อ่าน-เขียน ผิดๆถูกๆ ตีโจทย์ไม่ได้ เสี่ยง!! เป็นแอลดี......ทำไงดี?

หนูเป็น LD หรือเปล่านะ ?

LD คือ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) เป็นความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกมาทางด้านปัญหาการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณ และ เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติ และ มีความสามารถด้านอื่นปกติดี

LD มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

1. ความบกพร่องทางด้านการอ่าน

เด็กมีความบกพร่องในการจดจำพยัญชนะ สระ และ ขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออก หรือ อ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้

2. ความบกพร่องทางด้านการเขียน สะกดคำ

เด็กมีความบกพร่องในด้านการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือ และ สะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออกผ่านการเขียนได้ ตามระดับชั้นเรียน

3. ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์

เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ คือ ไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็น LD?

คำบอกเล่าจากคุณแม่ที่มีลูกเป็น LD

คุณอุไรวรรณ เจริญถาวรพานิช คอลัมนิสต์ และ คุณแม่จากครอบครัวเด็ก LD  ได้ให้คำแนะนำและการเยียวยา สำหรับครอบครัวที่มีลูกเป็น LD ดังนี้

√  ควรให้ลูกเรียนร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติ เพื่อฝึกให้ลูกมีทักษะทางสังคมด้วย แต่ต้องหาโรงเรียนที่เข้าใจลูก และ คุณพ่อคุณแม่ ต้องทำโฮมสคูล หรือ สอนทวนทั้งบทเรียนและเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ให้ลูกทุกวันหลังเลิกเรียน ยกเว้นแต่ว่าลูกมีอาการหนักมาก อาจให้เรียนแบบโฮมสคูลที่บ้านไปเลย

  เยียวยาผ่านการปฏิบัติธรรม ปิดเทอมให้พาลูกเข้าค่ายธรรมะ ฝึกนั่งสมาธิ เดินจงกรม เด็กที่อายุน้อยเพียง 6-7 ขวบ ก็สามารถทำได้แล้ว

 ใช้ศิลปะ หรือ กิจกรรมยามว่างอื่น ๆ  ในการเยียวยา  เด็ก LD  หลายคนแม้จะไม่ได้โดดเด่นในด้านการเรียนทางวิชาการเหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ แต่ก็มีความสามารถพิเศษของตนเอง โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องหาให้เจอด้วย

  พ่อแม่ แพทย์ ครูที่โรงเรียน ต้องคุยกัน ต้องให้ความร่วมมือกันทั้งสามฝ่ายด้วย ลองพาลูกไปเข้ากลุ่มรวมตัวของครอบครัวที่มีลูกเป็น LD เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันด้วย

√  เด็ก LD  หลายคนแม้จะไม่ได้โดดเด่นในด้านการเรียนทางวิชาการเหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ แต่ก็มีความสามารถพิเศษของตนเอง โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องหาให้เจอด้วย

ที่สำคัญที่สุด คือพ่อแม่ต้องเข้าใจลูก อย่าคิดว่าลูกผิดปกติ อย่าคิดแค่ว่าลูกอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เพราะในหลายบริบท ลูกคือเด็กทั่วๆไป เขาสามารถเป็นหัวหน้าชั้น ปฎิบัติธรรมได้ ทำงานศิลปะที่สวยงามได้

คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ นักวิชาการผู้รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ “คุณพุ่ม”  ได้ให้คำแนะนำและการเยียวยาสำหรับครอบครัวที่มีลูกเป็น LD ดังนี้

> ให้หาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก LD โดยเฉพาะมาให้ลูก เช่น นิทานหนังสือต่าง ๆ สำหรับเด็ก LD   เด็ก LD สามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กคนอื่น ๆ เพียงแต่มีวิธีเรียนรู้ที่ต่างออกไปเท่านั้น

> สำหรับการจัดการเรียนการสอน  ให้เด็กเรียนร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติ แต่ต้องเลือกโรงเรียนที่เข้าใจเด็กด้วย

> เด็ก LD จะมีจินตนาการกว้างไกล และ มีความคิดสร้างสรรค์มาก ๆ  พยายามหากิจกรรมนอกเวลาที่ให้ลูกได้ใช้ ความคิดสร้างสรรค์ และ ได้ส่งเสริมจินตนาการของลูกอย่างเต็มที่

> ที่สำคัญที่สุด คือ อย่ามัวแต่ไปกังวลว่า ลูกจะอ่านออกไหม อย่าวิตกกังวลจนเกินไป ถ้าพ่อแม่ไม่เข้าใจลูก  จนเครียดและวิตกกังวล จะทำให้เด็กก้าวร้าวไปด้วย พ่อแม่ต้องใจเย็นและอย่ามองว่าลูกบกพร่อง อย่าเอาค่านิยมของสังคมมาตัดสินเด็ก คนเราไม่จำเป็นต้องอ่านเก่ง เขียนเก่ง หรือ เรียนดี แค่มีวิธีชดเชยข้อบกพร่อง หาความโดดเด่นและความสามารถด้านอื่นในตัวลูก ให้ลูกรู้สึกว่าตนเองมีค่า ได้รับการยอมรับ และ เป็นที่รักของพ่อแม่ก็เพียงพอแล้ว

=====================================================

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากเว็บไซต์
เว็บไซต์ AsianParentThailand

ด้วยควมปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง

 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ และ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น 
 ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
 กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น  
มีทักษะการอ่านเขียน ดีขึ้น
√ ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น

**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

 

ปรึกษาปัญหาเด็กสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 412,451