10 พฤติกรรมสมาธิสั้น ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเรียนของลูก
"ปัญหาสมาธิสั้น" นั้นหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี อาจจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อลูกได้ ดังนั้นวันนี้เราจึงนำ 10 พฤติกรรมสมาธิสั้น ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนของลูก และ วิธีการแก้ไขปัญหามาแชร์ต่อให้ คุณพ่อ-คุณแม่ทุกท่านได้อ่านกันเพื่อที่เราจะเข้าใจลูกมากขึ้น
10 พฤติกรรมสมาธิสั้น ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนของลูกเป็นอย่างมาก
1. ชอบเหม่อ ใจลอย ไม่สนใจเรียน วอกแวกง่าย
2. อู้ ยืดยาด เฉื่อย ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ
3. หลงลืมง่าย
4. ขาดการวางแผนล่วงหน้า
5. ทำงานไม่เรียบร้อย สะเพร่า
6. แบ่งเวลาไม่เป็น
7. ขาดระเบียบ
8. ไม่มีความอดทน ล้มเลิกง่าย
9. หลีกเลี่ยงการทำการบ้าน
10. หลีกเลี่ยงการทบทวน อ่านหนังสือ
อาการเหล่านี้ นอกจากจะทำให้การเรียนรู้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพของลูกแล้ว ในหลายๆ คน ยังมีผลทำให้ผลการเรียนไม่ดี และตามเพื่อนๆ ในห้อง ไม่ทัน สุดท้าย ก็อาจโดนคุณครูดุด่า และ เกลียดการไปโรงเรียนในที่สุด
นอกจากผลกระทบด้านศึกษาแล้ว ยังส่งผลกระทบด้านต่างๆ อีกมากมาย เช่น ด้านความมั่นใจในตัวเอง การเข้าสังคม การทำงานในอนาคต
นอกจากนี้คุณหมอยังได้กล่าวถึงสถิติของคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นเพิ่มเติมอีกด้วยว่า
-1 ใน 3 ของเด็กที่เป็นโรคซนอยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น เมื่อโตขึ้น มีวุฒิภาวะดีขึ้น เด็กก็จะค่อยๆ หายได้เอง
-1 ใน 3 ดีขึ้น เมื่อมีการปรับพฤติกรรมที่ถูกต้องและได้รับการรักษาด้วยยาในการดูแลของแพทย์
-1 ใน 3 อาจมีปัญหาการเรียน สอบตก เรียนไม่จบ ซึมเศร้า ติดยา ต่อต้านสังคม หรือกลายเป็นอาชญากร
สำหรับ คุณพ่อ-คุณแม่ ที่มีลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ควรทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรค และ ใช้ข้อดีของโรคให้เป็นประโยชน์ เช่น เด็กไม่ชอบอยู่นิ่ง จะกระตือรือร้นอยากทำกิจกรรมต่างๆ อยู่แล้ว ก็พาไปเล่นกีฬานอกบ้าน อยู่โรงเรียนก็ให้ช่วยคุณครูลบกระดาน เดินไปหยิบของให้คุณครู ช่วยคุณครูถือของ เป็นต้น
สุดท้ายนี้เราอยากให้ "คุณพ่อ-คุณแม่" เข้าใจลูกสมาธิสั้น เเละดูแลเอาใจใส่ คอยให้กำลังใจลูก เพราะการดูแลอย่างถูกวิธีนั้นเป็นยาที่ดีที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
เว็บไซต์ AsianParentThailand
==================================
♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
ให้ลูกน้อย ช่วงเปิดเทอมใหม่นี้ ด้วย "อเลอไทด์"
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น