เอ๊ะ ลูกโง่ หรือ เป็นเด็ก LD กันแน่


หากเป็นเมื่อก่อน ถ้าลูกอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เมื่อเทียบกับเด็กในช่วงวัยเดียวกัน เราก็คงโทษว่า ลูกเราโง่ เรียนไม่เก่ง แต่ในระยะหลัง พ่อแม่หลายท่าน เริ่มทราบว่า มีโรคที่ทำให้ ไม่สามารถอ่านเขียนได้ นั่นคือ
    “โรค LD” 

บางท่านอาจจะรู้จักเป็นอย่างดี บางท่านอาจจะยังรู้จักผิวเผิน ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักกันให้ดีขึ้นกันดีกว่า

 
Learning Disabilities หรือ LD คือ ภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ แต่สติปัญญาอยุ่ในเกณฑ์ปกติ หรือ อาจจะฉลาดกว่าเด็กคนอื่นก็ได้  โดยที่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่ง จะช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน คือ

 √ ปัญหาเรื่องการเขียน  เช่น เขียนตัวหนังสือกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์สลับตำแหน่งกัน

  ปัญหาเรื่องการคำนวณ  เช่น เขียนตัวเลขผิด ไม่เข้าใจเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ค่าของตัวเลขหลักต่างๆ หรือ ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข

 √ ปัญหาเรื่องการลำดับเหตุการณ์  การทำตามคำสั่ง การให้เหตุผล หรือ เรียนแล้วลืม

  ปัญหาในการอ่าน  เช่น อ่านตกหล่น อ่านสลับพยัญชนะ อ่านข้ามคำ อ่านไม่ได้ใจความ ไปจนถึง อ่านไม่ออกเลย

   อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่า เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ทุกคน จะมีตามที่กล่าวมาทุกข้อ อาจจะเป็นข้อใดข้อหนึ่ง หรือ มากกว่าหนึ่งก็ได้ ที่สำคัญคือ ผู้ใหญ่มักเกิดความเข้าใจผิดว่า เด็กเหล่านี้เป็นเด็กเกียจคร้าน ไม่ตั้งใจเรียน เลยเถิดไปว่าหนีเรียนเลย ทั้งนี้สาเหตุที่แท้จริงของโรคดังกล่าว เกิดจากอะไร เรามีคำตอบค่ะ

สาเหตุของโรค LD

   อันที่จริงแล้วโรค LD เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่สามารถเจาะจง หรือ บอกได้ว่า สาเหตุส่วนใหญ่คืออะไร และ เนื่องจากความบกพร่องทางการเรียนรู้นี้ เป็นเสมือนโรคที่ซ่อนเร้น ทำให้บางครั้งเด็กจะไม่แสดงอาการออกมาอย่างโจ่งแจ้ง ดังนั้นพ่อแม่จะต้องใส่ใจในการเลี้ยงดูลูกๆ อย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม ก็พอมีเค้ารางของสัญญาณที่อาจะทำให้ลูกเป็นได้ อาทิ

  > พ่อแม่ หรือ ญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย มีประวัติเป็น LD หรือไม่

  > ลูกมีภาวะความบาดเจ็บทางสมองจากการคลอดก่อน หรือ หลังกำหนดคลอด หรือไม่

  > แม่มีอายุน้อยมาก หรือไม่

  > ลูกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ตอนแรกเกิดมากไหม

  > ลูกเคยเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ เช่น หู ซึ่งสามารถสร้างความกระทบกระเทือนไปถึงสมองบางส่วน หรือไม่

  > ลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ เช่น มลพิษจากสารตะกั่ว หรือเปล่า

 

ข้อสังเกตในแต่ละวัย

 วัยอนุบาล   การสังเกตลูกว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือไม่ พ่อแม่ต้องสังเกตจากพัฒนาการของลูกว่า เป็นไปตามปกติหรือเปล่า โดยเฉพาะด้านสติปัญญา ที่จะส่งผลสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านอื่นๆ เช่น

