หลักการช่วยเหลือ เด็กแอลดี ที่พ่อ-แม่ ต้องรู้

LD หรือ Learning Disabilities หมายถึง ความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ แสดงออกมาในรูปของปัญหาด้านการอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ รศ. พญ. ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างสรรค์ศักยภาพสมองครีเอทีฟเบรน กล่าวว่า เด็ก LD หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นเด็กที่มีวงจรการทำงานของสมองไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นเซลล์สมองบางส่วนอยู่ผิดที่ ทำให้มีปัญหาในการเรียน เรียนอ่อนบางวิชา หรือหลายๆ วิชา ทั้งที่สติปัญญาปกติ วันนี้เราจึงนำแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ปกครอง และสำหรับครูมาฝากกันค่ะ

สำหรับผู้ปกครอง :


1. เรียนรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับความบกพร่องในการเรียนรู้ 

ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้คุณพ่อและคุณแม่เข้าใจลูกๆว่า เขาไม่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการเดียวกับคนส่วนใหญ่ การเรียนรู้อะไรที่เป็นสิ่งที่ยากสำหรับบุตรหลานของท่าน และมีแหล่งความช่วยเหลืออะไรบ้างที่ท่านพอจะช่วยเหลือได้ เพื่อช่วยให้ชีวิตและการเรียนรู้ง่ายขึ้นสำหรับลูก


2. ค้นหาสิ่งที่ช่วยบอกให้ท่านรู้ว่าบุตรหลานของท่านเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่ง 

เช่น โดยการมอง การฟัง หรือการสัมผัส อะไรเป็นวิธีที่เป็นจุดอ่อนที่สุดของลูกของท่านในการเรียนรู้ ควรกระตุ้นให้ลูกเกิดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายๆด้านรวมกัน
 

3. มุ่งให้ความสนใจไปยังสิ่งที่เด็กสนใจ ความเฉลียวฉลาด ความสามารถพิเศษและทักษะต่างๆ

ที่ลูกของพ่อแม่มี ซึ่งจะช่วยได้มากในการสร้างแรงจูงใจ และสนับสนุนให้บุตรหลานของพ่อแม่เกิดการเรียนรู้ที่ราบรื่น


4. สอนโดยอาศัยจุดเด่นหรือวิธีการที่บุตรหลานของท่านถนัดและทำได้ดี 

เช่น ถ้าลูกสามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดีเมื่อฟังข้อมูลเหล่านั้น ขอให้ใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของลูก แทนที่จะเคี่ยวเข็ญให้เด็กอ่านมากๆ ควรปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้ข้อมูลใหม่จากการฟังข้อความจากเทปบันทึกเสียงที่อ่านเรื่องราวในหนังสือเล่มนั้น หรือให้ดูวิดีทัศน์หรือวิดีโอเทปแทน


5. ให้เกียรติและกระตุ้นให้เด็กใช้สติปัญญาตามธรรมชาติของเด็ก

เด็กอาจมีปัญหาในการอ่านหรือการเขียน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การเรียนรู้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งมีอีกมากมาย เด็กส่วนใหญ่ที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้มีระดับสติปัญญาปกติหรือสูงกว่าปกติซึ่งจะช่วยให้เขาสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดี

6. สิ่งที่ควรคำนึงที่สุดและจงจำไว้เสมอคือ ความผิดพลาดไม่ใช่ความล้มเหลว 

ลูกมีแนวโน้มที่จะมองความผิดพลาดของตนเองเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่ คุณแม่คุณพ่อสามารถที่จะเป็นแบบอย่างโดยการยอมรับความผิดพลาดของตนเองอย่างมีอารมณ์ขัน ชี้ให้เด็กเห็นว่าความผิดพลาดนั้นสามารถจะนำมาเป็นประโยชน์ได้เช่นกัน เป็นการเรียนรู้ที่จะไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำอีก จะช่วยให้เด็กได้เกิดการแก้ปัญหาของตนเองด้วยวิธีใหม่ ความผิดพลาดเหล่านั้นไม่ใช่จุดจบของโลก

7. ควรตระหนักไว้เสมอว่าอาจจะมีบางสิ่งบางอย่างที่บุตรหลานของท่านจะไม่มีวันทำได้ 

หรือจะมีปัญหาการทำเช่นนี้ไปจนตลอดชีวิต โปรดช่วยให้ลูกๆของท่านเข้าใจว่า การที่เป็นเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าเขาคือผู้ล้มเหลว และให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกของพ่อแม่จะทำได้

 

8. โปรดตระหนักว่าการพยายามเคี่ยวเข็ญให้บุตรหลานของท่านอ่าน เขียน หรือ ทำการบ้านให้ได้ 

ทั้งๆที่เป็นสิ่งที่เขาทำไม่ได้ อาจนำไปสู่สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งสูง ซึ่งจะลงท้ายด้วยความเครียด ความโกรธ คับข้องใจ

 

9. เข้าร่วมประชุมกับทางโรงเรียน พยายามผลักดันให้มีการจัดโปรแกรมการศึกษารายบุคคล (individualized educational plan – IEP) 

ให้กับลูก และแบ่งปันประสบการณ์ของคุณให้คุณครูได้ทราบว่าคุณใช้การสอนวิธีใดที่บ้านที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด

 

10. โปรดดูให้แน่ใจว่าหนังสือที่ลูกอ่านตรงกับระดับความสามารถในการอ่านของลูก 

ส่วนใหญ่เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้จะอ่านหนังสือได้ในระดับที่ต่ำกว่าระดับชั้นเรียนของตน ดังนั้นเพื่อที่จะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการอ่าน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กจะต้องมีหนังสืออ่านที่ตรงกับระดับความสามารถในการอ่านของเด็ก

