รู้ได้อย่างไร 'ว่าลูกเป็น LD'
เด็กแอลดี
(LD :
Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ
เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า
แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากพัฒนาการของเด็กว่า
เป็นไปตามปกติหรือไม่ โดยเฉพาะด้านสติปัญญาที่จะส่งผลสัมพันธ์กับ
พัฒนาการด้านอื่นๆ
เช่น
วัยอนุบาล
- เด็กสามารถพูดคุยออกเสียงได้ชัดเจน สื่อสารได้ เข้าใจนิทานหรือเรื่องอิงจินตนาการที่พ่อแม่เล่าให้ฟัง
- ความเข้าใจเรื่องมิติสัมพันธ์ รู้จักด้านซ้าย ด้านขวา ไม่ใส่รองเท้าสลับข้าง
เขียนอักษรได้ถูกต้อง ไม่สลับทิศทาง เป็นต้น
- การทำงานประสานกันระหว่างตาและมือ และการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถนับเลขจำนวนง่ายๆ ได้ เช่น นับ 1-10 ได้ เป็นต้น
วัยประถม
- เด็กมีความสนใจหรือใส่ใจมากน้อยแค่ไหน
พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูที่โจทย์การบ้านว่ามีความยากง่ายอย่างไร
แล้วเปรียบเทียบว่าเด็กใช้เวลาทำการบ้านนานเกินไปหรือไม่
- เด็กมีความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ มากน้อยแค่ไหน เมื่อถูกซักถาม
สามารถอธิบายได้หรือไม่
- เด็กวัยประถมควรอ่านสะกดคำได้
อ่านแล้วสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ความเป็นมาก่อนหรือหลังได้อย่างเข้าใจ
- มีความเข้าใจเรื่องการคิดคำนวณ บวก ลบ คูณ หารเลขลักหน่วย หลักสิบ เป็นต้น
ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้ของภาวะความบพร่องในการเรียนรู้
(LD :
Learning Disability)
เด็กแอลดีอาจแสดงออกมาเป็นความบกพร่องทางการฟัง
การพูด การเขียน การคำนวณ เป็นต้น
ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนทำให้เรียนไม่ได้ตามศักยภาพที่มีอยู่
เด็กพวกนี้ถึงแม้จะเรียนพร้อมกับเด็กคนอื่น แต่ก็เรียนรู้ไม่ได้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดงนี้
1.
ด้านการอ่าน (Dislexia)
- อาจจะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้าง สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ
สับสนกับการผันสระ อ่านตกหล่น ข้ามคำ อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย
- อ่านช้า ลำบากในการอ่าน จะต้องสะกดคำก่อนจึงจะอ่านได้
- อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
- อ่านเดาจากอักษรตัวแรก เช่น บาท เป็นบทที่, เมื่อนั้น เป็น บัดนั้น
- อ่านข้าม อ่านเพิ่ม อ่านสลับคำ เช่น กรน อ่านเป็น นรก, กลม
เป็น กมล เพราะความสามารถในการรับตัวหนังสือเข้าไปแล้วแปลเป็นตัวอักษรเสียไป
- ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
- อ่านแล้วจับใจความสำคัญหรือเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้
- สำหรับเด็กที่มีความสามารถในการคำนวณ แต่มีปัญหาในการอ่าน
ก็ไม่สามารถทำคะแนนได้ดีเวลาสอบ เนื่องจากโจทย์ที่ให้ต้องอ่านเพื่อตีความหมาย
2.
ด้านการเขียนและการสะกดคำ (Disgraphia)
- รู้ว่าจะเขียนอะไร แต่เขียนไม่ได้ เขียนตก เขียนพยัญชนะสลับกัน
บางคนเขียนแบบสลับซ้ายเป็นขวาเหมือน ส่องกระจก
เกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน เขียนกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระวรรณยุกต์
สลับตำแหน่งกัน (เด็กกลุ่มนี้มักจะเริ่มสังเกตเห็นปัญหาได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน)
เช่น ก ไก่ เขียนหันหัวไปทางขวาแทนที่จะเป็นทางซ้าย
- ลากเส้นวนๆ ซ้ำๆ ไม่แน่ใจว่าจะเขียนหัวเข้าหรือหัวออก
เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น น เป็น ม, ภ เป็น ถ, ด เป็น ค,
b เป็น d, 6 เป็น 9 เป็นต้น
- เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
- เขียนเรียงลำดับ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนทีละตัวได้
- เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวหนังสือเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ไม่มีช่องไฟ
- จับดินสอแน่นมาก ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายๆ ครั้ง
- สะกดคำผิด เช่น บดบาด (บทบาท) แพด (แพทย์)
3. ด้านการคำนวณ (Discalculia) อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข
ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข ไม่สามารถจับหลักการ บวก ลบ คูณ หารได้
- เขียนตัวเลขผิด ไม่เข้าใจเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ค่าของตัวเลขหลักต่างๆ
หรือไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข
