ช่วยเหลือลูกสมาธิสั้นอย่างไร ไม่ต้องพึ่งยาเคมี
นอกจากยาแล้ว เรายังต้องให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆอีก เด็กที่มีสมาธิสั้น ทำให้ครอบครัวมีความเครียดได้มาก หากไม่ช่วยเหลือให้ถูกทาง เด็กอาจจะเป็นตัวรบกวนความสงบสุขในครอบครัว
พ่อแม่จำเป็นต้องช่วยให้เด็กสามารถควบคุมพฤติกรรมได้ โดยการจัดกิจกรรมที่บ้าน ที่เด็กต้องทำในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และ กิจกรรมในวันหยุด ที่เด็กต้องทำทุก ๆ วัน ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ตามเวลาที่กำหนดไว้ หรือที่เรียกว่า "ตารางกิจวัตรประจำวัน" และที่สำคัญที่สุด ต้องมีกำหนดเวลาการเล่นเกมส์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นยาเสพติดของเด็ก หากพ่อแม่ไม่ควบคุมให้เป็นไปตามตารางเวลา จะเสียใจภายหลังเพราะคุมไม่ได้
ตารางเวลาบางครั้งต้องยืดยุ่น เมื่อเด็กไม่สบาย หรือ มีอาการเครียดมาจากโรงเรียน เมื่อเด็กทำได้ตามเวลาต้องไม่ลืม "ชมเชย"
พ่อ-แม่ มักให้ความสนใจที่จะ ดุว่า เด็กกลุ่มนี้เมื่อทำผิด เช่น รบกวนผู้อื่น พูดแล้วไม่ฟังและไม่ทำ เป็นต้น แต่ที่จริงแล้ว พ่อแม่ควรเปลี่ยนมาให้ความสนใจ เมื่อลูกมี พฤติกรรมที่ดี ให้คำชม กอดลูก หรือ ให้รางวัลเป็นพิเศษตามสมควร การทำเช่นนี้ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และ รักคุณแม่/คุณพ่อ
ไม่ควรใช้ การตี เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของเด็กกลุ่มนี้ แต่ควรใช้วิธีอื่นที่จะได้ผลมากกว่า เช่น
√ หากลูกซุกซนมาก จนพ่อแม่หงุดหงิด ควรทำเป็น ไม่ใส่ใจและเดินหนีไปเสีย
√ หากลูกตื่นเต้นมากเกินไป ให้หากิจกรรมอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจ
√ หากลูกแสดงความ ก้าวร้าว ให้แยกลูกออกมา ให้ลูกนั่งอยู่เงียบๆคนเดียวสักพักจนกว่าจะสงบลง แล้วค่อยพูดถึงพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งผลของมัน เมื่อลูกสงบลงแล้ว
การดูแลเลี้ยงดูและช่วยเหลือลูกตามข้างต้น ทางการแพทย์เรียกว่า " การปรับพฤติกรรมเด็กและพฤติกรรมพ่อแม่ " จะต้องทำควบคู่กับการใช้ยา ซึ่งเด็กจะมีอาการดีขึ้นจนหายได้ในที่สุด
การปรับพฤติกรรมพ่อแม่และเด็ก ทำไม่ยาก แต่ไม่ง่าย พ่อแม่ต้องเข้าร่วมกิจกรรมและเรียนรู้วิธีทำ มิใช่สุ่มสี่สุ่มห้าทำเอง โรงพยาบาลศิริราช จะจัดปีละหนึ่ง ถึง สองครั้ง และ ชมรมผู้ปกครองฯ จัดปีละหลายครั้ง เพื่อให้สมาชิกเรียนรู้ และ นำไปปฎิบัติได้อย่างถูกต้องและให้ผลดีกับลูก
การเรียนของเด็กสมาธิสั้น
ระเบียบกฎเกณฑ์ในห้องเรียน จะยิ่งทำให้เด็กสมาธิสั้นมีปัญหามากขึ้น ครูจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเด็กด้วยความเมตตา โดย แยกสอนเด็กเป็นกลุ่ม ๆ แทนที่จะสอนรวมกัน (ห้องเรียนคู่ขนาน) เด็กสมาธิสั้นที่ต้องเรียนกับเพื่อนกลุ่มใหญ่มัก วอกแวกง่าย เบื่อง่าย และ ยังต้องการ คำชมและกำลังใจ เป็นอย่างมาก กว่าจะทำงานแต่ละชิ้นให้เสร็จ การสอนพิเศษตัวต่อตัว อาจช่วยได้มาก เด็กบางคนทำงานกับครูพิเศษ แค่ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงจะสามารถทำงานได้มาก เท่ากับ ทำที่โรงเรียนทั้งวัน (ห้องเรียนสอนเสริม)