  >> เขาสามารถพูดคุยออกเสียงได้ชัดเจน สื่อสารได้ เข้าใจนิทาน หรือ เรื่องอิงจินตนาการที่คุณพ่อคุณแม่เล่าให้ฟัง

  >> ความเข้าใจเรื่องมิติสัมพันธ์ รู้จักด้านซ้าย ด้านขวา ไม่ใส่รองเท้าสลับข้าง เขียนอักษรได้ถูกต้อง ไม่สลับทิศทาง เป็นต้น

  >> การทำงานประสานกันระหว่างตาและมือ และ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  >> สามารถนับเลขจำนวนง่ายๆ ได้ เช่น นับ 1-10 ได้ เป็นต้น

 วัยประถม   โตพอที่จะสามารถสังเกตเรื่องการเรียนรู้ และ การศึกษาได้อย่างชัดเจนแล้ว เช่น

  >> สังเกตช่วงทำการบ้านว่า เขามีความสนใจหรือใส่ใจมากน้อยแค่ไหน ลองดูเงื่อนไข หรือ โจทย์การบ้านที่คุณครูให้มาว่า มีความยากง่ายอย่างไร แล้วเปรียบเทียบว่า เจ้าหนูใช้เวลาทำการบ้านนานเกินไปหรือเปล่า

  >> ลองสังเกตว่า ลูกมีความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ มากน้อยแค่ไหน เมื่อคุณพ่อคุณแม่ซักถาม เขาสามารถอธิบายให้คุณเกิดความเข้าใจได้หรือไม่

  >> เด็กวัยประถม ควรอ่านสะกดคำได้ อ่านแล้วสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ความเป็นมาก่อนหรือหลังได้อย่างเข้าใจ

  >> มีความเข้าใจเรื่องการคิดคำนวณ บวก ลบ คูณ หารเลข หลักหน่วย หลักสิบ เป็นต้น
 

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็น LD?

 คำบอกเล่าจากคุณแม่ที่มีลูกเป็น LD 

คุณอุไรวรรณ เจริญถาวรพานิช คอลัมนิสต์ และ คุณแม่จากครอบครัวเด็ก LD  ได้ให้คำแนะนำและการเยียวยา สำหรับครอบครัวที่มีลูกเป็น LD ดังนี้

 √  ควรให้ลูกเรียนร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติ  เพื่อฝึกให้ลูกมีทักษะทางสังคมด้วย แต่ต้องหาโรงเรียนที่เข้าใจลูก และ คุณพ่อคุณแม่ ต้องทำโฮมสคูล หรือ สอนทวนทั้งบทเรียนและเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ให้ลูกทุกวันหลังเลิกเรียน ยกเว้นแต่ว่าลูกมีอาการหนักมาก อาจให้เรียนแบบโฮมสคูลที่บ้านไปเลย

 √  เยียวยาผ่านการปฏิบัติธรรม  ปิดเทอมให้พาลูกเข้าค่ายธรรมะ ฝึกนั่งสมาธิ เดินจงกรม เด็กที่อายุน้อยเพียง 6-7 ขวบ ก็สามารถทำได้แล้ว

   ใช้ ศิลปะ และ กิจกรรมยามว่างอื่นๆ  ในการเยียวยา  เด็ก LD  หลายคนแม้จะไม่ได้โดดเด่นในด้านการเรียนทางวิชาการเหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ แต่ก็มีความสามารถพิเศษของตนเอง โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องหาให้เจอด้วย

   พ่อแม่ แพทย์ ครูที่โรงเรียน ต้องคุยกัน  ต้องให้ความร่วมมือกันทั้งสามฝ่ายด้วย ลองพาลูกไปเข้ากลุ่มรวมตัวของครอบครัวที่มีลูกเป็น LD เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันด้วย

