จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกสมาธิสั้น และ จะช่วงเหลือลูกได้อย่างไร

โรคสมาธิสั้น  ที่มีผลกระทบต่อการเรียนและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง  เป็น  “โรคสมาธิสั้น” ที่จำเป็นต้องทำการรักษา

    โรคสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า โดยปกติ โรคสมาธิสั้น จะมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ซนมาก สมาธิสั้น และ หุนหันพลันแล่น แต่ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่างนี้ อาจจะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ อาจมีครบทุกอย่างเลยก็ได้  

 อาการของเด็กสมาธิสั้น

    การวินิจฉัยโรคนี้ไม่ง่ายเหมือนกระดูกหัก หรือ ปอดบวม เพราะโรคพวกนี้สามารถเห็นด้วยตาหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น จะอาศัยพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. การขาดสมาธิ Inattention โดยสังเกตพบว่า

   - เด็กจะสนใจงานหรือของเล่นเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นหลังจากนั้นก็จะเบื่อ

   - ไม่มีความพยายามที่จะทำงานที่ต้องใช้ทักษะ

   - มีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

   - ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ

   - ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเวลาเล่น 

   - ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดไม่ได้

   - ขี้ลืมบ่อย

   - วอกแวกง่าย

  1. Hyperactivity 

     - เด็กจะไม่อยู่นิ่งและควบคุมตัวเองไม่ได้

     - เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

     - เล่นไปรอบห้อง

     - พูดคุยตลอด พูดไม่หยุด

     - เมื่อนั่งอยู่ที่เก้าอี้ก็ไม่สามารถนั่งนิ่งโยกไปโยกมา

     - แตะสิ่งโน้นสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา

     - เคาะโต๊ะส่งเสียงดัง

     - รอคอยไม่เป็น

     - ชอบขัดจังหวะเวลาที่ผู้อื่นพูดคุยกัน

     - บางคนอาจจะทำหลายๆอย่างพร้อมกัน

  1. Impulsivity เด็กจะหุนหัน เด็กจะทำหรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ไม่ได้คิด เด็กอาจจะพูดโต้ตอบโดยที่ไม่คิด ข้ามถนนโดยที่ไม่ดูรถ เด็กจะไม่สามารถรอยคอยสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ เด็กอาจจะแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เมื่อไม่พอใจเด็กอาจจะทำลายของเล่นนั้น

    หาก คุณพ่อ คุณแม่ สงสัยว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ควรปรึกษาแพทย์ เพราะโรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องทำการรักษา หากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การอยู่ร่วมกับเพื่อนที่โรงเรียน และ การเรียนของเด็กเอง รวมถึงเมื่อเด็กโตขึ้น ความซับซ้อนทางอารมณ์ ก็จะมีมากขึ้น เด็กอาจรู้สึกมีปมด้อยถ้าไม่มีเพื่อนเล่นด้วย 

     นอกจากนี้ เด็กสมาธิสั้น ยังมีแนวโน้มที่จะโตไปเป็นคน ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย อ่อนไหวต่อคำพูดของคนอื่น การรักษาจะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ โดยทั่วไปการรักษาจะเริ่มจาก การปรับพฤติกรรม มีการสร้างกรอบที่เหมาะสมให้กับเด็ก การย่อยงานโดยใช้คำสั่งที่สั้น และ ให้เด็กมีการทวนคำสั่งซ้ำ การจัดห้องเรียน และ สิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก เช่น ให้เด็กนั่งเรียนแถวหน้าสุด ใกล้โต๊ะครู เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะมีการสื่อสารและประสานกับคุณพ่อคุณแม่และคุณครูที่โรงเรียนอย่างใกล้ชิด ในบางกรณีที่เป็นมาก หรือ มีโรคร่วม อาจต้องให้ยาในการรักษาร่วมด้วย

พ่อแม่ ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลเด็ก

    ดังที่กล่าวข้างต้น เด็กเหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนในสังคม เด็กจะทรมานกับการทำการบ้าน แต่แล้วก็ลืมเอาไปส่งครู เด็กจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น พี่น้อง ส่วนพ่อแม่ที่ไม่เข้าใจเด็กก็จะไม่สนใจ เนื่องจากเด็กจะไม่เชื่อฟัง พ่อแม่จะไม่สามารถควบคุมเด็ก เด็กจะไม่มีระเบียบวินัย ต่อมาพ่อแม่ก็จะใช้วิธีดุ ตี  แม้ว่าจะทราบว่าเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร  พฤติกรรมการดุ ด่า และ การลงโทษ จะทำให้อาการของเด็กแย่ลง เด็กจะดื้อมากขึ้น ต่อต้าน ก้าวร้าว วิธีการที่ดีกว่า คือ การให้คำชม หรือ รางวัล เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง และ ควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือ ตัดสิทธิอื่นๆ

    ทั้งพ่อแม่ และเด็ก จะต้องปรึกษานักจิต เพื่อช่วยกันประคับประคองความรู้สึก พฤติกรรมให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง พ่อและแม่ ต้องพูดคุยกับแพทย์ เพื่อที่จะได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัด ที่ตัวเด็ก และ ช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัว เพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถด้านอื่นทดแทนในส่วนที่บกพร่อง

====================================

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 
เว็บไซต์ Halsat

ด้วยความหวังดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง เสริมสร้างสมาธิ

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,817