พึงระลึกไว้ว่า เด็กสมาธิสั้น อาจเรียนได้ดีเท่าเพื่อน ๆ เพราะเด็กมีสติปัญญาปกติ เพียงแต่ไม่สามารถจัดการกับงาน ตามความรับผิดชอบได้อย่างเป็นระเบียบ และ ยังขาดความใส่ใจในงานอีกด้วย เมื่อได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกทาง เด็กจะเรียนได้ บางคนเรียนได้ดีมากด้วยซ้ำไป
"ยา" ไม่สามารถทำให้เด็กมีอาการดีขึ้น หรือ หายได้ เพราะมิได้รักษาอาการที่ต้นเหตุ แต่ช่วยให้เด็กนิ่งได้แค่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น จะต้องใช้ควบคู่ไปกับ การปรับพฤติกรรมของทั้งเด็กและของพ่อแม่ พร้อมทั้งให้ความรักโดยไม่มีเงื่อนไข
พ่อ-แม่ อาจเคยได้ยินว่า มีวิธีการรักษาเด็กสมาธิสั้นหลายวิธีด้วยกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยากับเด็ก กรณีเช่นนี้มักใช้กับเด็กที่มีอาการน้อยเท่านั้น ถ้ามีอาการที่จิตแพทย์เด็กวินิจฉัยว่า เด็กจะต้องใช้ยา การช่วยเหลือด้วยวิธีอื่น จะต้องควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
การนำเด็กเรียนพิเศษจนมากเกินไป ทำให้เด็กเครียดและขาดความสุขในวัยเด็ก จริงๆแล้ว ไม่ควรพาเด็กเล่นกีฬาที่ รุนแรงมากเกินไป เช่น คาราเต้ เทควันโด้ ต่อยมวย ฟันดาบ แต่ควรพาไปว่ายน้ำ เพื่อให้ข้อต่อแขนขาได้ทำงานเต็มที่ การวิ่งเร็ว เพื่อให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรง การเล่นแบบไทยๆ ฯลฯ การออกกำลังกาย จะช่วยทำให้เด็กสนุกและรู้สึกดี มีระเบียบวินัยมากขึ้น และ ห่างไกลเกมส์
⇒ การออกกำลังกายแบบพิเศษ
บางคนเชื่อว่า หากทำให้เด็กกลุ่มนี้มีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อให้มากขึ้น อาจจะแก้ปัญหาของเด็กได้ เนื่องจากเด็กสมาธิสั้น มักมีปัญหาในด้านนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เด็กเกิดอาการสมาธิสั้นเช่นกัน ถึงกระนั้นบางครั้งก็พบว่า การออกกำลังกายให้ข้อดี ทำให้พ่อแม่ให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่เด็ก ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น และ ความรู้สึกในด้านดีต่อตัวเด็ก และ จะทำให้เด็กเรียนรู้กฎกติกามากขึ้น ที่สำคัญคือ รู้สึกสนุกสนานกับการเล่น ซึ่งมีผลทำให้เด็กเครียดน้อยลง
⇒ การให้อาหารพิเศษ
บางคนเชื่อว่า มีอาหารบางชนิดทำให้เด็กมีอาการสมาธิสั้น เช่น สารแต่งสีแต่งกลิ่น น้ำตาล และ อาหารประเภท ถั่ว ข้าวโพด ช็อกโกแลต ข้าวสาลี พ่อแม่หลาย ๆ คนจึงให้เด็กงดอาหารเหล่านี้ โดยคิดว่าจะทำให้อาการดีขึ้นได้ การงดอาหารบางประเภท ไม่อาจจะช่วยแก้ปัญหาในเด็กได้ หากไม่ให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ แก่เด็ก แต่อย่างไรก็ตาม อาหารประเภทขนมหวาน ขนมแต่งสีแต่งกลิ่นและแต่งรส มิใช่ของดีและเป็นสิ่งที่เด็กหรือผู้ใหญ่ไม่ควรรับประทาน หากรู้สึกอยากรับประทาน ควรเลือกรับประทานขนมสุขภาพ ที่มีส่วนผสมของๆดี เช่น แป้งควรใช้แป้งจากข้าวกล้องหรือข้าวกล้องงอก ไม่ใช้สารต่างๆเข้าไปผสมปนเปื้อน น้ำตาลควรเป็นน้ำตาลที่ไม่ฟอกสี เป็นต้น
