เทคนิคแก้ปัญหา หนูน้อยขี้ลืม

ขี้ลืม หรือ สมาธิสั้น  เดี๋ยวก็ลืมผ้าเช็ดตัวไว้ที่สระว่ายน้ำ เดี๋ยวก็ลืมกระเป๋าไว้บนรถโรงเรียน ทำไมขี้ลืมได้ขนาดนี้เนี่ย…ลูกฉัน!  เอาละ ก่อนที่คุณแม่จะอารมณ์เสียไปมากกว่านี้ ลองมาหาวิธีแก้ไขอาการขี้ลืม ที่คุณจะนำไปปรับใช้กับลูกคุณดีกว่า กันไว้ดีกว่าแก้

เทคนิคกันลืม

  • จัดระบบกันลืม  โดยทำรายการของทุกอย่างที่ต้องใช้ที่โรงเรียน และ ช่วยกันเช็คให้ครบก่อนลูกออกจากบ้าน ทำสำเนาให้เขาเก็บใส่กระเป๋านักเรียนชุดหนึ่งด้วย จะได้เอาไว้เช็คอีกทีตอนขากลับ และ อย่าถือของให้ลูก เพราะเขาจะระมัดระวังมากยิ่งขึ้นถ้าถือเอง

  • เพิ่มความใส่ใจ  เมื่อทำของหาย เด็กๆ มักพูดว่า ช่างเถอะค่ะ "หนูไม่ชอบยางลบก้อนนั้นอยู่แล้วละ" ฉะนั้นพาลูกไปเลือกซื้อเสื้อผ้าหรือเครื่องเขียนกับคุณด้วยก็แล้วกัน เขาจะได้สนใจข้าวของเหล่านั้นมากขึ้น

  • สอนให้รู้ถึงคุณค่าของสิ่งของ  “เวลาเด็กๆ ทำของหาย พวกเขามักจะลงท้ายง่ายๆ ด้วยคำว่า  ‘ก็หนูไม่ได้ชอบมันอยู่แล้ว’   ” ดร.ชารี่ยัง คูเชนเบคเกอร์ ครูผู้ปกครอง"  ตั้งข้อสังเกต เมื่อเป็นอย่างนี้ครั้งต่อไป เวลาจะซื้ออะไรให้ลูก คุณถามเขาได้เลย “ลูกชอบไหม อยากได้ไหม” การซื้อของที่เขาต้องการจริงๆ จะช่วยให้ลูกรู้สึกผูกพันกับสิ่งของ และ รู้จักรักษาของนั้นมากขึ้น

ทั้งที่ไม่สามารถจะรักษาของไว้ได้  ดร.เคที เรชเก้  ที่ปรึกษาด้านการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยโคลัมบัส โอไฮโอ  อธิบายว่า  “เรื่องให้เด็กวัยนี้คิดได้อย่างผู้ใหญ่ว่า  เขาควรรู้ค่าของข้าวของต่างๆ นั้น  ยังไม่สามารถเข้าใจได้ จนกว่าจะทำงานหาเงินได้เอง”

แต่ถ้าคุณอยากลดจำนวนของหาย  ดร.เรชเก้  มีคำแนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกมีส่วนในการจับจ่ายข้าวของ เช่น ให้เขาออกเงินซื้อของที่เขาอยากได้ด้วย แม้เขาจะออกเพียงเล็กน้อยก็ตาม

นอกจากนี้ควรตกลงกฎกติกากับเขาให้ชัดเจน เรื่องการใช้ และ การดูแลสิ่งของ เช่น ลูกต้องเก็บกระเป๋าสตางค์ไว้ในกระเป๋าที่มีซิปทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จ  และ เมื่อเลิกเรียนเสื้อตัวแพงที่เขาอยากได้นั้นต้องอยู่ในกระเป๋า เตรียมพร้อมเอากลับบ้าน และ เมื่อใดก็ตามที่ของหาย ลูกต้องรับผิดชอบด้วย

คุณแม่ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อลูกขี้ลืม และทำของหายบ่อยๆ

– อย่าโวยวายเกินกว่าเหตุ  ไม่อย่างนั้นคุณจะไม่มีวันรู้อีกเลยว่า ลูกทำอะไรหายบ้าง

– ให้ลูกตามหาของสิ่งนั้น  โดยสอนวิธีหาให้เขาก่อน เช่น เดินย้อนกลับไปตามทางเดิมที่เพิ่งมา หรือ สอบถามจากพนักงานที่เคาน์เตอร์ แต่อย่าหาให้ลูกเสียเอง ถ้าหาไม่เจอก็อาจให้ติดประกาศไว้ที่บอร์ด (กรณีหายที่โรงเรียน)

– รักลูกให้ถูกทาง  ถ้าลูกนึกไม่ออกว่าลืมของไว้ที่ไหน ก็ให้เขาใช้ของเก่าที่มีอยู่ให้นานขึ้นอีกนิด  เพื่อให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลที่จะตามมา ของสิ่งที่เขาได้ทำลงไป หรือ ปล่อยให้มันเกิดขึ้น

ลูกอาจไม่ได้เป็น “สมาธิสั้น” แต่แค่เป็นเด็ก “ขี้ลืม” เพราะฉะนั้น คุณแม่ควรใส่ใจจัดระเบียบหนูน้อยให้มากกว่านี้ และ ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้สูญเสียของมีค่าหายไป ต้องซื้อซ้ำใหม่หลายๆ ครั้งนะคะ

 =================================

ขอขอบคุณข้อมูล และคำแนะนำดีๆ จาก
Amarinbabyandkids.com

สนับสนุนโดย
ศูนย์สมองดี Healthy Brain
อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง เสริมสร้างสมาธิ

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 412,453