 

11. สนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของเขา 

มองหาดูว่าลูกของท่านเก่งในเรื่องใด มีอะไรที่เขาชอบหรือสนุกสนานกับสิ่งนั้นเป็นพิเศษบ้าง ควรสนับสนุนให้เขามีโอกาสประสบความสำเร็จและค้นพบความสามารถที่เขาจะแสดงออกได้อย่างภาคภูมิ

 

12. ไตร่ตรองความคาดหวังของพ่อแม่และปรับให้อยู่ในความเป็นจริงเป็นระยะๆ

 

13. ส่งเสริมและเข้าร่วมในชมรมผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาทางด้านการเรียนรู้ เพื่อช่วยเหลือให้เด็กที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน

 

สำหรับคุณครู

1. รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือนถึงความบกพร่องในการเรียนรู้

กล่าวคือเด็กแสดงความยากลำบากในการอ่าน การเขียน การคำนวณ ความจำ ความตั้งใจ สมาธิ ทักษะการจัดการ การทำงานประสานกันของร่างกาย และพฤติกรรมทางสังคม เด็กที่เป็น LD มักจะเป็นเด็กมีผลการเรียนไม่ดีทั้งๆที่เด็กแลดูเฉลียวฉลาด

 

2. เข้าร่วมในการฝึกอบรมหรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือโปรแกรมพัฒนาบุคลากรต่างๆ

ครูต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอเพื่อพัฒนาทักษะทางการสอนและแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับบรรดาครูด้วยกัน รวมทั้งขอความช่วยเหลือจากองค์กรที่มีผู้เชี่ยวชาญ และนักการศึกษาพิเศษสำหรับความบกพร่องในการเรียนรู้

3. วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน

สังเกตติดตามความสามารถและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักเรียนแต่ละคน


4. พัฒนาเทคนิคการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

ควรใช้เทคนิคหรือนวัตกรรมเพื่อดึงความสนใจของเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้และต้องปรับปรุงโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กด้วยการจัดเตรียมการเรียนการสอนรายบุคคล(individualized educational plan - IEP)

5. เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้มักจะมีความยากลำบากในการดึงความคิดรวบยอด

และการติดต่อสื่อสารในชั้นเรียนมากกว่าเด็กคนอื่น ปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และความสามารถของเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้


6. จัดเตรียมโครงสร้างของการเรียนรู้ การพัฒนานิสัยการทำงาน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

ต้องสอนให้เด็กได้สังเกตความก้าวหน้าและจัดระเบียบเวลา และความพยายามที่ใช้ในการทำงานแต่ละอย่าง


7. พยายามสร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้

โดยมองหาจุดดี จุดแข็งของเด็กและให้คำชมอยู่เสมอ


8. ประชุมกับผู้ปกครองเพื่ออภิปรายปัญหาของเด็กที่โรงเรียนร่วมมือกับผู้ปกครอง

และผู้ดูแลเด็กในการให้การศึกษาพิเศษหรือการศึกษารายบุคคลกับเด็ก และแนะนำกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้ในระหว่างสุดสัปดาห์หรือในช่วงวันหยุดได้


9. ทำความเข้าใจกฎหมายและขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการศึกษาพิเศษหรือโปรแกรมการศึกษารายบุคคล เป็นกระบอกเสียงให้กับเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้รักษาสิทธิของเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ในฐานะที่เด็กเป็นสมาชิกของชุมชน โรงเรียน

10. คุณครูสามารถทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางโรงเรียนในการช่วยเหลือเด็ก

ปรับให้เกิดความยืดหยุ่นในกระบวนการสอนในชั้นเรียน ใช้ประโยชน์จากสื่อวัสดุที่มีลักษณะตรวจสอบคำตอบได้ด้วยตนเอง ซึ่งช่วยให้เด็กได้รับผลย้อนกลับหรือได้ข้อมูลป้อนกลับทันทีทันใดโดยไม่ต้องรู้สึกอับอายคนอื่น ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับฝึกทักษะและฝึกปฏิบัติต่าง ๆ รวมทั้งสอนให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์แบบประมวลคำ


11. ให้การเสริมแรงทางบวกต่อเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้

เมื่อแสดงทักษะทางสังคมที่เหมาะสมทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน

คุณครูควรเข้าใจว่าการที่นักเรียนที่มีภาวะ LD ได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษนั้น ไม่ได้หมายความว่านักเรียนผู้นั้นมีอภิสิทธิ์เหนือนักเรียนคนอื่น เพียงแต่ว่าเขามีความพิการทางสมองอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างออกไป เปรียบเสมือนนักเรียนที่มีความพิการทางสายตาที่จำเป็นต้องเรียนรู้โดยการใช้อักษรเบรลล์

ปัญหาเด็กแอลดี เด็กสมาธิสั้น นั้นหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี อาจจะส่งกระทบระยาวกับเด็กได้ในอนาคต ทั้งในเรื่องการเรียน การเข้าสังคม ความหมั่นใจในตัวเอง และหน้าที่การงานในอนาคต ดังนั้น พ่อ-แม่ และครู จึงไม่ควรละเลยเด็กกลุ่มนี้

==============================================
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
oknation.nationtv.tv
สนับสนุนโดย
ศูนย์สมองดี HealthyBrain
อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 412,450