⇒ การให้วิตามิน
การให้วิตามิน ควรเป็นวิตามินสำหรับเด็ก ในกรณีที่เป็นเด็ก เช่น โอเมก้า 3 และ วิตามีนบี 6 ซึ่งมักจะมาในรูปวิตามินบีรวม ควรเริ่มแต่น้อยและรับประทานวันเว้นวัน จนกว่าร่างกายจะปรับรับสิ่งแปลกใหม่ได้ จึงรับประทานทุกวัน ควรรับประทานพร้อมอาหาร และ ควรเป็นมื้อเดียวกันทุกวัน จึงจะดีที่สุด เมื่อเริ่มใหม่ๆ ถ้าเด็กรู้สึกมีอาการมึน ไม่สดใส ต้องลดจำนวนลงให้ไม่มีอาการเหล่านี้ จนกว่าร่างกายจะเคยชิน เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ถ้ามีกำลังเงิน มักจะรับประทานโอเมก้า 3 , 6 , 9 วิตามินบีรวม วิตามีนอี วิตามินรวมและแร่ธาตุ และ วิตามีนซี เพื่อพยุงอาการเสื่อมของสมองทางด้านความจำ การจัดการ และ การบริหารและลดความเครียด จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า เด็กเหล่านี้ความจริง มีอาการคล้ายผู้สูงอายุ เช่น ขี้ลืม ขี้น้อยใจ ชอบพูดเรื่องที่ตนชอบ ขี้เบื่อ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะสมองน่าจะยังพัฒนาไม่เต็มที่ น่าจะรับประทานวิตามินด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันมีวิธีการช่วยเหลือทางเลือก อย่างมากมาย เช่น การให้อ๊อกซิเย่น การฝังเข็ม การสร้างความสมดุลโดยการปรับเปลี่ยนเรื่องอาหาร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพียงแต่เสียเงินเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า จะช่วยให้เด็กดีขึ้นหรือหายได้ ควรจำไว้เสมอว่า ต้องทำควบคู่กับการพบจิตแพทย์ ปรับพฤติกรรมพ่อแม่และเด็ก จนกว่าอาการของเด็กจะดีขึ้น
⇒ การแพทย์ทางเลือก
คุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่าและคุณตาคุณยาย รวมทั้งคุณครู มักไม่อยากให้เด็กรับประทานยา หาทางหลีกเลี่ยงยา พยายามสรรหาแพทย์ทางเลือกหลายๆ ด้าน เช่น
- การปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกินเพื่อให้เกิดความสมดุล โดยใช้หลักสูตรพิเศษ
- การทำ HEG
Hemoencephalogram หรือ HEG คือ การใช้แสงอินฟราเร็ด ตรวจวัดการไหลเวียนของโลหิตที่สมองส่วนหน้า ถ้าปรากฏสีน้ำเงินที่สายคาดที่หน้าผาก แสดงว่าการไหลเวียนของโลหิตที่สมองส่วนหน้าไม่ดี ถ้าสีแดงแสดงว่า การไหลเวียนของโลหิตดี เพราะมีอ๊อกซิเยนไหลเวียนดี การไหลเวียนของโลหิตที่สมองส่วนหน้า จะมีส่วนสัมพันธ์กับคลื่นสมอง ถ้าคลื่นสมองช้า การทำงานของสมองก็จะพลอยทำงานช้าไปด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากเว็บไซต์
th.theasianparent.com
======================================
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น