราว 30%  จะหายเองเมื่อผ่านช่วงเวลาวัยรุ่นไปแล้ว และ จะสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น เรียนหรือทำงานได้เหมือนคนปกติทั่วไป” พญ.มธุรดา กล่าว

 

เกณฑ์ที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัย 
"โรคสมาธิสั้น" 

 เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (DSM-IV) 

ก. อาการขาดสมาธิ (Attention Deficit): โดยเด็กจะมีอาการต่อไปนี้

1. ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
2. ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
3. ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
4. ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อยๆ 
5. ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
6. มีปัญหาหรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิด หรือ สมาธิ
7. วอกแวกง่าย
8. ทำของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงาน หรือ การเรียน หายอยู่บ่อยๆ 
9. ขี้ลืมบ่อยๆ

ข. อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity และ อาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม (Impulsivity) โดยเด็กจะมีอาการต่อไปนี้

1. ยุกยิก อยู่ไม่สุข
2. นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อยๆ ขณะอยู่ที่บ้านหรือในห้องเรียน
3. ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ
4. พูดมาก พูดไม่หยุด
5. เล่นเสียงดัง
6. ตื่นตัวตลอดเวลา หรือดูตื่นเต้นง่าย
7. ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถามโดยที่ยังฟัง คำถามไม่จบ
8. รอคอยไม่เป็น
9. ชอบขัดจังหวะหรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นกำลังพูดอยู่

หากเด็กคนใดมีลักษณะอาการใน ข้อ ก หรือ  ข้อ ข รวมกันมากกว่า อาการขึ้นไป เด็กคนนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น

==============================================
 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
พญ.มธุรดา  สุวรรณโพธิ์
ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
Thai PBS
 
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain 
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง 
√ เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
 กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
 ช่วยปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
√ ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น 
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,735