โรคสมาธิสั้นของลูกน้อย...อย่าปล่อยผ่านไป ให้รีบรักษา

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่รู้จักกันดีในหมู่ จิตแพทย์เด็กและหมอพัฒนาการ เพราะจากสถิติพบว่า เด็กๆเป็น โรคสมาธิสั้น มากถึง 5-10% หรือ พูดง่ายๆว่า นักเรียน 1 ห้อง จะมีเด็กสมาธิสั้นอย่างน้อยอยู่ 1 คน และ เจอในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 4 เท่า

เจาะลึกถึงจุดเริ่มต้น

ทางการแพทย์ได้อธิบาย โรคสมาธิสั้น หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) ไว้ว่า โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองส่วน Prefrontal cortex ที่ทำหน้าที่เหมือนหอบังคับการที่ควบคุม พฤติกรรม สมาธิ ความตั้งใจ การวางแผน ความยับยั้งชั่งใจ  การคิด และ การตัดสินใจ ซึ่งเมื่อเกิดความผิดปกติของสารเคมีในส่วนนี้ ก็จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น เด็กจะซนเกินไป ขาดสมาธิ หุนหันพลันแล่น วอกแวกง่าย ขี้ลืม จนทำให้เกิดผลเสียต่างๆ ตามมาได้ถ้าไม่รีบรักษา

อาการที่สังเกตได้

โรคสมาธิสั้น นี้อาจจะไม่ได้มีอาการเจ็บปวดเหมือนโรคอื่นๆ ทั่วไป แต่จะแสดงออกทาง พฤติกรรม มากกว่า โดยจะมีที่เด่นๆ อยู่ 3 อย่างคือ
√ ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
√ หุนหันพลันแล่น วู่วาม (Impulsivity)
√ ขาดสมาธิ ไม่จดจ่อ (Inattention)
 
ซึ่งในการวินิจฉัยโรคของสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (DSM-IV-TR) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นหรือหุนหันพลันแล่น จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต และ ไม่สอดคล้องกับพัฒนาการ
 

อาการสมาธิสั้น (อย่างน้อย 6 อาการ)

 > ไม่ใส่ใจในรายละเอียดของสิ่งต่างๆ มีความเลินเล่อ ไม่ระมัดระวังในการทำงาน

 > ไม่มีสมาธิต่อเนื่องกับงานหรือแม้แต่การเล่น

 > ไม่ฟังเวลามีคนพูดด้วย

 > ทำตามคำสั่งไม่จบหรือทำงานไม่เสร็จ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการดื้อต่อต้านใดๆ

 > มีปัญหากับการจัดระบบงานหรือกิจกรรมต่างๆ

 > ไม่ชอบและพยายามเลี่ยงที่จะทำในสิ่งที่ต้องใช้ความพยายาม เช่น ทำการบ้าน

 > ทำของหายบ่อย

 > วอกแวกง่าย

 > ชอบลืมสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน
 

อาการซนหรือหุนหันพลันแล่น (อย่างน้อย 6 อาการ)

 > อาการซุกซน ไม่อยู่นิ่ง

 > ชอบยุกยิก มือเท้าไม่อยู่นิ่งเวลานั่งบนเก้าอี้

 > ชอบลุกออกจากที่นั่งตอนที่อยู่ในห้องเรียน หรือในที่ที่ควรจะนั่งอยู่กับที่

 > ชอบปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม

 > ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมแบบเงียบๆ ได้

 > ชอบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

 > พูดมาก

 > ชอบพูดโพล่งคำตอบแทรกขึ้นมาก่อนที่คำถามจะจบ

 > รอคอยอะไรไม่ได้เลย

 > ชอบพูดแทรก หรือขัดจังหวะคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยหรือเล่นกิจกรรมใดๆ

นอกจากนี้ยังสังเกตได้ว่า อาการดังกล่าวจะชอบเกิดก่อนที่เด็กจะอายุ 7 ปี และอาการเหล่านี้ยังเกิดขึ้นในทุกๆ วันอย่างน้อย 2 สถานที่ หรือมากกว่านั้น และอาการดังกล่าว ยังส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน และ การเข้าสังคมด้วย ที่สำคัญอาการนั้นไม่ได้เป็นอาการของโรคจิต หรือ โรคที่แสดงพัฒนาการที่ผิดปกติของเด็ก

ปัจจัยร่วมที่อาจจะเกี่ยวข้องได้

นอกจากความผิดปกติของสารเคมีแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้นได้อีก เช่น

♥ พันธุกรรม

♥ สิ่งแวดล้อม

♥ สารตะกั่ว

♥ พฤติกรรมของแม่ที่สูบบุหรี่ในขณะที่ตั้งครรภ์

♥ การคลอดก่อนกำหนด รวมไปถึงภาวะการแทรกซ้อนอื่นๆ ของการตั้งครรภ์และการคลอด

ผลกระทบต่อการเรียนรู้

 
เมื่อโรคนี้เกิดขึ้นกับเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเรียน จะทำให้มีปัญหาในการเรียน เรียนได้ไม่เต็มศักยภาพ ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา เด็กก็มักจะมีผลการเรียนต่ำกว่าความสามารถจริงของสมอง แต่ในเคสที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม และตัวเด็กเองมีความฉลาดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เด็กก็จะมีผลการเรียนที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

ทุกอย่างรักษาได้

การรักษาโรคสมาธิสั้นมีอยู่ 2 แบบคือ

√ รักษาด้วยยา เพื่อปรับให้สารเคมีในสมองกลับมาสมดุลอีกครั้ง ซึ่งวิธีนี้ใช้ได้ผลประมาณ 70%

√ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม ที่เน้นไปที่การสร้างพฤติกรรมเชิงบวก ที่ต้องผ่านการฝึกฝนไปตามวัย ซึ่งมีทั้งการฝึกทักษะในการจัดการตัวเอง ทำตามแผน ตามเวลา จัดการกับอารมณ์ตัวเอง และ การฝึกทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การสื่อสาร การปฏิบัติตัวตามกฎระเบียบ การทำงานร่วมกัน ซึ่งทั่วไปแล้วการรักษาแบบนี้จะเน้นรักษาควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา

ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบไหน ผู้ปกครองและแพทย์ที่รักษาควรปรึกษาและตัดสินใจร่วมกันอย่างใกล้ชิด


==============================================
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
พญ. สุนิดา โสภณนรินทร์
จิตแพทย์เด็กและวันรุ่น โรงพยาบาลพญาไท

 ==================================

♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
ให้ลูกน้อย ก่อนเปิดเทอม 
ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"
 

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,714