เคล็ด(ไม่)ลับดูแลเด็ก LD

LD (Learning Disabilities) คือ ความบกพร่องในการเรียนรู้ในเด็ก ที่มีสติปัญญาฉลาดในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดเหนือกว่าเด็กอื่น แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้านช้ากว่าเพื่อนที่มีอายุเท่ากัน ทั้งๆ ที่เพื่อนอาจมี สติปัญญาเท่ากันหรือต่ำกว่า การบกพร่องในการเรียนรู้ มิได้เกิดจากความเกียจคร้าน การขาดเรียน มีความพิการ หรือปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งโรคนี้พบในเด็กวัยเรียได้ถึงร้อยละ 7

เอ๊ะลูกเป็น LD หรือเปล่านะ?
อาการแสดงอาจมีข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อร่วมกัน ดังนี้

   ปัญหาในการอ่าน เช่น อ่านผิด ตกหล่น อ่านข้ามคำ เพิ่มคำ สลับพยัญชนะ ผสมคำ แยกคำอ่านไม่ได้ อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย
   ปํญหาในการเขียน เช่น เขียนตัวหนังสือกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกที่ หรือ เขียนคำสลับตำแหน่งกัน ทำให้เขียนช้าและไม่ชอบเขียน
   ปัญหาในการคำนวณ เช่น เขียนตัวเลขผิด ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขหลักต่างๆ ไม่เข้าใจเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ตีโจทย์ปัญหาไม่ได้ ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข
   ปัญหาในการคิด เช่น ไม่สามารถลำดับเหตุการณ์ สับสนในการทำตามคำสั่ง การให้เหตุผลไม่ดีพอ เรียนแล้วก็ลืม

รู้ไหมว่าลูกรู้สึกอย่างไร?

ส่วนมากลูกมักรู้สึกว่าตนเองเรียนไม่เก่ง มีปมด้อย มีอารณ์เศร้า บางครั้งเมื่อถูกบังคับให้ทำงานซ้ำๆ หรือเรียนพิเศษ ลูกก็จะต่อต้านการเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน ลูกมักพูดจาฉลาดโต้ตอบได้ดี แต่พอให้อ่าน เขียน คำนวณ ลูกกลับทำได้ไม่ดี ทำให้ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ ดุว่าลูกเป็นเด็กขี้เกียจ ดื้อ เกเร บางคนก็อายที่ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แต่ไม่อยากให้ใครรู้ ก็เลยปฏิเสธการทำสิ่งต่างๆ ที่ทำไม่ได้

จะช่วยลูกอย่างไรดี ?

   พาลูกไปพบคุณหมอ ให้คุณหมอซักประวัติอย่างละเอียดจากผู้ปกครอง มีแบบสอบถามให้คุณครูของลูกตอบ มีการวัดระดับเชาว์ปัญญา วัดความสามารถทางการเรียนด้านต่างๆ
   ตรวจร่างกายและทดสอบทางจิตวิทยา และผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
   ให้ความรู้ความเข้าใจ ช่วยเหลือลูกทางด้านจิตใจ
   ช่วยลูกทางด้านการเรียน โดย ครูการศึกษาพิเศษ
   ถ้าหนูมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น ซึมเศร้า คงต้องให้ลูกกินยา
   การบำบัดทางเลือกอื่นๆ เช่น ศิลปะบำบัด การกระตุ้นระบบประสาทและความรู้สึก

LD เป็นโรคที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ ควรได้รับการวางแผนการเรียนเป็นรายบุคคล (Individualized Educational Program, IEP) เพื่อปรับหลักสูตรการเรียนและวิธีการประเมินให้เหมาะสม เช่น เน้นการฟัง การเห็น การลงมือทำ หรือใช้เครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ เช่น วิดีโอ คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเรียนได้ในโรงเรียนปกติ

“คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง คือ พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูด หรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจจะพูดหรือเขียนได้ไม่คล่อง และต้องใช้เวลาสักนิด แสดงความรักต่อเด็ก มองหาจุดแข็ง และความสามารถอื่นๆ พยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดี แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม ยอมรับนับถือในตัวเด็ก ว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดีๆ ในตนเองเหมือนกัน”

====================================================

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
โรงพยาบาลมนารมย์

สนับสนุนโดย
ศูนย์สมองดี Healthy Brain
อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง เสริมสร้างสมาธิ

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น ปัญหาเด็กแอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,817