 √  เด็ก LD  หลายคนแม้จะไม่ได้โดดเด่นในด้านการเรียนทางวิชาการเหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ แต่เด็กก็มีความสามารถพิเศษของตนเอง โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องหาให้เจอด้วย

 √ ที่สำคัญที่สุด คือ พ่อแม่ต้องเข้าใจลูก อย่าคิดว่าลูกผิดปกติ อย่าคิดแค่ว่าลูกอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เพราะในหลายบริบท ลูกคือเด็กทั่วๆไป เขาสามารถเป็นหัวหน้าชั้น ปฎิบัติธรรมได้ ทำงานศิลปะที่สวยงามได้


ป้องกันการเป็น
 LD

   เมื่อ LD เกี่ยวพันโดยตรงกับ พัฒนาการด้านสมองและสติปัญญาของลูก ดังนั้น ต้องดูแลเรื่องสมองของลูกมากเป็นพิเศษ ในช่วงวัย 3-5 ปีนั้น  ถือเป็นโอกาสทองของสมองเด็ก ซึ่งเมื่ออายุ 5 ปี สมองของเด็กจะโตเต็มที่ เริ่มบอกได้แล้วว่า จะถนัดทางด้านไหน ซึ่งหากได้รับการกระตุ้นที่ดี ลูกของคุณอาจจะเป็นเด็กที่ฉลาดกว่าเกณฑ์เฉลี่ยก็ได้

  • กระตุ้นสมองด้วยจินตนาการ  สิ่งที่จะกระตุ้นสมองของเด็กได้เป็นอย่างดีก็คือ การเล่น โดยเฉพาะการเล่นที่ใช้จินตนาการ การฟังนิทาน ของเล่นใกล้ตัวลูกสมัยนี้ เช่น เกม ทั้งคอมพิวเตอร์ และ โทรศัพท์มือถือ ทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย

  • ปลอดภัยจากสารพิษ  สภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตของเด็กมีความสำคัญมาก ดังนั้น ต้องคอยระวังให้ลูกเล่นอยู่ในสถานที่ปลอดภัย ห่างไกลมลพิษที่อาจก่อให้เกิดโรค อันส่งผลต่อสมองน้อยๆ ของลูกได้ เช่น ไม่ให้ลูกอยู่ในสถานที่ ที่มีสารตะกั่วนานเกินไป อย่างริมถนนที่รถพลุกพล่าน อู่ซ่อมรถที่มีการบัดกรีต่างๆ เป็นต้น

  • เวลาทองของครอบครัว  พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเวลาของครอบครัว ที่ทุกคนจะได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เล่นบทบาทสมมติ อ่านหนังสือ การสอนให้ลูกมีทักษะการคิด การคำนวณ วาดภาพ หรือ เล่นเกมสังเกต และ ทายสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น อย่าลืมว่า จำนวนชั่วโมงที่ใช้ร่วมกันนั้น ไม่สำคัญเท่ากับ คุณภาพของกิจกรรมที่พ่อแม่ทำกับลูก

  • งานบ้านฝึกสมอง  ให้ลูกช่วยทำงานบ้านง่ายๆ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ความคิด และ กระตุ้นพัฒนาการของสมองอย่างสม่ำเสมอ เช่น ช่วยจัดช้อนส้อม จานชาม  จัดโต๊ะอาหาร จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้เรื่องการจัดกลุ่ม แยกประเภท ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เปรียบเสมือนการสร้างพิมพ์เขียวให้สมองของเด็กเลยทีเดียว

คุณพ่อคุณแม่ทราบอย่างนี้แล้ว ก็ต้องเริ่มหมั่นสังเกตเจ้าตัวน้อยในบ้านได้เลยนะคะว่า ลูกของเราเข้าค่ายเป็นโรค LD หรือไม่ หากสงสัยก็สามารถนำลูกไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กได้เลยค่ะ จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
rakluke.com
=======================================

 เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้ เสริมทักษะการอ่านเขียน
เปิดเทอมใหม่นี้ 
ให้ลูกน้อย ได้
ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,808