เทคนิคแก้ปัญหา หนูน้อยสมาธิสั้น

   "โรคสมาธิสั้น" เป็นโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาพฤติกรรม และ การเรียนในเด็กวัยเรียนมากที่สุด ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่ สามารถฝึกวิธีการช่วยเหลือส่งเสริมเรื่องการเรียนให้ลูกได้ตามแนวทางดังนี้

ช่วยเหลือลูกเรื่องทำการบ้านและการเรียน

   เด็กสมาธิสั้นมักมีปัญหาในการทำการบ้าน การจัดลำดับความสำคัญ ขาดสมาธิ วอกแวกง่าย ไม่จดจ่อในการทำงาน เหม่อลอย ทำงานช้า ทำไม่เสร็จ ไม่รอบคอบ งานไม่เรียบร้อย เป็นต้น

" 4 Can Do "

จัดตารางเวลา หรือ ตารางชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับลูก เช่น เวลาตื่นนอน เวลากิน เวลาอาบน้ำ ไปโรงเรียน ทำการบ้าน อ่านหนังสือ หรือเข้านอน ฯลฯ

จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำการบ้านให้พร้อม เช่น ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด รวมทั้ง สถานที่ทำการบ้านต้องสงบ ไม่มีเสียง TV รบกวน

ช่วยลูกในการแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ หรือ เป็นขั้นตอน ช่วยให้ลูกได้จัดเรียงลำดับความสำคัญ หรือ ทำทีละขั้นตอนเพื่อให้ง่ายขึ้น

ให้ลูกดูตัวอย่างและทำตาม ควรนั่งประกบเวลาทำการบ้าน

ช่วยเหลือลูกด้านพฤติกรรม

  เด็กสมาธิสั้น มักมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น วอกแวกง่ายและอยู่ไม่นิ่ง มีพฤติกรรมท้าทาย ต่อต้าน ดังนั้นควรฝึกฝนการควบคุมตัวเองให้ลูกในพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่อไปนี้

" 6 Can Do "

พ่อแม่ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก

ตั้งกฎระเบียบที่ชัดเจนให้ลูกเข้าใจและปฏิบัติตาม มีการให้รางวัลเมื่อทำดี และ ลงโทษเมื่อทำผิด ทั้งนี้พ่อแม่ต้องตระหนักว่า การให้คำชมและรางวัลถือเป็นการให้กำลังใจที่ดีสำหรับเด็กๆ

การลงโทษลูก ให้ทำเมื่อลูกเริ่มสงบแล้ว จึงค่อยพูดถึงสิ่งที่ทำไม่ถูกต้อง รวมทั้งผลของมัน อาจลงโทษโดยงดทำบางอย่างที่ลูกชอบชั่วคราว

ตอบสนองต่อพฤติกรรมทันที เพื่อให้ลูกได้รับทราบผลที่เกิดขึ้น เมื่อแสดงพฤติกรรมต่างๆ ทั้งในส่วนที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์

ให้เวลาพัก เพื่อให้ลูกได้เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนอิริยาบท หากต้องทำการบ้านหรือกิจกรรมที่ต้องใช้เวลานานๆ

ในการสื่อสารให้เข้าใจ ใช้ท่าทางประกอบ หรือ การเคลื่อนไหว เพื่อช่วยให้ลูกรับรู้เข้าใจได้มากขึ้น

ช่วยเหลือลูกด้านสังคม

  เด็กสมาธิสั้น มักมีปัญหาเรื่องความเข้าใจสังคม เล่นแรง เล่นเสียงดัง พูดมาก แกล้งหรือแหย่เด็กคนอื่น ชวนเพื่อนคุย ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่ จึงต้องฝึกเรื่องการตอบสนองต่อสังคมที่ถูกต้อง ให้ลูก เพื่อให้ลูกสามารถอยู่ร่วมห้องเรียน และ อยู่ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันได้

" 3 Can Do "

ชวนลูกเล่นบทบาทสมมุติ หรือ จำลองสถานการณ์ที่เกี่ยวกับทักษะทางด้านสังคม ให้ลูกฝึกแก้ปัญหาต่างๆ

เปิดโอกาสให้ลูกมีโอกาสได้เข้าร่วมสังคมบ่อยๆ เช่น พาไปเจอญาติๆ วัยเดียวกัน หรือ เล่นกับเพื่อนบ้าน ชุมชน

พูดในทางที่ดี เกี่ยวกับตัวลูกให้เป็นที่รู้จักในสังคม

 
" 5 Tips การมองหาโรงเรียนให้ลูกสมาธิสั้น "

ควรเป็นโรงเรียนที่คุณครูมีความรู้ ความเข้าใจ ในโรคสมาธิสั้นดี ให้ความร่วมมือในแนวทางช่วยเหลือต่างๆอย่างเต็มที่ ไม่ปฏิเสธการดูแลรักษาในแนวทางที่ยอมรับในปัจจุบัน

ครูที่เข้าใจปัญหาเด็กสมาธิสั้น ย่อมมีส่วนในการสร้างเสริมพัฒนาการได้ดี

เด็กสามารถเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไปได้ ไม่จำเป็นต้องแยกไปเข้าโรงเรียนพิเศษ แต่อาจต้องให้ครูช่วยดูตำแหน่งที่ลูกนั่งเรียนในที่ๆ ควบคุมตนเองได้ เช่น นั่งเรียงแถวหน้าสุด อย่าให้นั่งริมหน้าต่างหรือริมประตู

สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องเรียน มีความสำคัญมากเช่นกัน ห้องเรียนที่มีเด็กมากเกินไป ก็จะมีสิ่งเร้า สิ่งกระตุ้นตัวเด็ก ให้วอกแวกง่ายขึ้น สมาธิจดจ่อกับการเรียนน้อยลง

โรงเรียนที่มีพื้นที่สนามเด็กเล่น หรือ สนามกีฬากว้างพอ จะช่วยให้เด็กมีโอกาสเล่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬาได้เต็มที่ เลือกทำกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น ลดการรบกวนเด็กคนอื่น หรือ ก่อความวุ่นวายได้

  "ปัญหาสมาธิสั้น" เป็นปัญหาด่วนที่ต้องรีบแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบระยาวกับลูกน้อยในอนาคต ทั้งในเรื่องการเรียน การเข้าสังคม หรือ หน้าที่การงานในอนาคต หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ดังนั้นเราจึงหวังว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ที่ทำให้ คุณพ่อ คุณแม่ สามารถนำไปช่วยเหลือลูกน้อยได้ครับ

====================================================


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
เว็บไซต์ motherandcare

สนับสนุนโดย
ศูนย์สมองดี Healthy Brain
อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง เสริมสร้างสมาธิ

 

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 หรือ Add Line : @healthybrain(Click)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 412,447