ลูกซน..? แต่ถ้าเป็นสมาธิสั้น - ส่งผลกระทบต่อการเรียนแน่ จะแก้อย่างไร??


สังเกตให้ดี...ลูกแค่ซน หรือสมาธิสั้นกันแน่...?
อุปนิสัยซุกซนของเด็กเล็ก.. ในสายตาคุณพ่อคุณแม่ อาจมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่รู้หรือไม่ว่า?  ภายใต้ความซุกซนลนลาน อยู่ไม่นิ่ง จนแทบเหมือนเป็นการต้อง "จับปูใส่กระด้ง"  จริงๆแล้ว... เด็กอาจกำลังเป็น "โรคสมาธิสั้น" ก็ได้นะ !!
 
ทำความรู้จักกับ...โรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า หรือ ที่เรียกย่อๆ ว่า โรค ADHD  มักเกิดในเด็กผู้ชายได้มากกว่าเด็กผู้หญิง เนื่องจากเป็นโรคทางสมอง จึงส่งผลให้เด็กซน ไม่มีระเบียบ วอกแวก หรือ ไม่อยู่นิ่ง สนใจต่อกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น และ เมื่อทำกิจกรรมใดก็มักยุติความสนใจ...แม้จะยังไม่เสร็จสิ้น !
 
อาการนี้ ที่ชี้ชัดว่า..ลูกเป็น โรคสมาธิสั้น
ซน และ ชอบเล่นรุนแรง
ทั้งที่ช่วงวัยนี้.. เด็กจะเริ่มมีเพื่อนเล่นเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น แต่คุณพ่อคุณแม่กลับพบว่า.. ไม่มีเด็กคนไหนอยากเล่นกับลูกเลย นั่นอาจเกิดจากสาเหตุของการชอบเล่นอะไรแรงๆ เสี่ยงๆ โดยที่ตัวเองไม่กลัวเจ็บ รวมไปถึงนิสัยไม่ชอบอยู่นิ่ง ต้องลุกเดินตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถจดจ่อกับการเรียนได้
 
> ชอบเหม่อลอย วอกแวก
คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งตำหนิลูกที่ไม่ยอมทำตามคำสั่ง เพราะนั่นอาจไม่ได้เกิดจาก... นิสัยดื้อดึง แต่เป็นเพราะเขาไม่สามารถจดจำ และ เข้าใจประโยคยาวๆ ได้ เพราะสมาธิไม่ได้อยู่กับคนพูด... และ ชอบเหม่อลอย  อาการเหล่านี้จะส่งผลให้เด็กทำงานผิดพลาดบ่อย  ทำการบ้านไม่ครบ  ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และ ยังมักทำของหายอยู่เสมอ
 
> ใจร้อน ไม่รู้จักการรอคอย
สำหรับเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น มักจะมีอารมณ์ของความเป็นคนใจร้อนร่วมด้วย ไม่ชอบการรอคอย... ไม่ว่าจะเป็นการพูดที่ต้องโต้ตอบทันทีกลางวงสนทนา หรือ  ไม่สามารถอดทนเข้าแถวรอคิวอะไรนานๆ ได้
 
สมาธิสั้น...กระทบต่อชีวิตวัยเรียน!!
ใช่แล้ว.. .โรคสมาธิสั้น ไม่เพียงแค่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำของเด็ก  แต่การ “ขาดสมาธิ” ยังทำให้ผลการเรียนของเด็กแย่ลง เพราะไม่สามารถจดจ่อกับเนื้อหาที่ คุณครูกำลังสอน  ในขณะเดียวกัน... ก็มีพฤติกรรมลุกเดินและอยากเล่นตลอดเวลา  ตลอดจนไม่สามารถทำงาน หรือ การบ้านให้เสร็จลุล่วงได้ ตามที่ได้รับมอบหมายอีกด้วย
 
อีกทั้งยังมีผลการวิจัยพบว่า  เด็กสมาธิสั้น จะไม่สามารถใช้ ความสามารถได้เท่าความสามารถที่แท้จริงของเด็ก  แม้ว่าเด็กจะมีสติปัญญาที่อยู่ในระดับปกติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะส่งผลให้เด็กโดนต่อว่าบ่อย จนกระทั้ง เด็กไม่อยากไปโรงเรียน และ เกิดความคิดแง่ลบหลายๆ อย่างตามมาในที่สุด
 
ลูกเป็นสมาธิสั้น...รักษายังไงได้บ้าง..?
 
♥ รักษาด้วยยา
วิธีนี้ค่อนข้างได้รับความนิยม เพราะเห็นผลรวดเร็ว โดยยาจะเข้าไปกระตุ้นเซลล์สมองให้หลั่งสารเคมีออกมาในระดับที่ปกติ ช่วยให้เด็กควบคุมตนเองได้ และ มีสมาธิมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้... ควรรักษาภายใต้คำแนะนำของแพทย์  เพราะการใช้ยามากเกินไป  อาจเสี่ยงต่อการ “เสพติด”
 
♥ รักษาด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ
นอกจากยาเคมีแล้ว ในสมัยนี้การรักษาด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ ยังเป็นอีกทางเลือกนึงที่ พ่อ-แม่ หลายท่านหันมาใช้  แม้ว่าจะเห็นผลช้ากว่าการใช้ยา แต่ไม่เกิดผลข้างเคียงในการใช้งาน เช่น ไทโรซีน , วิตามินบี 6 , น้ำมันปลา , แอลคาร์โนซีน , แร่ธาตุแมกนีเซียม .....เป็นต้น
 
♥ การปรับพฤติกรรม
การรักษาด้วยยา อาจเป็นเพียงแค่แนวทางหนึ่ง แต่หาก คุณพ่อ-คุณแม่ ยังไม่ปรับพฤติกรรมของลูก  ปัญหาอาการสมาธิสั้น..อาจรักษาไม่หายขาด!!  ควรให้ลูกรู้จักการสร้างวินัยในตนเอง รู้จักขอบเขตของการกิน นอน เล่น เพื่อให้เขาแยกแยะว่า อะไรควรไม่ควร...และ สามารถควบคุมตนเองได้
 
สุดท้ายนี้อยากฝากไว้ ปัญหาสมาธิสั้น นั้นเป็นปัญหาที่ พ่อ-แม่ ต้องเร่งแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบระยาวกับอนาคตของลูก ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดทีจะ่ช่วยลูกได้ คือ "ความรัก ความเข้าใจ และ กำลังใจจาก พ่อ-แม่"


 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
inter.phyathai (โรงพยาบาลพญาไท)
นายแพทย์มาโนช

 ==================================

♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
ให้ลูกน้อย ก่อนเปิดเทอม 
ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 408,163