ลูกสมาธิสั้น ทำไมต้องรีบรักษา
ส่งผลระยะยาวแน่ ถ้าหากลูกเป็น โรคสมาธิสั้น ซึ่งแพทย์จิตเวชเผยว่า ในปี 2561 นี้ เด็กไทยสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น ไม่ใช่จากแค่ทางพันธุกรรม แต่เกิดจากพฤติกรรมของเด็กที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกได้ เล่นมือถือ ดูโทรทัศน์ นานเกินไป
ในปัจจุบันเด็กหลายคนเริ่มใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ เล่นมือถือ ดูการ์ตูน เป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกันตั้งแต่อายุน้อยๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ลูก สมาธิสั้น มากขึ้น เพราะจะไปกระตุ้นให้มีการหลั่งสารโดปามีนออกมา
รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเรื่อง "การใช้เทคโนโลยีของเด็กและวัยรุ่น ปี 2555-2556" สรุปแนวโน้มเด็กและเยาวชนว่า ใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นทุกปี อาทิ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต อินเตอร์เน็ต โดยผลสำรวจพบว่า เด็กและวัยรุ่นใช้เทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงมากสุด เช่น ดูหนังฟังเพลง โหลดเกม โหลดเพลง เล่นเกม เล่นโซเชียลมีเดีย
"สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด การเสพติดเทคโนโลยี ส่งผลกระทบไปถึงสมอง ทำให้ประสิทธิภาพลดลง มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ผลกระทบทางสมองของผู้ที่ติดเทคโนโลยีว่า การติดจะทำให้การเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทลดลง อย่างสมองส่วนหน้าลดลง 24% สมองส่วนข้างลดลง 27%"
นอกจากนี้ยังมีงานศึกษาวิจัยล่าสุด ที่กำลังตีพิมพ์ของต่างประเทศ ที่เขาศึกษาคนติดเกมออนไลน์ 73 คน เปรียบเทียบกับคนปกติ 38 คน ที่ไม่ติดเกม และ ไม่เป็นโรคทางจิตเวช ด้วยเครื่องมือโปรตอน เอ็มอาร์เอส (Proton MRS) ก็ได้ข้อสรุปว่า สมองส่วนหน้า และ ส่วนข้างของผู้ติดเกมลดลงไปค่อนข้างเยอะ ทำให้เป็นคนมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้น มีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า ซึ่งหากติดมากอาการก็แสดงให้เห็นมาก
รศ.นพ.ศิริไชย ย้ำ แล้วเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองให้ตระหนักว่า "ยิ่งปล่อยให้ลูกเล่นเกมมากเท่าไหร่ เซลล์ประสาทในสมอง ก็จะยิ่งทำงานได้แย่ลงเท่านั้น และ มีผลกระทบต่อสมองเหมือนการเสพยาเสพติด"
โรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เป็นหนึ่งในโรคจิตเวชเด็กที่พบบ่อย ลักษณะอาการมีตั้งแต่ซุกซน อยู่ไม่สุข ยุกยิก วอกแวกง่าย บางรายอาจมีลักษณะ เหม่อลอย ไม่ซน อยู่นิ่ง ซึ่งพบได้น้อยกว่า และ บางรายอาจมีอาการทั้ง 2 ลักษณะร่วมกัน หลายท่านอาจมองว่า ความซุกชน เป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว โรคสมาธิสั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล…จริงหรือ?
โดยทั่วไปโรคสมาธิสั้น ไม่ใช่โรคร้ายแรง และ สามารถรักษาให้หายได้ เด็กสมาธิสั้น ก็เหมือนกับเด็กปกติทั่วไป เพียงแต่พวกเขาไม่สามารถควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสมเท่านั้น
การที่เด็กสมาธิสั้นไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้นาน หรือ วอกแวกง่าย ทำให้เด็กขาดสมาธิ ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ เรียนไม่ทันเพื่อน และ ดูเหมือนไม่รู้กาลเทศะ เช่น ในสถานการณ์ที่ต้องเป็นระเบียบเรียบร้อย เด็กทั่วไปจะสามารถปฏิบัติได้ ต่างจาก เด็กสมาธิสั้น ที่อยู่ในระเบียบได้ไม่นาน แม้จะถูกว่ากล่าวตักเตือน ก็เชื่อฟังได้เพียงครู่เดียว แล้วก็กลับมาซุกซนใหม่ สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่คนรอบข้าง
ผลกระทบจากสมาธิสั้น
ปัญหาที่พบในเด็กกลุ่มนี้คือ พ่อแม่ผู้ปกครอง มักไม่เข้าใจหรือไม่รู้ว่า ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น
"เด็กกลุ่มนี้มักมี ความบกพร่องด้านการเรียนรู้ เรียนรู้ได้ช้า เมื่อเด็กไม่สามารถทำงานตามที่มอบหมายได้ ก็มักจะถูกดุ ด่า ว่ากล่าว หรือ ถูกลงโทษ ทำให้เด็กรู้สึกกดดัน น้อยเนื้อต่ำใจ ดูถูกตนเอง และ อาจเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดความมั่นใจ ขาดพลังในการดำเนินชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำ ทั้งที่จริงๆ แล้วเด็กอาจจะมีศักยภาพหลายอย่างซ่อนอยู่ แต่ไม่สามารถดึงออกมาใช้ได้ เนื่องจากถูกความรู้สึกด้อยค่ากดทับไว้ จึงเสียโอกาสในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย"
นอกจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กโดยตรงแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองเองก็อาจต้องเผชิญกับภาวะความเครียด เพราะ ลูกทำไม่ได้อย่างที่หวังไว้ เกิดเป็นปัญหาครอบครัวตามมา นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมเราต้องให้ความสำคัญในการดูแลรักษาเด็กสมาธิสั้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขนั่นเอง
แน่ใจได้อย่างไรว่าเป็น โรคสมาธิสั้น
การจะวินิจฉัยว่า เด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการซักประวัติอย่างละเอียดทั้งจากตัวเด็กเองและพ่อแม่ผู้ปกครอง ร่วมกับการประเมินอาการตามเกณฑ์การวินิจฉัยของแพทย์ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เด็กมีอาการคล้ายคลึงกับโรคสมาธิสั้น ยกตัวอย่างเช่น
√ การได้รับยาบางชนิด (เช่น ยากันชัก ยารักษาโรคหอบหืด) ที่อาจมีผลข้างเคียงทำให้เด็กอยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย
√ ผลกระทบจากการเลี้ยงดู เช่น การให้เด็กเสพสื่อ หรือ เล่นสมาร์ทโฟน มากเกินไป เนื่องจากสื่อต่างๆ เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กหลุดจากสมาธิได้ง่ายขึ้น
√ หลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนยากเกินศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กในวัยนั้นๆ ไม่ได้เป็นเพราะ เด็กเรียนรู้ได้ช้า
แนวทางการรักษาเด็กสมาธิสั้น
การรักษาโรคสมาธิสั้นแบ่งได้เป็น 2 แนวทางหลัก ได้แก่
> การปรับพฤติกรรมของเด็ก
> การรักษาด้วยยา
ซึ่งการจะใช้แนวทางการรักษาแบบใดนั้น แพทย์จะประเมินจากผลกระทบของโรคที่เกิดขึ้นกับ ตัวเด็กและครอบครัว
Ο การปรับพฤติกรรมของเด็ก ทำได้โดย
• เข้าใจ ความเข้าใจ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู และ บุคคลใกล้ชิดพึงมี โดยควรเข้าใจว่า พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นผลจาก โรคสมาธิสั้น ไม่ได้มาจากตัวเด็กเอง และ ปรับวิธีการเลี้ยงดูให้เหมาะสม เช่น ใจเย็น ไม่ใช้อารมณ์ดุด่าว่ากล่าวเด็ก ชื่นชม และ ให้กำลังใจในสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ เพื่อให้เด็กเกิดความภูมิใจในตัวเอง
• ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เด็กสมาธิสั้นจะวอกแวกได้ง่าย จึงควรให้เด็กได้อยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีสิ่งรบกวน ควบคุมการเสพสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จัดตารางกิจกรรมให้เป็นเวลา ที่โรงเรียนไม่ควรให้เด็กนั่งริมหน้าต่าง ควรจัดให้นั่งใกล้กับคุณครู เพื่อช่วยดึงความสนใจให้เด็กกลับมามีสมาธิกับงานที่ทำอยู่
• สร้างเงื่อนไข เช่น การให้รางวัลจูงใจ หากเด็กทำภารกิจสำเร็จลุล่วงตามเงื่อนไข พบว่า เด็กสมาธิสั้น จะตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยของรางวัลมากกว่าเด็กปกติ โดยเด็กจะเกิดแรงผลักดัน และ จดจ่อกับการทำภารกิจนั้น ๆ มากขึ้นกว่าเดิม
⊕ การใช้ยา จะช่วยให้เด็กควบคุมพฤติกรรมได้ดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้ตลอดชีวิต โดยแพทย์จะติดตามและประเมินผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง หากผลการรักษามีแนวโน้มดีขึ้น ก็สามารถปรับลดขนาดยา หรือ หยุดยาได้
ความเข้าใจและการยอมรับ เป็นสิ่งสำคัญในการดูแลเด็กสมาธิสั้น เพราะการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็ก ถือเป็นการมอบโอกาสให้เด็กได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ส่งผลดีทั้งต่อตัวเด็ก ครอบครัว และสังคม จึงไม่ควรปล่อยโอกาสนี้ให้หลุดลอยไป หากสงสัยว่าลูกหลานจะเป็น โรคสมาธิสั้น ควรพามาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาตามลำดับ
==================================
♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
เพิ่มสมาธิ ให้ลูกน้อยด้วย "อเลอไทด์"
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น