- นับเลขไปข้างหน้าหรือนับย้อนหลังไม่ได้
- จำสูตรคูณไม่ได้
- จะคำนวณเลขจากซ้ายไปขวา แทนที่จะเป็นจากขวาไปซ้าย
- ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
- เขียนเลขสลับตำแหน่งกัน เช่น จาก 12 เป็น 21
- เอาตัวเลขน้อยลบออกจากตัวเลขมาก เช่น 35-8 =27 เด็กจะเอา 5
ลบออก 8 เพราะมองว่า 5 เป็นเลขจำนวนน้อย
แทนที่จะมองว่า 5 เป็นตัวแทนของ 15
การวินิจฉัยทางการแพทย์ของภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้
(LD :
Learning Disability)
ปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้
แพทย์จะซักประวัติโดยละเอียดก่อน
เพื่อตรวจสอบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้นี้เป็นปัญหาที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมส่งผลต่อการเรียนหรือไม่
ปัญหาสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเรียน
- มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน เป็นผลทำให้ต้องขาดเรียนบ่อย
เรียนไม่ทันเพื่อน
- กินยารักษาโรคบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วง
- ครอบครัวหย่าร้าง พ่อแม่ทะเลาะกัน ทำร้ายร่างกาย ตบตี กระทำทารุณ
- ครูไม่เอาใจใส่เด็ก
- ถูกเพื่อนแกล้ง
หากพบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้
ไม่ได้เกิดจากปัญหาสภาวะแวดล้อมเหล่านี้ ก็จะทำการทดสอบไอคิว ถ้าผลออกมาว่า
การอ่าน การเขียน การฟัง ไม่สัมพันธ์กับไอคิว เด็กอาจจะเป็นโรคแอลดี
และอาจมีปัญหาที่สมองของเด็กจริง
การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว
- พ่อแม่จะต้องช่วยให้เด็กผ่านช่วงวัยเรียนไปให้ได้ เพราะเมื่อผ่านได้แล้ว
เด็กไม่ได้ต้องสอบ ปัญหาต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปตามวัย
- สร้างให้ช่วงวัยเรียนของเด็กมีความสุขที่สุด มีปัญหาน้อยที่สุด
ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ คิดว่าตนเองมีคุณค่า นับถือตัวเอง และภาคภูมิใจในตนเอง
- พ่อแม่ต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องของ อีคิว (EQ) มากกว่าผลการเรียนดีเลิศของเด็ก
- พ่อแม่ต้องใจเย็น ใช้ความอดทนสูง ให้ความรักและเข้าใจเด็ก ไม่ดุด่า ไม่หยิก
ไม่ตี
- พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังมาก สร้างให้เด็กสามารถมีชีวิตได้เองโดยลำพัง
ไม่เป็นภาระของผู้อื่น สามารถอยู่ในสังคมได้
- ปลอดภัยจากสารพิษ เล่นเด็กเล่นอยู่ในสถานที่ปลอดภัย ห่างไกลมลพิษ
ไม่ให้อยู่ในสถานที่ๆ มีสารตะกั่วนานเกินไป อย่างริมถนนที่รถพลุกพล่าน
ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
- เวลาทองของครอบครัว คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเวลาของครอบครัว
มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การอ่านหนังสือ เล่านิทาน
สอนให้เด็กมีทักษะการคิด การคำนวณ ขีดเขียนวาดภาพ
หรือเล่นเกมสังเกตและทายสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
- งานบ้านฝึกสมอง ให้เด็กช่วยทำงานบ้านง่ายๆ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ความคิด
และกระตุ้นพัฒนาการของสมองอย่างสม่ำเสมอ ช่วยจัดช้อนส้อม เก็บจานชามเข้าที่
หรือช่วยจัดโต๊ะอาหาร เป็นต้น
การช่วยเหลือทางด้านการเรียน
- แพทย์จะประสานกับโรงเรียน แจ้งผลการตรวจแก่ครู
และขอความร่วมมือในการปรับวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสม
- เรียนในโรงเรียนที่ครูเข้าใจและพร้อมจะช่วยเหลือ ถือเป็นหัวใจสำคัญ
หากครูเข้าใจและให้ความร่วมมือ
เด็กจะรู้สึกดีต่อตัวเองและรู้ตัวว่าสามารถเรียนหนังสือได้
- พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู จะต้องเข้าใจ พยายามช่วยเหลือเด็ก
สร้างให้เด็กมั่นใจในตัวเอง รวมกลุ่ม และทำงานกับเพื่อนได้
- การอ่าน ครูต้องช่วยอ่านโจทย์ให้ฟังเวลาสอบ
เด็กจะสามารถเข้าใจและตอบข้อสอบนั้นได้
- ปรับวิธีการสอน การอ่านคำ เช่น แทนที่จะสอนให้รู้จักการผสมคำ
ต้องสอนให้ใช้วิธีจำเป็นคำๆไป
- กระตุ้นสมองด้วยจินตนาการ ด้วยการเล่น โดยเฉพาะการเล่นจากการใช้จินตนาการ
ฟังนิทาน ต่อบล็อก และอื่นๆ ที่จะให้เด็กใช้จินตนาการ หลีกเลี่ยงการให้เด็กเล่นเกม
คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เพราะจะเป็นการปิดการจินตนาการของเด็ก
====================================================
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
rakluke.com
ศูนย์สมองดี Healthy Brain
อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง เสริมสร้างสมาธิ